ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554
![]() การคาดคะเนระดับความรุนแรงของวิกฤตของเครือข่ายระบบเตือนทุพภิกขภัยล่วงหน้าในแอฟริกาตะวันออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน จากระดับการตอบสนองปัจจุบัน | |
วันที่ | กรกฎาคม 2554 – สิงหาคม 2555 |
---|---|
ที่ตั้ง | ความรุนแรงระดับมหันตภัยในโซมาเลียใต้, ความรุนแรงระดับฉุกเฉินตลอดจะงอยแอฟริกา[1] |
เสียชีวิต | มากกว่า 10,000 คน[2] ประเมินมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตในโซมาเลียมากกว่า 29,000 คน[3] |
ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 เป็นทุพภิกขภัย (famine)[2] อันเกิดขึ้นในหลายท้องที่ของจะงอยแอฟริกา เนื่องจากภัยแล้งสาหัสที่เกิดขึ้นตลอดแอฟริกาตะวันออก[4] ภัยแล้งนี้ ว่ากันว่า "รุนแรงที่สุดในรอบหกสิบปี"[5] เกิดจากวิกฤติอาหารซึ่งอุบัติขึ้นทั่วโซมาเลีย, เอธิโอเปีย และเคนยา และยังให้ผู้คนมากกว่า 13.3 ล้านคนผจญทุกขเวทนาในการเลี้ยงชีพ[6] ผู้ที่อาศัยอยู่ทางโซมาเลียตอนใต้จำนวนมากได้อพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เคนยาและเอธิโอเปีย ซึ่งทำให้ทั้งสองแห่งนั้นเกิดแออัด สภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะประกอบกับทุพโภชนาการอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก[7] บรรดาประเทศในและรายรอบจะงอยแอฟริกา เป็นต้นว่า จิบูตี, ซูดาน, เซาท์ซูดาน และยูกันดาบางส่วน ก็เผชิญวิกฤติอาหารนี้เช่นกัน[8] [6] [9] [10]
ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 เครือข่ายระบบเตือนทุพภิกขภัยล่วงหน้า (Famine Early Warning Systems Network หรือเรียกโดยย่อว่า FEWS-Net) ประกาศภาวะฉุกเฉินในหลาย ๆ พื้นที่อันไพศาลของโซมาเลียใต้, เอธิโอเปียตะวันออกเฉียงใต้ และเคนยาตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถ้าปราศจากการประกาศดังกล่าว ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าทุพภิกขภัยจะกินวงกว้างกว่านี้มาก[11] วันที่ 20 เดือนนั้น สหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการในโซมาเลียใต้ซึ่งภาวะทุพภิกขภัย นับเป็นการประกาศทุพภิกขภัยครั้งแรกหลังทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย พ.ศ. 2527-2528 สืบมา ในครั้งนั้น ชาวเอธิโอเปียมากกว่าหนึ่งล้านคนได้ถึงแก่ชีวิต[2] [12] ส่วนในทุพภิกขภัยครั้งนี้ เชื่อว่าผู้คนมากกว่าหนึ่งแสนคนในโซมาเลียใต้ได้จบชีวิตลงก่อนประกาศของสหประชาชาติแล้ว[2] การตอบสนองทางมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างยากเข็ญ เพราะขาดเงินทุนสนับสนุนระดับนานาชาติเป็นอันมาก ประกอบกับความมั่นคงในภูมิภาคประสบภัยก็เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายหาความวางใจมิได้[2] [13] [14] ในจำนวนเงินสนับสนุนที่สหประชาชาติร้องขอ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น องค์การได้รับแล้ว 63%[15]
ภูมิหลัง[แก้]

สภาพอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งปรากฏการณ์ลานีญารุนแรงผิดปกติ ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลกว่าสองฤดูกาลติดต่อกันแล้ว ในเคนยาและเอธิโอเปียขาดแคลนฝนในปีนี้ ส่วนในโซมาเลียขาดแคลนฝนตั้งแต่ปีที่แล้ว[4] ในหลายพื้นที่ อัตราหยาดน้ำฟ้าระหว่างช่วงฤดูฝนหลักระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนมีค่าน้อยกว่า 30% ของค่าเฉลี่ยระหว่าง พ.ศ. 2538-2553[16] การขาดฝนทำให้ปศุสัตว์ล้มตายเป็นอันมาก ในบางพื้นที่สูงถึง 40%-60% ซึ่งลดปริมาณการผลิตน้ำนมเช่นเดียวกับการเก็บเกี่ยวพืชผลซึ่งไม่ได้ผลดี เป็นที่คาดกันว่าฝนจะไม่ตกกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2554[4] วิกฤตดังกล่าวทวีความเลวร้ายลงโดยกิจกรรมของฝ่ายกบฏทางตอนใต้ของโซมาเลียจากกลุ่มอัล-ชาบาบ[6]
