การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
ภาพชานชาลาของสถานีโคกูเรียว (ถ่ายเมื่อปี 2012)
สถานที่ญี่ปุ่น เมืองโชฟุ, โตเกียวตะวันตก, ประเทศญี่ปุ่น
วันที่31 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-31)
ประมาณ 20:00 น. (JST)
เป้าหมายผู้โดยสารรถไฟฟ้า
ประเภท
อาวุธ
เจ็บ18 ราย (สาหัส 1 ราย, บาดเจ็บ 17 ราย)
ผู้ก่อเหตุเคียวตะ ฮัตโตริ
เหตุจูงใจ
รถไฟฟ้าใต้ดินสายเคโอ

การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 บนรถไฟฟ้าที่กำลังวิ่งอยู่บนสายเคโอ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย และบาดเจ็บอีก 17 คน[1]

เหตุการณ์[แก้]

เวลาประมาณ 20:00 น. ของคืนวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งตรงกับวันฮาโลวีนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีชายคนหนึ่งได้แทงผู้โดยสารวัย 72 ปีด้วยมีดที่เขาพกมาในรถไฟฟ้าสายเคโอที่กำลังมุ่งหน้าสู่สถานีชินจูกุในเมืองโชฟุ โตเกียวตะวันตก นอกจากนี้ยังได้เทน้ำมันที่บรรจุอยู่ในขวดน้ำพลาสติก[2] และจุดไฟเผาในตู้รถไฟฟ้าที่ 5 และบนเก้าอี้นั่งโดยสาร[3] ทำให้มีผู้บาดเจ็บจากควันไฟรวมเด็กชั้นประถมศึกษา[4] ทำให้ผู้โดยสารกด "ปุ่มแจ้งเตือนฉุกเฉิน" ที่ติดตั้งอยู่บนตู้รถไฟฟ้าที่ 4 และ 3 ตามลำดับ จนในที่สุดรถไฟฟ้าก็หยุดอยู่กับที่ใกล้กับสถานีโคกูเรียว โดยเว้นระยะห่างจากจุดที่ควรจะหยุด 2 เมตร[5] หนึ่งในผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟฟ้าขบวนเดียวกันกับที่ชายผู้ก่อการอยู่ได้กล่าวกับ เอ็นเอชเค ว่าไม่สามารถเปิดประตูได้ และผู้โดยสารทุกคนกำลังตื่นตระหนก เลยเปิดหน้าต่างเพื่อหนีออกมาจากบนรถไฟฟ้าให้ได้เร็วที่สุด[6] โดยหลังจากการกดปุ่มแจ้งเตือนฉุกเฉินจนถึงเวลาที่ผู้ก่อการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้เวลาทั้งสิ้น 13 นาที[5] และรถดับเพลิงจากกรมดับเพลิงอีก 45 คันมายังที่เกิดเหตุ[1]

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีการหยุดการให้บริการรถไฟฟ้าชั่วคราวของสายเคโอในช่วงสถานีสึสึจิกาโอกะและสถานีโตบิตะกิว และสายเคโอ ซางามิฮาระในช่วงสถานีโชฟุและสถานีวากาบาได แต่ก็ได้มีการเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ในเวลา 1:18 น.[7]

ผู้ก่อการ[แก้]

จากการสอบสวนของกรมตำรวจนครบาลโตเกียว ผู้ต้องสงสัย เคียวตะ ฮัตโตริ ได้รับสารภาพว่าเขาต้องการที่จะฆ่าคนเพื่อที่จะได้รับโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่าถ้าตนได้ฆ่าสองคน นั่นอาจทำให้เขาต้องโทษประหารชีวิต ผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าคันดังกล่าวที่ได้ถ่ายคลิปวิดีโอได้กล่าวว่า ผู้ก่อการที่แต่งตัวเป็นโจ๊กเกอร์ได้นั่งลงบนเก้าอี้นั่งโดยสารโดยมือข้างซ้ายถือบุหรี่และมือข้างขวาถือมีด[8] เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม ผู้ก่อการไม่ได้มีท่าที่ขัดขืนและกล่าวว่าเขาต้องการที่จะตายเพราะอาชีพการงานและความรักของเขา[2]

