เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงละครในมารีอูปอล

พิกัด: 47°05′46″N 37°32′56″E / 47.0960°N 37.5488°E / 47.0960; 37.5488
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงละคร
ในมารีอูปอล
เป็นส่วนหนึ่งของการล้อมมารีอูปอล
ความเสียหายที่เกิดกับโรงละครหลังจากถูกโจมตี
แผนที่
 โรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์
สถานที่โรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์
มารีอูปอล ยูเครน
พิกัด47°05′46″N 37°32′56″E / 47.0960°N 37.5488°E / 47.0960; 37.5488
วันที่16 มีนาคม พ.ศ. 2565
ประมาณ 10:30 น. (UTC+2)
เป้าหมายพลเรือนที่ใช้โรงละครเป็นที่หลบภัยทางอากาศ
ประเภทการโจมตีทางอากาศ
อาวุธอาจเป็นระเบิดทางอากาศฟับ-500[1]
ตายประเมินแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 12 คน[2] ไปจนถึงมากกว่า 600 คน[3]
ผู้ก่อเหตุกองทัพรัสเซีย

ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ระหว่างที่รัสเซียรุกรานยูเครน กองทัพรัสเซีย[2][4] ได้ทิ้งระเบิดใส่โรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์ (ยูเครน: Доне́цький академі́чний обласни́й драмати́чний теа́тр) ในเมืองมารีอูปอล ประเทศยูเครน โรงละครแห่งนี้ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศระหว่างที่เมืองมารีอูปอลถูกปิดล้อม โดยเป็นที่กำบังของพลเรือนจำนวนมาก มีการประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดไว้อย่างหลากหลายตั้งแต่อย่างน้อย 12 คน (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล)[2] ไปจนถึง 600 คน (เอพี)[3]

รัฐบาลยูเครนกล่าวหาว่ากองทัพรัสเซียจงใจทิ้งระเบิดใส่โรงละครในขณะที่มีพลเรือนหลบภัยอยู่ภายใน[5] รัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาและกล่าวหาว่ากรมอะซอฟเป็นผู้วางระเบิดโรงละครแทน[6] คำอ้างของรัสเซียถูกการสืบสวนอิสระต่าง ๆ หักล้าง

โรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกและแหล่งวัฒนธรรมของยูเครนที่ถูกทำลายระหว่างการรุกราน[7] องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดให้เหตุโจมตีครั้งนี้เป็นหนึ่งในอาชญากรรมสงครามระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[2][8]

ภูมิหลัง[แก้]

โรงละครในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 สิบเดือนก่อนถูกโจมตีทางอากาศ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กองทัพรัสเซียซึ่งร่วมมือกับกองกำลังอาสาสมัครที่ฝักใฝ่รัสเซียได้ปิดล้อมเมืองท่ามารีอูปอล นำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายอย่างหนัก เสบียงต่าง ๆ เช่น อาหาร แก๊ส ไฟฟ้า เป็นต้น ถูกตัดขาดระหว่างการปิดล้อม[9] เมื่อถึงวันที่ 17 มีนาคม แซร์ฮีย์ ออร์ลอว์ รองนายกเทศมนตรีนครมารีอูปอล ประเมินว่าร้อยละ 80–90 ของเมืองถูกทำลายจากการยิงถล่ม[10]

เจ้าหน้าที่สภานครมารีอูปอลระบุว่าโรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์เป็นที่หลบภัยทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในเมือง โดยเป็นที่กำบังของพลเรือนจำนวน 500[4] ถึง 1,200 คน[5] และในขณะถูกโจมตี ผู้หญิงและเด็กจำนวนมากหลบอยู่ในนั้น[11]

ภาพถ่ายดาวเทียมของโรงละครซึ่งถ่ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม แสดงให้เห็นว่าบริเวณลานด้านหน้าและด้านหลังโรงละครมีตัวอักษรสีขาวขนาดใหญ่เขียนว่า дети ซึ่งเป็นคำที่แปลว่า "เด็ก" ในภาษารัสเซีย ข้อความดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะสื่อให้กองกำลังของผู้โจมตีรู้ว่าโรงละครแห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีเด็กหลบภัยอยู่ข้างในและไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร[12]

