ข้ามไปเนื้อหา

ระบบถนนอินคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบถนนอินคา
ขอบเขตของระบบถนนอินคา
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว40,000 กิโลเมตร (25,000 ไมล์)
ช่วงเวลาอเมริกาใต้สมัยก่อนโคลัมบัส
คาปักญัน ระบบถนนแอนดีส *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ถนนอินคาสายเลียบชายฝั่งบริเวณแหล่งโบราณคดีปาชากามักในเปรู
ประเทศธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย
ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์
ธงของประเทศเปรู เปรู
ธงของประเทศโบลิเวีย โบลิเวีย
ธงของประเทศชิลี ชิลี
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iii), (iv), (vi)
อ้างอิง1459
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 38)
พื้นที่11,406.95 ha
พื้นที่กันชน663,069.68 ha
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ระบบถนนอินคา หรือ คาปักญัน (เกชัว: Qhapaq Ñan;[note 1] "ถนนหลวง")[1] เป็นระบบขนส่งที่ครอบคลุมและก้าวหน้าที่สุดในอเมริกาใต้สมัยก่อนโคลัมบัส มีความยาวอย่างน้อย 40,000 กิโลเมตร (25,000 ไมล์)[2]: 242  การสร้างถนนต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก[3]: 634 

เครือข่ายประกอบด้วยถนนทางการ[4] ที่มีการวางแผน สร้าง ทำเครื่องหมาย และบำรุงรักษาอย่างรอบคอบ มีการปูถนนในกรณีที่จำเป็น มีบันไดขึ้นระดับความสูง สะพาน และสิ่งปลูกสร้างเสริม เช่น กำแพงกันดินและระบบระบายน้ำ มีถนนหลักสองสายวางตัวในแนวเหนือ-ใต้: สายหนึ่งเลียบชายฝั่งและสายที่สองและสำคัญที่สุดอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและบนภูเขา ทั้งสองมีถนนสายย่อยเชื่อมต่อกันมากมาย[5] สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรงกับโครงข่ายถนนที่สร้างขึ้นในจักรวรรดิโรมัน แม้ว่าระบบถนนของอินคาจะได้รับการสร้างขึ้นในอีกหนึ่งพันปีให้หลัง[6] ระบบถนนอนุญาตให้มีการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร สินค้า ทหาร และบุคคลโดยไม่ต้องใช้ล้อภายในจักรวรรดิอินคาที่มีอาณาเขตครอบคลุมเกือบ 2,000,000 km2 (770,000 sq mi)[7] และมีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 12 ล้านคน[8]

ริมถนนมีอาคารตั้งอยู่เป็นช่วง ๆ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในระยะทางสั้น ๆ มีสถานีเปลี่ยนกะสำหรับ ชัสกี หรือผู้ส่งสารด้วยการวิ่ง ในช่วงเวลาเดินหนึ่งวันจะมี ตัมปู เป็นจุดรับรองผู้ใช้ถนนและฝูงยามาที่บรรทุกสัมภาระ ศูนย์บริหารที่มีคลังสินค้าสำหรับการกระจายสินค้าจะตั้งอยู่ตามแนวถนน ไกลออกไปทางเขตแดนของจักรวรรดิอินคาและในพื้นที่ที่ถูกพิชิตใหม่จะมี ปูการา ("ป้อมปราการ") ตั้งอยู่[1]

เครือข่ายถนนส่วนหนึ่งสร้างขึ้นโดยวัฒนธรรมที่มาก่อนจักรวรรดิอินคา ที่โดดเด่นคือวัฒนธรรมวารีในเปรูตอนเหนือตอนเหนือและวัฒนธรรมตีวานากูในโบลิเวีย[1] องค์กรต่าง ๆ (เช่น ยูเนสโก, ไอยูซีเอ็น) ได้ทำงานเพื่อปกป้องเครือข่ายถนนโดยร่วมมือกับรัฐบาลและประชาคมของ 6 ประเทศ (โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินา) ซึ่งถนนตัดผ่าน

ในสมัยปัจจุบัน ถนนอินคาถูกใช้งานอย่างหนักจากการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางอินคาสู่มาชูปิกชูซึ่งเชื่อมโอยันไตตัมโบเข้ากับมาชูปิกชูและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินทางไกล

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Qhapaq=รวย, มั่งคั่ง, สูงส่ง, ที่มีอำนาจ, ที่มีเอกสิทธิ์; ñan=ถนน, ทาง, เส้นทาง. แหล่งอ้างอิง: "Diccionario quechua - español - quechua" Gobierno Regional Cusco - Cusco – Second edition, 2005

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Martínez Martínez, Guadalupe (2010). Qhapaq Ñan: el camino inca y las transformaciones territoriales en los Andes Peruanos - Arqueología y Sociedad, Nº 21, 2010 – www.revistasinvestigacion.unmsm.edu.pe/index.php/Arqueo/article/download/12277/10985
  2. D'Altroy, Terence N. (2002). The Incas. Blackwell Publishers Inc. ISBN 0-631-17677-2.
  3. Thompson, Donald E.; John V. Murra (July 1966). "The Inca Bridges in the Huanuco Region". Society for American Archaeology. 5. 31 (1).
  4. Krzanowski Andrzej. Observaciones acerca de la construcción y el trazado de algunos tramos del camino inca en los Andes peruanos - Kraków, Poland - http://www.farkha.nazwa.pl/contributions/pcnwa/cnwa/CNWA2.4.pdf
  5. History of the Inca realm. Cambridge, England: Cambridge University Press. 1999. p. 60. ISBN 0-521-63759-7.
  6. Mattos, Ramiro (2015). El Qhapaq Ñan del Tawantinsuyu: reflexiones sobre su significado político y social en el presente andino - Revista de Antropología del Museo de Entre Ríos 12-20 (2015) - issn: 2347-033x
  7. Raffino, Rodolfo et al. Rumichaca: el puente inca en la cordillera de los Chichas (Tarija, Bolivia) – in "Arqueologia argentina en los incios de un nevo siglo" pags 215 to 223
  8. "Colapso Demografico en la población de la colonia" - https://historiaperuana.pe/periodo-colonial/virreinato/la-poblacion-en-el-virreinato/