เส้นนัซกา
14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W
เส้นและภาพเขียนบนพื้นดิน แห่งนัซกาและปัลปา * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ภาพถ่ายทางอากาศของหนึ่งในเส้นนาซกาเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 เป็นรูปร่างที่มีชื่อว่า "ลิง" | |
พิกัด | 14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W |
ประเทศ | เปรู |
ภูมิภาค ** | ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i), (iii), (iv) |
อ้างอิง | 700 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1994 (คณะกรรมการสมัยที่ 18) |
พื้นที่ | 75,358.47 เฮ็กเตอร์ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
พิกัด | 14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W |
เส้นนัซกา (สเปน: líneas de Nazca) เป็นกลุ่มภาพลายเส้นที่ทะเลทรายนัซกาทางตอนใต้ของประเทศเปรู[1][2] สร้างขึ้นในช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 500 โดยผู้คนที่ทำรอยบากหรือรอยบากตื้น ๆ บนพื้นทะเลทราย เอาก้อนกรวดออก และปล่อยดินสีต่าง ๆ ออกมา[3] มีการวาดเส้นนัซกาถึงสองระยะหลัก คือ ระยะปารากัซใน 400 ถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช และระยะนัซกาใน 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 500[4] จนกระทั่ง ค.ศ. 2020 มีการค้นพบภาพลายเส้นใหม่ระหว่าง 80 ถึง 100 รูปด้วยการใช้โดรน และนักโบราณคดีเชื่อว่าอาจพบได้มากกว่านี้[5]
เส้นส่วนใหญ่มักเป็นเส้นตรงผ่านภูมิประเทศ แต่ก็มีการออกแบบเป็นรูปสัตว์และพืชด้วย เส้นนัซกาบางส่วนสามารถมองเห็นรูปร่างได้ดีจากข้างบน (ที่ประมาณ 500 เมตร [1,600 ฟุต]) แม้ว่จะมองเห็นได้จากเชิงเขาโดยรอบและบริเวณที่สูงอื่น ๆ ก็ตาม[6][7][8] รูปร่างเหล่านี้มักสร้างจากเส้นที่ยาวต่อเนื่อง โดยรูปที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นที่ยาวประมาณ 370 เมตร (400 หลา)[9] เนื่องจากที่ตั้งที่โดดเดี่ยวและสภาพภูมิอากาศบนที่ราบสูงที่แห้งแล้ง ไร้ลม และคงที่ ทำให้เส้นส่วนใหญ่ได้รับการรักษาตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่พบได้ยากมากอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั่วไปชั่วคราว ณ ค.ศ. 2012 กล่าวกันว่าเส้นต่าง ๆ ทรุดโทรมลงเนื่องจากผู้คนเข้ามาจับจองที่ดินบริเวณตรงนี้[10]
รูปร่างมีความแตกต่างไปตามความซับซ้อน โดยมีเส้นแบบง่ายกับรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิตกว่าร้อยภาพ และรูปแบบอิงตามสัตว์มากกว่า 70 ภาพ เช่น นกฮัมมิงเบิร์ด แมงมุม ปลา แร้งคอนดอร์ นกยาง ลิง กิ้งก่า สุนัข แมว และมนุษย์ ส่วนรูปร่างอื่น ๆ เช่น ต้นไม้ และดอกไม้[3] นักวิชาการตีความจุดประสงค์ของการออกแบบแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไป พวกเขาให้ความหมายในทางศาสนา[11][12][13][14] เส้นนัซกาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1994
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sebastian Dorsch; Jutta Vinzent (2017). SpatioTemporalities on the Line: Representations-Practices-Dynamics. Walter de Gruyter GmbH & Co KG. pp. 97–. ISBN 978-3-11-046578-5.
- ↑ Anthony F. Aveni (1990). The Lines of Nazca. American Philosophical Society. ISBN 9780871691835.
- ↑ 3.0 3.1 "Nazca Lines". Guía Go2peru (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.
- ↑ Centre, UNESCO World Heritage. "Lines and Geoglyphs of Nasca and Palpa". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-20.
- ↑ Jones, Sam (18 October 2020). "Huge cat found etched into desert among Nazca Lines in Peru". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021.
- ↑ Gardner's Art Through the Ages: Ancient, medieval, and non-European art. Harcourt Brace Jovanovich; 1991. ISBN 978-0-15-503770-0.
- ↑ Hinman, Bonnie (2016).Mystery of the Nazca Lines. ABDO; ISBN 978-1-68077-242-5. pp. 6–.
- ↑ Anthony F. Aveni (2000). Between the Lines: The Mystery of the Giant Ground Drawings of Ancient Nasca, Peru. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-70496-1. pp. 88–.
- ↑ Glomb, Jason (8 November 2010). "Nasca Lines". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2019.
- ↑ Taj, Mitra (August 15, 2012). "Pigs and squatters threaten Peru's Nazca lines". Reuters. สืบค้นเมื่อ August 15, 2012.
- ↑ Helaine Selin (2013). Nature Across Cultures: Views of Nature and the Environment in Non-Western Cultures. Springer Science & Business Media; ISBN 978-94-017-0149-5. pp. 286–.
- ↑ Richard A. Freund (2016). Digging Through History: Archaeology and Religion from Atlantis to the Holocaust. Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-0883-4. pp. 22–.
- ↑ Mary Strong (2012). Art, Nature, and Religion in the Central Andes: Themes and Variations from Prehistory to the Present. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-73571-2. pp. 33–.
- ↑ Religion and the Environment. Palgrave Macmillan UK; 2016. ISBN 978-0-230-28634-4. pp. 110–.