การโจมตี[แก้]

โรงละครซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก (มองจากถนน)[13]

ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ยูเครนกล่าวหากองกำลังรัสเซียว่ายิงถล่มพื้นที่พลเรือนในเมืองมารีอูปอล กระสุนปืนใหญ่พุ่งโจมตีสถานที่หลายแห่งรวมถึงอาคารสระว่ายน้ำและขบวนรถพลเรือน[14] จากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 10:00 น.[2] โรงมหรสพวิชาการละครแห่งแคว้นดอแนตสก์ก็ถูกทิ้งระเบิดใส่ ทำให้ตัวอาคารเหลือเพียงซากปรักหักพัง[15]

ที่หลบภัยในชั้นใต้ดินของโรงละครรอดพ้นจากการถูกระเบิด แต่ผู้คนจำนวนมากยังคงติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังที่ลุกไหม้อยู่ด้านบน[16] ดมือตรอ กูริน สมาชิกรัฐสภายูเครนจากเมืองมารีอูปอล กล่าวว่าการช่วยเหลือกู้ภัยเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากกองกำลังรัสเซียยังคงโจมตีพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง[17]

ในวันที่ 25 มีนาคม วิดีโอที่อ้างว่าแสดงเหตุการณ์หลังการโจมตีปรากฏขึ้นในสื่อสังคม วิดีโอแรกแสดงให้เห็นผู้คนกำลังลงมาจากชั้นบนของอาคารที่ถูกทำลายบางส่วน เนื้อตัวและเสื้อผ้าถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่น ส่วนวิดีโอที่สองแสดงพื้นที่โรงละครที่ถูกทิ้งระเบิด[18]

ผู้ประสบภัย[แก้]

ในวันที่ 17 มีนาคม จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุโจมตีไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด บางคนหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย[19]

เมื่อถึงวันที่ 18 มีนาคม ผู้รอดชีวิตประมาณ 130 คนได้รับการช่วยเหลือ[20][21] สภานครมารีอูปอลระบุว่าตามข้อมูลเบื้องต้นไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้บาดเจ็บสาหัส 1 คน[22]

ในวันที่ 25 มีนาคม สภานครมารีอูปอลประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คนจากการโจมตีทางอากาศ[23][24] ส่วน เดอะวอชิงตันโพสต์ เผยแพร่การสอบสวนโดยอ้างพยานที่กล่าวว่าทุกครอบครัวที่หลบภัยอยู่ในชั้นใต้ดินของโรงละครหนีออกมาได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ และการอพยพออกมาได้เริ่มขึ้นก่อนการทิ้งระเบิด[25]

ในวันที่ 4 พฤษภาคม เอพีได้เผยแพร่ผลการสืบสวนพร้อมหลักฐานที่ชี้ว่ามีผู้เสียชีวิต 600 คนจากการโจมตีทางอากาศ ผู้รอดชีวิตหลายคนประเมินว่ามีผู้คนราว 200 คน (รวมถึงเจ้าหน้าที่กู้ภัย) หนีออกมาโดยใช้ทางออกหลักหรือทางเข้าด้านหนึ่ง ส่วนทางเข้าอีกด้านและทางเข้าด้านหลังถูกทำลาย[3]

ในวันที่ 7 มิถุนายน ฮิวแมนไรตส์วอตช์และกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนคาร์กิวประกาศแยกกันว่าผู้ลี้ภัยชาวยูเครนรวมทั้งพลเรือนยูเครนที่ถูกบังคับให้เดินทางไปรัสเซียกำลังถูกกดดันและข่มขู่ให้พาดพิงบุคลากรทางทหารของยูเครนว่ามีส่วนร่วมในอาชญากรรมสงคราม นี่หมายรวมถึงกรณีที่ผู้ลี้ภัยถูกกดดันให้พาดพิงว่ากรมอะซอฟเป็นผู้ทิ้งระเบิดใส่โรงละครด้วย[26]