หัวหน้าสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ราจีฟ ชาห์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนทำให้วิกฤตการณ์ดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสภาพที่กำลังร้อนและแห้งแล้งขึ้นในแอฟริกาซับสะฮาราลดการฟื้นคืนสภาพของชุมชนเหล่านี้"[17] แต่อีกด้านหนึ่ง สถาบันวิจัยปศุสัตว์ระหว่างประเทศ แนะว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะโทษการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ว่าเป็นต้นเหตุของภัยแล้งครั้งนี้ ขณะที่ยอมรับว่า ปรากฏการณ์ลานีญาที่ค่อนข้างรุนแรงมีส่วนต่อความรุนแรงของภัยแล้ง ความสัมพันธ์ระหว่างลานีญากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจน[18]
ความล้มเหลวของนานาชาติในการใส่ใจต่อระบบป้องกันภัยล่วงหน้าได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้วิกฤตเลวร้ายลงไปอีก ผู้อำนวยการมนุษยธรรมของอ็อกซ์แฟม เจน ค็อกกิง กล่าวว่า "นี่เป็นภัยพิบัติที่ป้องกันได้และหนทางแก้ไขก็เป็นไปได้"[19] ซูซาน ดิวอรเรค ประธานผู้บริหารเซฟเดอะชิลเดรน เขียนว่า "นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบายในประเทศร่ำรวยมักสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการป้องกัน เพราะพวกเขาคิดว่าหน่วยงานช่วยเหลือกำลังทำให้ปัญหาขยายตัว รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนากำลังอับอายที่ถูกมองว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนอิ่มท้องได้ [...] เด็กเหล่านี้อดตายไปในภัยพิบัติซึ่งเราสามารถ และควร จะป้องกัน"[20]
สถานการณ์ทางมนุษยธรรม[แก้]
เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในเขตโลเวอร์ชาเบลและบากูล ทางตอนใต้ของโซมาเลีย[2] ตามข้อมูลของผู้ประสานงานด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติในโซมาเลีย ทุพภิกขภัยจะลุกลามไปยังทั้งหมดแปดเขตของโซมาเลียหากไม่มีการดำเนินมาตรการทันที[21] ดิอีโคโนมิสต์รายงานว่า ทุพภิกขภัยในวงกว้างอาจเกิดขึ้นตลอดจะงอยแอฟริกา "สถานการณ์แบบนี้...ไม่เคยเกิดขึ้นมาเป็นเวลา 25 ปี"[19]
ปัจจุบันราคาอาหารหลักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยห้าปี 68% รวมทั้งที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 240% ในโซมาเลียใต้, 117% ในเอธิโอเปียตะวันออกเฉียงใต้ และ 58% ในเคนยาเหนือ[16][20] อัตราภาวะขาดสารอาหารในเด็กแตะระดับ 30% ในบางส่วนของเคนยาและเอธิโอเปีย และมากกว่า 50% ในโซมาเลียใต้[22][16][17] ต้นเดือนกรกฎาคม โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติว่า คาดว่ามีประชากร 10 ล้านคนทั่วจะงอยแอฟริกาที่ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขประเมินที่ 6 ล้านคนก่อนหน้านี้ ปลายเดือนเดียวกัน สหประชาชาติปรับปรุงตัวเลขเป็น 12 ล้านคน โดยมี 2.8 ล้านคนอยู่ในโซมาเลียใต้เพียงแห่งเดียว ที่ซึ่งทุพภิกขภัยเลวร้ายที่สุด วิกฤตการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเลวร้ายลงในเดือนต่อมา โดยเลวร้ายที่สุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ความช่วยเหลือขนาดใหญ่เป็นที่ต้องการอย่างน้อยจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554[23]
ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้สถานการณ์เลวลงไปอีกในโมกาดิชู โดยทำลายบ้านชั่วคราวลง ทิ้งให้คนอพยพย้ายถิ่นในประเทศในโซมาเลียใต้นับหมื่นคนให้อยู่ในความหนาวเหน็บ[24]
นอกเหนือจากนี้ กาชาดเคนยาเตือนว่าเค้าลางของวิกฤตการณ์มนุษยธรรมกำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคเตอร์กานา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเคนยา ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับเซาท์ซูดาน ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่พร้อมหน่วยงานช่วเหลือ ประชากรในพื้นที่มากกว่าสามในสี่ขณะนี้ต้องการเสบียงอาหารอย่างมาก ระดับทุพโภชนาการยังอยู่ที่ระดับสูงสุดด้วย[25] ผลคือ โรงเรียนหลายแห่งในภูมิภาคได้ปิดลง "เพราะไม่มีอาหารแก่นักเรียน"[26] เด็กราว 385,000 คนในพื้นที่ที่ถูกปล่อยปละละเลยในเคนยานี้ขาดอาหารแล้ว ร่วมกับหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 90,000 คน มีประเมินว่าชาวเคนยาอีกกว่า 3.5 ล้านคนเสี่ยงต่อทุพโภชนาการ[27]
