ข้ามไปเนื้อหา

เสาแบบไอออนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจากหนังสือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับเสาแบบไอออนิกเล่มแรก โดย Julien David LeRoy ชื่อว่า Les ruines plus beaux des monuments de la Grèce พิมพ์ที่ปารีส ค.ศ. 1758 (Plate XX)
องค์ประกอบของเสา
1. entablature = คานเหนือเสา
2. column = เสา
3. cornice = บัวคอร์นิซ
4. frieze = ลายตกแต่ง
5. architrave หรือ epistyle = หน้ากระดานทับหลัง
6. capital = หัวเสา
7. shaft = ลำต้นเสา
8. base = ฐานเสา
9. stylobate = ฐานใต้เสา
10. stereobate = ฐานแรก

เสาแบบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic order; กรีก: Ιωνικός ρυθμός) เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม หนึ่งในสามของเสาแบบคลาสสิก ซึ่งนำมาจากกรีกและโรมันโบราณ อีกสองแบบได้แก่ ดอริกและคอรินเทียน (นอกจากนี้ยังมีเสาอีกสองแบบที่สำคัญน้อยกว่า ได้แก่ ทัสกัน และอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นการเพิ่มเติมและผสมผสานรายละเอียดของแบบคอรินเทียนกับแบบอื่น ๆ มากเข้าไปอีก เรียกว่า คอมโพซิต ซึ่งสร้างขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยสถาปนิกชาวอิตาลี)

เสาแบบไอออนิกมีลักษณะเสาเรียวสง่า แผ่นหินบนเสาเป็นรูปโค้งย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้าง เหนือขึ้นไปเป็นรูปฐาน 3 ชั้น บริเวณเสา (shaft) ถูกรองรับด้วยฐานใต้เสา (stylobate) ซึ่งเป็นคนละชิ้นแยกจากกัน บริเวณยอดหรือหัวเสา (capital) มักจะตกแต่งด้วยลายประดับรูปไข่ (egg-and-dart)

ระเบียงภาพ

[แก้]


ดูเพิ่ม

[แก้]