เหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามในโซมาเลีย (พ.ศ. 2552–ปัจจุบัน) | |
สภาพความเสียหายหลังเกิดเหตุระเบิด | |
สถานที่ | โมกาดิชู, โซมาเลีย |
พิกัด | 2°01′57″N 45°18′16″E / 2.0325338°N 45.3045756°E |
วันที่ | 14 ตุลาคม 2560 (UTC+03:00) |
ประเภท | ระเบิดติดรถบรรทุก |
ตาย | 587 คน[1] |
เจ็บ | ประมาณ 316 คน[2] |
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แรงระเบิดครั้งใหญ่จากระเบิดติดรถบรรทุกในกรุงโมกาดิชู เมืองหลวงของประเทศโซมาเลีย ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 587 คน[1] และบาดเจ็บประมาณ 316 คน[3][4][5]
แม้ว่ายังไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบ[6][7][8][9] แต่เจ้าหน้าที่ของโซมาเลียก็เชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เป็นฝีมือของกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของกลุ่มติดอาวุธอัชชะบาบ จากคำให้การอย่างภาคภูมิใจของสมาชิกสำคัญคนหนึ่งซึ่งถูกจับกุมในขณะขับพาหนะอีกคันที่ซุกซ่อนระเบิดเข้าไปในกรุงโมกาดิชูในวันเกิดเหตุ[10]
เพื่อเป็นการไว้อาลัยเหตุระเบิด โมฮัมเหม็ด อับดุลลาฮี โมฮัมเหม็ด ประธานาธิบดีโซมาเลีย ประกาศไว้ทุกข์ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน[3]
ภูมิหลัง
[แก้]ในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2554 ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกเผชิญกับภัยแล้งและการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซมาเลียตอนใต้ ทำให้ผู้คนนับหมื่นคนข้ามพรมแดนไปยังเอธิโอเปียและเคนยาเพื่อหลบภัย[11] กลุ่มอัชชะบาบขู่ว่าจะขับไล่กลุ่มช่วยเหลือที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ก่อนที่กองกำลังภารกิจสหภาพแอฟริกาในโซมาเลีย (African Union Mission in Somalia) จะดำเนินการผลักดันให้นักรบกลุ่มดังกล่าวออกไปจากพื้นที่[12][13]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 อัชชะบาบอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดครั้งหนึ่งในกรุงกัมปาลาของยูกันดา เพื่อตอบโต้การสนับสนุนและการปรากฏของยูกันดาในภารกิจสหภาพแอฟริกาในโซมาเลีย[14]
ในปี พ.ศ. 2560 โซมาเลียยังคงประสบภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี ด้วยมหันตภัยจากสภาพอากาศประกอบกับสงครามและการปกครองที่ไม่ดี อัชชะบาบสั่งห้ามความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ที่กลุ่มควบคุมอยู่ โดยบังคับให้ผู้คนหลายแสนคนเลือกระหว่างความอดอยากกับการลงโทษอย่างรุนแรง[15]
สหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องทางการทหารในโซมาเลียจนถึงปี พ.ศ. 2537 และได้ถอนตัวออกไปหลังจากนั้น ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2560 สหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้โซมาเลียเป็น "พื้นที่ที่มีความเป็นศัตรูกันอย่างต่อเนื่อง" และอนุมัติให้ส่งทหารของตนไปปฏิบัติการในโซมาเลียอีกครั้ง
การโจมตี
[แก้]ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 รถบรรทุกคันหนึ่งซึ่งมีวัตถุระเบิดซุกซ่อนอยู่ถูกจุดชนวนระเบิดใกล้โรงแรมซาฟารีในเขตฮูดาน[16] แหล่งข่าวใกล้ชิดกับรัฐบาลระบุว่า รถบรรทุกคันดังกล่าวได้บรรทุกวัตถุระเบิดทั้งที่ประกอบขึ้นเองและในระดับที่ใช้ในการทหาร รถบรรทุกถูกกักไว้ที่ด่านแห่งหนึ่งในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วได้รับอนุญาตให้ไปต่อหลังจากที่หน่วยงานในท้องถิ่นได้รับรองให้ จากนั้นได้ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสั่งให้หยุดระหว่างการจราจรติดขัด เมื่อเจ้าหน้าที่จะเริ่มตรวจค้น คนขับรถได้เร่งเครื่องและชนแผงกั้นจราจรทำให้รถบรรทุกระเบิด คาดว่าเป้าหมายที่แท้จริงน่าจะเป็นที่ทำการกระทรวงแห่งหนึ่ง แรงระเบิดทำให้โรงแรมซาฟารีและอาคารข้างเคียงพังถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหลายคน สถานเอกอัครราชทูตกาตาร์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง[16]
ระเบิดครั้งที่สองตามมาในวันเดียวกัน โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนในเขตวาดาญีร[6] ระเบิดติดพาหนะอีกคันหนึ่งถูกสกัดกั้นและหยุดลงได้[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Death toll in Somalia terror attack rises to 358". Irish Independent.
- ↑ Abdi Guled (October 16, 2017). "Somalia truck bombing toll over 300, scores remain missing". Associated Press.
- ↑ 3.0 3.1 "Somalia Declares Three Days of Mourning for Mogadishu Attack". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
- ↑ "Hundreds dead in Mogadishu blast". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
- ↑ [1]
- ↑ 6.0 6.1 "Somalia: At least 30 dead in Mogadishu blasts". BBC News. 14 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
- ↑ Gayle, Damien (14 October 2017). "Somalia: deadly truck bombing in Mogadishu". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
- ↑ Guled, Abdi (14 October 2017). "Blast rocks Somalia's capital; police say 20 dead". CTVNews (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
- ↑ "Somalia bomb attacks: Death toll rises to 85 in twin blasts in Mogadishu". The Independent. 15 October 2017.
- ↑ Jason Burke (16 October 2017). "Mogadishu bombing: parents' grief for medical student killed in blast". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
- ↑ "Somalia fleeing to Kenya in large numbers". BBC News. 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
- ↑ Associated Press (29 April 2013). "Famine Toll in 2011 Was Larger Than Previously Reported". New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.
- ↑ Meleagrou-Hitchens, Alexander (26 September 2012). "Factors Responsible for Al-Shabab's Losses in Somalia". ctc.usma.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
- ↑ Bariyo, Nicholas (12 July 2010). "Deadly Blasts Rock Uganda's Capital". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
- ↑ Burke, Jason. "Mogadishu atrocity may provoke deeper US involvement in Somalia". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
- ↑ 16.0 16.1 [2]
- ↑ Jason Burke (16 October 2017). "Mogadishu bombing: al-Shabaab behind deadly blast, officials say". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เหตุระเบิดในโมกาดิชู ตุลาคม พ.ศ. 2560