ความคลาดเอียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบบจำลองความคลาดเอียง

ความคลาดเอียง (astigmatism) เป็นความคลาดทางทัศนศาสตร์ที่เกิดจากการที่ความยาวโฟกัสของแหล่งกำเนิดแสงนอกแกนเชิงแสงเบี่ยงเบนไปในทิศทางตามแนวเส้นรอบวงและแนวรัศมี[1]

ความคลาดชนิดนี้เป็นหนึ่งใน ความคลาดไซเดิล เช่นเดียวกับ ความคลาดแบบโคมา ความคลาดทรงกลม ความโค้งสนาม และ ความผิดรูป[2][1]

ความคลาดเอียงเป็นสาเหตุว่าทำไมบางครั้งเราจึงเห็นภาพดาวที่ดูเหมือนนกกางปีกในบริเวณรอบนอกของภาพถ่ายท้องฟ้าที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือเลนส์มุมกว้าง

ความคลาดเอียงและความโค้งสนามมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากระนาบภาพเนื่องจากความโค้งของสนามเป็นผิวที่มีความแตกต่างกันระหว่างภาพในแนวรัศมีและภาพในแนวเส้นรอบวงก็ จะเกิดเป็นความคลาดเอียง

คำว่า astigmatism ในภาษาอังกฤษยังอาจหมายถึง สายตาเอียง ได้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.91-110「収差とその対策」。
  2. 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編』pp.161-202「対物レンズ」。
  • 吉田正太郎 (1989). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28908-1.吉田正太郎 (1989). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28908-1.
  • 吉田正太郎 (1988). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28813-1.吉田正太郎 (1988). 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編. 誠文堂新光社. ISBN 4-416-28813-1.