การตอบสนองและมาตรการป้องกัน[แก้]

ประตูรถไฟฟ้าเปิดไม่ได้[แก้]

ตามคำแถลงของบริษัทเคโอ ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเคโอ[9] ได้เปิดเผยว่ามีผู้โดยสารได้กดปุ่มเปิดประตูฉุกเฉิน ซึ่งทำให้ความเร็วของรถไฟฟ้าค่อย ๆ ชลอลงโดยอัตโนมัติจนหยุดนิ่งอยู่กับที่ ด้วยเหตุนี้ จุดที่รถไฟฟ้าควรจะหยุดและชานชาลาจึงไม่ขนานกัน ทำให้พนักงานขับรถไฟฟ้าตัดสินใจเลือกที่จะไม่เปิดประตูเนื่องจากจะทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถลงจากรถไฟฟ้าอย่างปลอดภัยได้ นอกจากนี้ยังไม่มีกล้องวงจรปิดบนรถไฟฟ้า ทำให้พนักงานขับรถไฟฟ้าไม่เห็นถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นบนตู้รถไฟฟ้า[10][11]

การซักซ้อมเผชิญเหตุ[แก้]

ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลชินจูกุได้จัดการฝึกทบทวนยุทธวิธีในการเข้าควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นที่สถานีรถไฟชินจูกุ[12] ถัดมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน ได้มีการซ้อมเผชิญเหตุในลักษณะเดียวกันโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอิมาริ สำหรับงานเทศกาลเซรามิกฤดูใบไม้ผลิในเมืองอาริตะ และบนชานชาลาของสถานีโทบาตะ ในเขตโทบาตะของเมืองคิตะกีวชู จังหวัดฟูกูโอกะ[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 東京都調布市において発生した京王線の車両火災による 被害及び消防機関等の対応状況(第2報) fdma.go.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  2. 2.0 2.1 "《京王線刺傷》"ジョーカースーツ"服部恭太容疑者の"シャワー室盗撮事件"は2度あった!「母親が付き添って警察へ…」(文春オンライン)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-21. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  3. "หนุ่มญี่ปุ่นคลั่ง ไล่แทง-เผารถไฟ เผยอยากโดนประหาร เหตุล้มเหลวในชีวิต". pptvhd36.com. 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 日本放送協会 (2021-11-01). "京王線 逮捕された24歳容疑者「人を殺し死刑になりたかった」". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 นากามูระ, โคจิ (2021-11-15). "「相次ぐ電車内切りつけ・放火 どう再発を防ぐか」(時論公論)". 解説委員室ブログ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 日本放送協会. "京王線切りつけ 小田急に続く無差別事件「電車怖い」安全対策は | NHK". NHK首都圏ナビ (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  7. "京王線と京王相模原線 すべて運転再開". NHKニュース. 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "「お母さんに『死ぬかもしれないけれどありがとう』って…」乗客も死を覚悟 京王線刺傷事件 緊迫の車内(ABEMA TIMES)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-21. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  9. "Company Profile - Keio Corporation". www.keio.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "京王線切りつけ 小田急に続く無差別事件「電車怖い」安全対策は | NHK". NHK首都圏ナビ (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  11. "JR西日本 在来線車内での防犯カメラ設置進める|NHK 奈良県のニュース". NHK NEWS WEB. 2021-11-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "切りつけなど事件相次ぎ 警察が刃物男想定の訓練 東京 新宿駅". NHKニュース. 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "JR戸畑駅ホームで「刃物男」想定して訓練|NHK 北九州のニュース". NHK NEWS WEB. 2021-11-16. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)