นอกจากนี้ ยังได้มีรายงานการขาดแคลนอาหารทางเหนือและตะวันออกของยูกันดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคการาโมจาและบุลัมบุลี เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยประเมินไว้ว่ามีชาวยูกันดาได้รับผลกระทบ 1.2 ล้านคน รัฐบาลยูกันดาได้ชี้ว่า จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 การขาดแคลนโภคภัณฑ์ฉับพลันคาดว่าเกิดขึ้นใน 35% ของพื้นที่ทั่วประเทศ
วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย[แก้]
จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม มีผู้ลี้ภัยมากกว่า 920,000 คน จากโซมาเลียอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคนยาและเอธิโอเปีย[28] ฐานสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในดาดับ ประเทศเคนยา ปัจจุบันให้ที่พักพิงแก่ประชาชนอย่างน้อย 440,000 คน ในค่ายผู้ลี้ภัยสามแห่ง ซึ่งรองรับสูงสุดได้ 90,000 คน[29] ผู้อพยพอีก 1,500 คนยังอพยพเข้ามาทุกวันจากโซมาเลียใต้ ซึ่งในจำนวนนั้น 80% เป็นผู้หญิงและเด็ก[30][31] โฆษกข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติว่า มีหลายคนเสียชีวิตระหว่างทาง[32] ภายในค่าย อัตราการตายของทารกได้เพิ่มขึ้นสามเท่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อัตราการตายทั้งหมดอยู่ที่ 7.4 คน ทุก 10,000 คนต่อวัน ซึ่งคิดเป็นมากกว่าเจ็ดเท่าของอัตราการตายใน "ภาวะฉุกเฉิน" ที่ 1 คน ทุก 10,000 คนต่อวัน[33][34] และยังมีจำนวนความรุนแรงทางเพศต่อสตรีและเด็กหญิงเพิ่มขึ้น โดยจำนวนรายงานเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 4 เท่า เหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศนี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ระหว่างการเดินทางมายังค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งในบางกรณีรายงานในค่ายหรือเมื่อผู้อพยพใหม่ออกไปหาฟืน[31] กรณีดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเอดส์สูง[35]
ภาวะสุขอนามัยและการเกิดโรค[แก้]
เกิดการระบาดของโรคหัดในค่ายผู้ลี้ภัยในดาดับ ประเทศเคนยา โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรค(confirmed cases) จำนวน 462 ราย และเสียชีวิต 11 ราย [6] นอกจากนี้ ทั้งประเทศเอธิโอเปียและประเทศเคนยาต่างก็กำลังประสบปัญหาการระบาดอย่างหนักของโรคหัด ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัญหาวิกฤตผู้ลี้ภัย โดยในช่วงหกเดือนแรก มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 17,500 ราย [36][36] ขณะที่สถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหัดจำนวนทั้งสิ้น 2 ล้านคน [36] การระบาดของโรคหัดในประเทศเอทิโอเปียอาจนำไปสู่การระบาดของโลกหัดในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย [36] องค์การอนามัยโลกระบุว่าในประเทศเอทิโอเปีย "มีผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรีย 8.8 ล้านคน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอหิวาตกโรคจำนวน 5 ล้านคน" เนื่องจากมีสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดและไม่ถูกสุขอนามัย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรายงานว่ามีผุ้ป่วยเป็นโรคโปลิโอ [37] อัตราการเกิดโรคขาดสารอาหารในเด็กได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ในบางส่วนของประเทศเคนยาและเอธิโอเปีย และสูงกว่าร้อยละ 50 ในทางใต้ของประเทศโซมาเลีย [38][39][40] องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders หรือ Medecins Sans Frontieres) กำลังทำการรักษาเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารรุนแรงกว่า 10,000 คนในศูนย์ให้อาหารและบริการการแพทย์ [41] หน่วยวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของสหประชาชาติระบุว่า สถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศโซมาเลียในขณะนี้ มีลักษณะครบสามประการในการเกิดทุพภิกขภัยในวงกว้าง อันได้แก่ ก)เด็กจำนวนเกินกว่าร้อยละ 30 ประสบปัญหาโรคขาดสารอาหารรุนแรง; ข) มีผู้ใหญ่เกินกว่าสองคน หรือเด็กเกินกว่าสี่คน เสียชีวิตจากทุพภิกขัย (ความหิวโหย) ในแต่ละวัน ต่อประชากร 10,000 คน; ค) ประชากรเข้าถึงสารอาหารได้น้อยกว่า 2,100 กิโลแคลอรี่ และเข้าถึงน้ำได้น้อยกว่าสี่ลิตร ในแต่ละวัน [42] ในเดือนสิงหาคม มีการรายงานการเสียชีวิตที่ต้องสงสัยว่าจะมาจากอหิวาตกโรคจำนวน 181 ราย ในกรุงโมกาดิชู ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการหนักถึงเสียชีวิตได้ในกลุ่มคนที่สุขภาพดี และอาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในกลุ่มประชากรที่มีร่างกายอ่อนแอเป็นอย่างมาก[43]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Famine in Southern Somalia - Evidence for a declaration" (PDF). FEWS Net. 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "UN declares first famine in Africa for three decades as US withholds aid". Telegraph. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ "U.S. estimates nearly 30,000 children have died in famine". Macleans CA. 5 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 OCHA (UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs) (10 June 2011). "Eastern Africa Drought Humanitarian Report No. 3". reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ Mike Wooldridge (4 July 2011). "Horn of Africa tested by severe drought". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Ben Brown (8 July 2011). "Horn of Africa drought: 'A vision of hell'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อUNHCR 30 August
- ↑ OCHA, FEWS-Net (24 June 2011). "East Africa: Famine warning for southern Somalia" (PDF). FEWS-Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
- ↑ Mike Wooldridge (4 July 2011). "Horn of Africa tested by severe drought". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ "Horn of Africa drought: Somalia aid supplies boosted". BBC News. 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ Integrated Regional Information Networks (IRIN) (5 July 2011). "East Africa: Famine warning for southern Somalia". reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
- ↑ "Somalia on verge of famine". 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|Publisher=
ถูกละเว้น แนะนำ (|publisher=
) (help) - ↑ "UN to declare famine in parts of drought-hit Somalia". BBC. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ "The forgotten people of Africa's famine cry out for aid". Telegraph. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ Famine victims soar, Sydney Morning Herald, Nairobi, September 11, 2011.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Eastern Africa: Humanitarian Snapshot" (PDF). 24 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ 17.0 17.1 Joshua Hersh (13 July 2011). "East Africa Famine Threatens Regional Stability, USAID Chief Says". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 13 July 2011.
