เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3
(Oculomotor nerve)
เส้นประสาทไปยังเบ้าตา มุมมองจากด้านบน
รายละเอียด
มาจากออกคิวโลมอเตอร์ นิวเคลียส, เอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส
เป็นแขนงบนของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (Superior branch of oculomotor nerve) , แขนงล่างของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (Inferior branch of oculomotor nerve)
เลี้ยงกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัส, กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ เรกตัส, กล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัส, กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีก, กล้ามเนื้อซิลิอารี
ตัวระบุ
ภาษาละตินnervus oculomotorius
MeSHD009802
นิวโรเนมส์488
TA98A14.2.01.007
TA26187
FMA50864
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3[1] (อังกฤษ: Oculomotor nerve) เป็นเส้นประสาทสมองเส้นหนึ่งจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา การหรี่ม่านตา และช่วยในการลืมตา (นอกจากนี้ยังมีเส้นประสาทสมองเส้นที่ 4 และ 6 ที่มีส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา)

กล้ามเนื้อตา[แก้]

  • ลาทอรัล เร็กตัส ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 คือ เส้นประสาทแอบดูเซนส์
  • มีเดียล เร็กตัส
  • ซูพีเรีย เร็กตัส
  • อินฟีเรีย เร็กตัส
  • ซูพีเรีย ออบลีก ควบคุมโดยเล้นประสาทสมองคู่ที่ 4 คือ เส้นประสาทโทรเคลียร์
  • อินฟีเรีย ออบบลีก

4 ใน 6 ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 คือ เส้นประสาทออกคูโลมอเตอร์

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 ยังควบคุมกล้ามเนื้อ ลีเวเตอร์ พาลพีบรี ซูพีเรียริส ทำหน้าที่ยกเปลือกตาด้านบนขึ้นขณะที่กล้ามเนื้อลูกนัยน์ตาทำงาน สำหรับการปิดเปลือกตา ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เส้นประสาทเฟเชียล โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อออร์บิคูลาร์ รอบดวงตา

การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา ปกติแล้วจะเป็นไปด้วยความแม่นยำและกระตุ้นให้กล้ามเนื้อตาหลายๆมัดทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ [2]ช่วยในการยึดตรึงตำแหน่งที่สนใจมอง

  • การสอดส่ายค้นหาตำแหน่งที่น่าสนใจมอง เรียกว่า แซคเคดส์ (อังกฤษ: saccades)
  • ความสามารถจับวัตุที่กำลังเคลื่อนที่ เรียกว่า เพอร์สูตแบบราบเรียบ (อังกฤษ: smooth pursuit)
  • การชดเชยเพื่อรักษาภาพวัตถุเมื่อร่างกายหรือศีรษะมีการเคลื่อนไหวอย่างไม่ทันตั้งตัว เรียกว่า เวสติบูโลออกคูลาร์ รีเฟล็กซ์ (vestibuloocular reflex)

อาการทางคลีนิค[แก้]

  • อาการตาเหล่ (อังกฤษ: stabismus) ข้างเดียวหรือสองข้าง มองเห็นภาพซ้อน (อังกฤษ: diplopia) หนังตาตก (อังกฤษ: ptosis)
  • อาการอัมพาตทางสายตา (อังกฤษ: ophthalmoplegias)

อ้างอิง[แก้]

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  2. ประพิณพันธ์ ศรีสวัสดิ์ ประสาทวิทยา สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 137 ISBN 974-9913-62-0

<references \>