เลนส์ไร้ความคลาดทรงกลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เลนส์ไร้ความคลาดทรงกลม (aplanat หรือ aplanatic lens) เป็นชื่อที่ใช้เรียกเลนส์ชนิดหนึ่งที่มีการปรับแก้ความคลาดทางทัศนศาสตร์ โดยในเลนส์ชนิดนี้ คลาดทรงกลม[1] และ ความคลาดแบบโคมา[1] จะถูกปรับแก้ให้หายไป

เราสามารถทำให้ระบบเชิงแสงกลายเป็นแบบไร้ความคลาดทรงกลมได้โดยเติมเต็ม เงื่อนไขความยาวเส้นทางเชิงแสงคงที่ และ เงื่อนไขไซน์ ให้ได้ในเวลาเดียวกัน[1]

กล้องโทรทรรศน์ไร้ความคลาดทรงกลม[แก้]

กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบไร้ความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมาอาจทำได้โดยใช้กระจกเงาสำหรับสะท้อนแสงอย่างน้อยสองบานประกอบกัน[2]

ในปี 1905 คาร์ล ชวาทซ์ชิลท์ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบชวาทซ์ชิลท์ ที่ปราศจากทั้งความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมาขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรกโดยใช้กระจกที่ไม่เป็นทรงกลม 2 ชิ้น[2] แต่กระจกทั้ง 2 ชิ้นนั้นรูปร่างห่างไกลจากทรงกลมเป็นอย่างมากจึงยากต่อการสร้างขึ้นเพื่อใช้งานจริง และไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

ตัวอย่างของกล้องโทรทรรศน์แบบไร้ความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมาที่มีการใช้งานจริงคือกล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียง[1] ส่วนกล้องโทรทรรศน์แบบชมิทนั้นนอกจากจะกำจัดความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมาแล้ว ยังได้กำจัดความคลาดเอียงด้วย[1]

อ่านเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.91-110「収差とその対策」。
  2. 2.0 2.1 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.167-201「リッチー・クレチァン望遠鏡」。