- ↑ "EASTERN AFRICA: Too soon to blame climate change for drought". 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ 19.0 19.1 "Once more unto the abyss". The Economist. 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ 20.0 20.1 "African crisis exposes failed logic of humanitarian system". 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.
- ↑ "UN Declares Famine in Two South Somalia Regions as 3.7 Million Need Help". 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ "UN declares famine in rebel-held Somalia". Financial Times. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ "Expanding famine across southern Somalia" (PDF). FEWS NET. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ August 2 2011.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Somali famine victims lose homes as torrential rain hits refugee camps". The Guardian. London. 31 July 2011. สืบค้นเมื่อ 1 August 2011.
- ↑ SawaSawa.com (webmaster@sawasawa.com) (2011-07-25). "Red Cross warns of catastrophe in Turkana". Kbc.co.ke. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
- ↑ "Kenya: schools close as famine takes hold in Turkana". Indcatholicnews.com. 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
- ↑ Dugan, Emily (2011-07-29). "Now Kenya stands on brink of its own famine". London: Independent.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
- ↑ "UN: One-Third of Somalis Now Displaced". 15 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
- ↑ "Help Kenya manage Somalia crisis, US pleads". Capital FM. 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
- ↑ BBC video (30 second commercial at beginning). Dadaab refugee camp in Kenya, 29 July 2011.
- ↑ 31.0 31.1 "Famine refugees face increased violence, aid groups say". CBC News. 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
- ↑ "UNHCR chief urges more help for drought-hit Somalis". Tehran Times. 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 14 July 2011.
- ↑ "Somalia Food Crisis One Of Biggest In Decades: U.S. State Department Official". Huffington Post. USA. 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
- ↑ "Somali refugee death rate at 15 times above norm: UNHCR". Hindustan Times. India. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อUN 25 July 2011
- ↑ 36.0 36.1 36.2 36.3 "UN reports measles outbreaks in Ethiopia, Kenya". USA Today. 15 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 30 July 2011. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "USA Today 15 July 2011" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "USA Today 15 July 2011" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "USA Today 15 July 2011" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Millions at risk of cholera in Ethiopia: WHO". Vancouver Sun. 15 July 2011. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "UN declares famine in rebel-held Somalia". Financial Times. 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ "Eastern Africa: Humanitarian Snapshot" (PDF). Vancouver Sun. 24 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ Joshua Hersh (15 July 2011). "East Africa Famine Threatens Regional Stability, USAID Chief Says". Vancouver Sun. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.
- ↑ "MSF: No More Delays or Restrictions For Somalis Needing Aid and Refuge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Uri Friedman (20 July 2011). "What It Took for the U.N. to Declare a Famine in Somalia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ http://www.bendbulletin.com/article/20110813/NEWS0107/108130383/.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Donations to UNICEF - Horn of Africa
- Oxfam - East Africa food crisis Archived 2011-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Press releases from UNICEF Archived 2020-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mercy Corps - Horn of Africa Hunger Crisis Archived 2011-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- MSF stepping up malnutrition interventions in Horn of Africa Archived 2011-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Eastern Africa: drought - Location Map
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |