ข้ามไปเนื้อหา

เหตุระเบิดสะพานไครเมีย พ.ศ. 2565

พิกัด: 45°18′04″N 36°30′45″E / 45.30111°N 36.51250°E / 45.30111; 36.51250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดสะพานไครเมีย พ.ศ. 2565
ส่วนหนึ่งของเหตุโจมตีในไครเมีย พ.ศ. 2565 ระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
หลังจากเหตุระเบิด ตู้รถไฟมีเพลิงไหม้และสะพานทรุดตัว
แผนที่
วันที่8 ตุลาคม พ.ศ. 2565
เวลา6:07 นาฬิกา (UTC+03:00)
ที่ตั้งสะพานไครเมีย
พิกัด45°18′04″N 36°30′45″E / 45.30111°N 36.51250°E / 45.30111; 36.51250
ผู้เข้าร่วม เอสบียู (ตามการรายงานของสหรัฐ, สื่อมวลชนยูเครน, สื่อมวลชนรัสเซียและรัฐบาลรัสเซีย)[1][2][3][4]
เสียชีวิต4 คน[5]

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:07 นาฬิกา เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่สะพานไครเมียอันเป็นผลจากการระเบิดซึ่งเกิดขึ้นที่ถนนของสะพานด้านบนหรือใต้ช่องถนนตะวันตกที่วิ่งจากประเทศรัสเซียไปเมืองเคียร์ชที่ถูกยึดครองในไครเมีย เพลิงไหม้ได้ลามไปยังส่วนสะพานรางรถไฟของสะพาน และทำให้ถนนบางส่วนทรุดตัวลงไปในน้ำ มีผู้เสียชีวิตสี่คนและคณะกรรมการสืบสวนรัสเซียเริ่มการสอบสวนเหตุระเบิด

ความเสียหายของสะพานส่งผลให้การขนส่งชะลอตัว ซึ่งสะพานถูกใช้เพื่อลำเลียงกำลังทหารรัสเซียในไครเมีย เหตุระเบิดเกิดขึ้นหลังจากวันเกิดของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ครบรอบ 70 ปี และหนึ่งสัปดาห์หลังจากการประกาศผนวกดินแดนของยูเครนสี่ภูมิภาคโดยรัสเซีย ทางการยูเครนและกองทัพได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำลายสะพานไครเมีย โดยถือว่าเป็นเป้าหมายทางการทหาร

เจ้าหน้าที่รัสเซียและ "เจ้าหน้าที่อาวุโสยูเครน" ได้สนทนากับ เดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวว่า เหตุระเบิดเกิดขึ้นจากระเบิดที่บรรจุในรถบรรทุก[1] อย่างไรก็ตาม บีบีซี อ้างว่าเกิดจากโดรนทางทะเล[6] ตามการรายงานของ ยูเครนสกา ปราฟดา และสำนักข่าวอิสระยูเครน (UNIAN) เหตุโจมตีดังกล่าวดำเนินการโดยกองกำลังบริการและพิทักษ์ยูเครน (SBU)[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kramer, Andrew E.; Schwirtz, Michael (11 October 2022) [8 October 2022]. "Explosion on 12-Mile Crimea Bridge Kills 3". The New York Times. eISSN 1553-8095. ISSN 0362-4331. OCLC 1645522. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-08. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
  2. 2.0 2.1 "Security Service of Ukraine behind explosion on Crimean bridge". Ukrainska Pravda (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
  3. 3.0 3.1 "Украинские СМИ со ссылкой на источник сообщили, что взрыв на Крымском мосту – операция СБУ" [Ukrainian media, citing a source, reported that the explosion on the Crimean bridge was an SBU operation.]. Meduza (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
  4. "Russian President Vladimir Putin accuses Ukraine of Crimea-Russia bridge blast". ABC News. 10 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
  5. Mordunov, Vladimir (11 October 2022). Число погибших при взрыве на Крымском мосту выросло до четырех. Среди них судья из Москвы [The death toll from the explosion on the Crimean bridge has risen to four. Among them is a judge from Moscow] (ภาษารัสเซีย). TASS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022. Число погибших в результате взрыва на Крымском мосту выросло до четырех человек, среди них судья Арбитражного суда Москвы Сергей Маслов. Об этом ТАСС сообщил во вторник представитель экстренных служб. [The death toll from the explosion on the Crimean bridge has risen to four people, among them the judge of the Moscow Arbitration Court Sergey Maslov. This was reported to TASS on Tuesday by a representative of emergency services.]
  6. Adams, Paul (9 October 2022). "Crimean bridge: Who – or what – caused the explosion?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.