ปฏิกิริยา[แก้]

วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประธานาธิบดียูเครน กล่าวหารัสเซียว่าได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น[12]

สื่อรัสเซียรายงานอย่างกว้างขวางว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียปฏิเสธความรับผิดชอบในการทิ้งระเบิดและกล่าวหากรมอะซอฟว่าเป็นผู้วางแผนและก่อเหตุวางระเบิดโรงละครแทน พวกเขาอ้างว่ารัสเซียไม่ได้ส่งกองกำลังใด ๆ ไปก่อเหตุโจมตีทางอากาศภายในเมืองและกล่าวโทษกรมอะซอฟว่า "จับพลเรือนไว้เป็นตัวประกัน" และวางระเบิดที่ชั้นบนของโรงละคร[27]

ดารีโอ ฟรันเชสกีนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอิตาลี ได้ยื่นข้อเสนอในการสร้างโรงละครขึ้นใหม่ต่อรัฐบาลยูเครน[28]

รายงานของโอเอสซีอี[แก้]

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) เผยแพร่รายงานซึ่งครอบคลุมการโจมตีทางอากาศใส่โรงละครในมารีอูปอล

รัสเซียไม่ได้อ้างว่าโรงละครเป็นเป้าหมายการโจมตีที่มีความชอบธรรม แต่อ้างว่าโรงละครถูกกองพันอะซอฟของยูเครนโจมตี คณะทำงาน [ของโอเอสซีอี] ไม่พบข้อบ่งชี้ใด ๆ ว่าคำอ้างดังกล่าวจะเป็นความจริง ... มีความเป็นไปได้อย่างมากที่เหตุการณ์นี้จะเข้าข่ายการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และผู้สั่งการหรือดำเนินการได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น[8]: 48 

การสืบสวนของเอพี[แก้]

ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เอพีเผยแพร่การสอบสวนเหตุโจมตีทางอากาศ เพิ่มตัวเลขผู้เสียชีวิตที่รัฐบาลยูเครนคาดการณ์ไว้จาก 300 คนเป็น 600 คน นอกจากนี้เอพียังหักล้างคำกล่าวอ้างของรัสเซียที่ว่าโรงละครถูกทำลายโดยกองกำลังยูเครนหรือถูกใช้เป็นฐานทัพของยูเครน

ไม่มีพยานคนใดเห็นทหารยูเครนปฏิบัติการอยู่ภายในอาคาร และไม่มีแม้แต่คนเดียวที่ไม่แน่ใจว่าโรงละครแห่งนี้ถูกทำลายจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซียซึ่งพุ่งเป้าไปที่เป้าหมายพลเรือนที่ทุกคนต่างรู้ว่าเป็นสถานที่หลบภัยที่ใหญ่ที่สุดของเมือง โดยมีเด็ก ๆ อยู่ในนั้นด้วย[3]

รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล[แก้]

ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สรุปว่าผู้ก่อเหตุโจมตีทางอากาศครั้งนี้คือกองกำลังรัสเซียซึ่งใช้ระเบิดน้ำหนัก 500 กิโลกรัม (1,100 ปอนด์) จำนวน 2 ลูก และสรุปว่าเหตุการณ์นี้เป็นอาชญากรรมสงคราม

หลายคนบาดเจ็บและเสียชีวิตในการโจมตีอย่างโหดเหี้ยมครั้งนี้ การเสียชีวิตของพวกเขาน่าจะเกิดจากการที่กองกำลังรัสเซียจงใจกำหนดเป้าหมายไปที่พลเรือนยูเครน ศาลอาญาระหว่างประเทศและศาลอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีอำนาจตัดสินคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นระหว่างความขัดแย้งนี้ จะต้องสอบสวนการโจมตีครั้งนี้ในฐานะอาชญากรรมสงคราม และจะต้องนำตัวทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง [กับการก่อเหตุ] มารับผิดชอบต่อการก่อให้เกิดความตายและการทำลายล้างดังกล่าว[2]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 12 คนจากเหตุโจมตีและน่าจะมากกว่านั้น และเชื่อว่ามีผู้บาดเจ็บสาหัสอีกหลายคน การประมาณการนี้ต่ำกว่าการประมาณการของหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้คนจำนวนมากได้ออกมาจากโรงละครในช่วงสองวันก่อนการโจมตี และผู้ที่ยังอยู่ในโรงละครส่วนใหญ่หลบในชั้นใต้ดินและพื้นที่อื่น ๆ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดอย่างเต็มที่[2]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 สื่อยูเครนรายงานว่าฝ่ายรัสเซียได้เก็บกวาดซากปรักหักพังของโรงละครและเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่ โดยไม่ทราบว่านำไปไว้ที่ใด[29][30][31]

มีการนำฉากภาพสวยงามขนาดใหญ่มาตั้งล้อมรอบซากปรักหักพังของโรงละคร[32]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มาเรีย โปโนมาเรนโค นักข่าวชาวรัสเซีย ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 ปีภายใต้กฎหมายเซ็นเซอร์สงครามของรัสเซีย หลังจากที่เธอเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีทางอากาศใส่โรงละคร[33]

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 อินฟอร์มเนปาล์มเผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งซึ่งกล่าวหาว่าพันเอก เซียร์เกย์ อะตรอชเชนโค แห่งกรมบินจู่โจมที่ 960 ของกองทัพอากาศรัสเซียเป็นผู้นำการโจมตีโรงละครโดยออกจากลานบินแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองปรีมอร์สโค-อัคตาสค์ในดินแดนครัสโนดาร์[34]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "«Багато людей живцем поховані під завалами Драмтеатру у Маріуполі» – командир полку «Азов»" (ภาษายูเครน). Букви. 2022-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Ukraine: Deadly Mariupol Theatre Strike 'A Clear War Crime' By Russian Forces". Amnesty International. 30 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Hinnant, Lori; Chernov, Mstyslav; Stepanenko, Vasilisa (4 พฤษภาคม 2022). "AP evidence points to 600 dead in Mariupol theater airstrike". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2022.
  4. 4.0 4.1 "Ukraine: Mariupol Theater Hit by Russian Attack Sheltered Hundreds". Human Rights Watch. 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
  5. 5.0 5.1 Bachega, Hugo (16 March 2022). "Ukraine war: Russia attacks theatre sheltering civilians, Mariupol says". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
  6. "Russia accuses Ukraine of trying to frame it over Mariupol theatre attack". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 17 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  7. Cascone, Sarah (23 March 2022). "A Mariupol Museum Dedicated to One of Ukraine's Most Important Realist Painters Has Reportedly Been Destroyed by Russian Airstrikes". Artnet News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2022. สืบค้นเมื่อ 5 May 2022.
  8. 8.0 8.1 Benedek, Wolfgang; Bílková, Veronika; Sassòli, Marco (13 April 2022). "Report on Violations of international Humanitarian and Human Rights Law, War Crimes and Crimes against Humanity Committed in Ukraine since 24 February 2022" (PDF). OSCE. Warsaw. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2022. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
  9. "Historic Theater Sheltering Mariupol Civilians Hit By Air Strike, Number Of Casualties Unknown". Radio Free Europe/Radio Liberty (ภาษาอังกฤษ). AP, AFP, dpa, and BBC. 16 มีนาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2022. Up to 1,200 people may have been inside the theater, the city's deputy mayor Serhiy Orlov said.
  10. Tondo, Lorenzo (17 March 2022). "Survivors leaving basement of Mariupol theatre after airstrike, say officials". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  11. Lister, Tim (16 March 2022). "Russia bombs theater where hundreds sought shelter and 'children' was written on grounds". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
  12. 12.0 12.1 Hayes, Andy (16 March 2022). "Ukraine war: People buried under rubble after Mariupol theatre sheltering hundreds is hit by Russian bomb, officials say". Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
  13. Росіяни завдали авіаудару по Драмтеатру і басейну "Нептун" у Маріуполі, а також з Градів обстріляли авто колону, що йшла на Запоріжжя [The Russians launched an air strike on the Drama Theatre and the Neptune swimming pool in Mariupol, as well as fired on a convoy going to Zaporizhia from Grady]. Донецька обласна державна адміністрація [Donetsk Regional State Administration] (Press Release). 2022-03-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-15. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  14. "Войска РФ нанесли удар по бассейну "Нептун" в Мариуполе, где прятались беременные (видео)" [Russian troops attacked the Neptune pool in Mariupol, where pregnant women were hiding (video)]. ФОКУС (ภาษารัสเซีย). 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  15. "Mariupol: Russia accused of bombing theatre and swimming pool sheltering civilians". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  16. Mayer, Chloe (17 March 2022). "'It's a miracle': Mariupol theater victims survive Russian bombing". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  17. "Mariupol theatre: 'We knew something terrible would happen'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  18. @K_Loukerenko (March 25, 2022). "First known to me footage of the Mariupol Drama theatre soon..." (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  19. Butenko, Victoria (17 March 2022). "People are emerging from the bombed Mariupol theater building, Ukrainian official says". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  20. Sabin, Lamiat (18 March 2022). "Ukraine says 130 people rescued so far from bombed Mariupol theatre". The Independent (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
  21. "Zelenskyy: 130 rescued, 'hundreds' under Mariupol theatre rubble". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 22 March 2022.
  22. "130 Rescued in Ukrainian Theater Bombing, Search for Missing Continues". Voice of America. 18 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
  23. "Ukraine fears 300 people were killed in Mariupol theatre bombed by Russia as families sheltered". www.independent.co.uk (ภาษาอังกฤษ). 25 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
  24. "Satellite images show apparent devastation, hunger in Mariupol". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 30 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2022.
  25. "Inside the Mariupol theater attack: 'I heard screams constantly' - the Washington Post". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 January 2023.
  26. Lanting, Bert (2022-06-07). "HRW: Oekraïense vluchtelingen in Rusland worden onder druk ondervraagd" [HRW: Ukrainian refugees in Russia are interrogated under pressure]. de Volkskrant (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  27. "Azov battalion militants blow up Mariupol theater building — Defense Ministry". TASS. 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
  28. "Ukraine: Italy ready to rebuild Mariupol theatre says min". ANSA. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  29. "Россияне разобрали завалы и вывезли тела из Драмтеатра Мариуполя – установить количество жертв невозможно" [Russians have dismantled rubble and have moved bodies elsewhere from Mariupol Drama Theatre – It's impossible to identify exact amount of victims]. www.ukrinform.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
  30. "Оккупанты разобрали завалы и вывезли тела из драмтеатра Мариуполя – советник мэра" [Occupants have dismantled rubble and took bodies from Mariupol Theatre away – Mayor adviser]. ТСН.ua (ภาษารัสเซีย). 2022-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
  31. Лукащукова, Елизавета (2022-05-03). "Тяжелую технику привлекли к разбору завалов драмтеатра в Мариуполе" [Heavy equipment was involved in the analysis of the rubble of the drama theater in Mariupol]. Ямал-Медиа. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.[ลิงก์เสีย]
  32. The Russian coverup of the destroyed Mariupol Drama Theater observed on November 30. - Satellite image ©2022 Maxar Technologies. เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.understandingwar.org
  33. "Russia Jails Anti-War Journalist 6 Years for 'Fake News'". The Moscow Times. 15 February 2023.
  34. "Hacking a Russian war criminal, commander of 960th Assault Aviation Regiment". 29 March 2023.