เหตุเพลิงไหม้หอสมุดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2531

พิกัด: 59°56′38″N 30°17′49″E / 59.944°N 30.297°E / 59.944; 30.297
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุเพลิงไหม้หอสมุดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2531
หอสมุดใน ค.ศ. 2015
วันที่14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (1988-02-14)
ที่ตั้งเลนินกราด (ปัจจุบันคือเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก)
พิกัด59°56′38″N 30°17′49″E / 59.944°N 30.297°E / 59.944; 30.297
เสียชีวิตไม่มี

เหตุเพลิงไหม้หอสมุดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1988 (ปัจจุบันคือหอสมุดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศรัสเซีย) ได้ปะทุขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 ในส่วนหนังสือพิมพ์บนชั้นสามของหอสมุด ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ โดยวาเลรี ลีโอนอฟ ที่รักษาการผู้อำนวยการห้องสมุด ได้กล่าวว่าสัญญาณเตือนไฟไหม้ดังขึ้นเมื่อเวลา 20:13 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ห้องสมุดปิดให้บริการสำหรับผู้มาเยี่ยมเยียน เมื่อไฟดับในบ่ายวันรุ่งขึ้น พบว่าหนังสือได้ถูกทำลายจำนวน 298,000 เล่ม[1] จากทั้งหมด 12 ล้านเล่มในตัวอาคาร รวมถึงอีกสองถึงสามล้านเล่มได้รับความเสียหายจากความร้อนและควัน ส่วนปริมาณสำเนาประมาณ 734,465 เล่มแรกเริ่มเดิมทีเริ่มชื้นเนื่องจากโฟมดับเพลิง[2] ปริมาณที่เสียไปจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนวิทยาศาสตร์ต่างประเทศของแบร์คอลเลกชัน โดยเสียไป 152,000 เล่ม ส่วนที่เหลือ 146,000 เล่มเป็นหนังสือของรัสเซีย[1]

หนังสือที่เสียไปได้รับการบูรณะบางส่วน โดยมีหนังสือจำนวนมากและฉบับหายากแต่ละฉบับมาจากห้องสมุดในประเทศมากกว่า 700 แห่งเพื่อเติมเต็มหนังสือที่สูญเสียไป[1]

ทั้งนี้ หนังสือที่เสียไปหลายเล่มเป็นงานเขียนวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ[3]

การดับเพลิง[แก้]

รถดับเพลิงคันแรกมาถึงแปดนาทีหลังจากสัญญาณเตือนไฟไหม้หยุดลง อย่างไรก็ตาม นักผจญเพลิงใช้เวลาเกือบสองชั่วโมงกว่าจะไปถึงกองไฟ[4] เบื้องต้น เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวได้รับการจัดการโดยไนธ์ไฟร์คัมปานีซึ่งได้ร่วมกับทีมงานของรถดับเพลิงอีกเจ็ดคัน[3]

การกอบกู้หนังสือ[แก้]

หนังสือชื้นที่ได้รับความเสียหายจากการดับเพลิงได้รับการแช่แข็งในขั้นต้น จากนั้นจึงได้ออกอากาศเรียกร้องทางวิทยุเพื่อให้ประชาชนได้ตากหนังสือที่เปียกชื้นในบ้านของตน ซึ่งปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1988 หนังสือชื้น 93 เปอร์เซ็นต์ได้รับการทำให้แห้งในลักษณะนั้นและพวนคืนไปที่ห้องสมุด[3] อย่างไรก็ตาม หนังสือประมาณ 10,000 เล่มเริ่มขึ้นรา[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Siberian Science News". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-03.
  2. "Stimul Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Leningrad Library Fire". Abbey Newsletter. Jun 1988. สืบค้นเมื่อ 23 May 2014.
  4. Leonov, Valerii (1999). The Library Syndrome. Walter de Gruyter. p. 41. ISBN 3110962438.