เลนส์แคนนอน อีเอฟ-เอส 18–55 มม.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลนส์ 18−55 มม. ยูเอสเอ็ม

เลนส์แคนนอน อีเอฟ-เอส 18–55 มม. f/3.5–5.6 เป็นเลนส์ซูมมุมกว้างจนถึงช่วงกลางของเลนส์เทเลโฟโต ผลิตโดยแคนนอน สำหรับกล้องดีเอสแอลอาร์ ที่สามารถใส่เลนส์อีเอฟ-เอส ได้ โดยมีความยาวโฟกัสเทียบเท่า 35 มิลลิเมตร อยู่ที่ 28.8−88 มิลลิเมตร และเลนส์นี้เป็นเลนส์คิท หรือเลนส์เริ่มต้น สำหรับกล้องเอพีเอส-ซี

ทะเลสาบธันมณทีที่ถ่ายโดยเลนส์ 18−55 มม.
ทะเลสาบธันมณทีที่ถ่ายโดยเลนส์ 18−55 มม.

มี 8 รุ่นสำหรับเลนส์นี้ โดย 5 รุ่น เลิกผลิตแล้ว แต่อีก 3 รุ่นยังคงผลิตอยู่

  • I USM (เลิกผลิต)
  • I (เลิกผลิต)
  • II USM (เลิกผลิต)
  • II (เลิกผลิต)
  • IS (เลิกผลิต)
  • IS II (ปัจจุบัน)
  • III (ปัจจุบัน)
  • IS STM (ปัจจุบัน)

อีเอฟ-เอส 18–55 มม. ยูเอสเอ็ม 1/2 และ อีเอฟ-เอส 18–55 มม. 1/2/3[แก้]

รุ่นที่ 1 เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2547 หลังจากการเปิดตัวกล้องอีโอเอส 300 ดี ส่วนรุ่นที่ 2 เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2548 พร้อมกับการเปิดตัวอีโอเอส 350 ดี ตัวเลนส์ทำจากพลาสติก รวมถึงด้านที่เชื่อมต่อกับกล้องด้วย อย่างไรก็ตาม ในรุ่นนี้เลนส์ต้องเลิกผลิตเนื่องจากความคมชัดของรูป โดยความบิดเบือนของภาพจะเห็นได้ชัดเมื่อถ่ายรูปมุมกว้าง และ ภาพที่ได้ค่อนข้างติดโทนสีม่วง[1] นอกจากนี้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 ยังได้มีการเปิดตัวรุ่นที่ 3 โดยมีลักษณะที่คล้ายกับเลนส์อีเอฟ-เอส 18-55 มม. ไอเอส แต่ไม่มีระบบป้องกันการสั่นไหวของภาพ

อีเอฟ-เอส 18–55 มม. ไอเอส 1/2[แก้]

ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการเปิดตัวเลนส์ อีเอฟ-เอส 18–55 มม. ไอเอส พร้อมกับ อีโอเอส 40 ดี โดยเลนส์สามารถให้ภาพที่มีคุณภาพมากขึ้นจากรุ่นก่อน และ การเพิ่มการป้องกันการสั่นของภาพ[2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เลนส์ไอเอส รุ่นที่ 2 ได้เปิดตัวพร้อมกับ อีโอเอส 600 ดี กับ 1100 ดี[3] เลนส์นี้มีคุณสมบัติคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านี้ แต่ปรับเปลี่ยนการออกแบบภายใน รวมไปถึงอัลกอริทึมที่สามารถรับรู้ได้เมื่อแพนกล้อ[4]

อีเอฟ-เอส 18–55 มม. ไอเอส เอสทีเอ็ม[แก้]

ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการเปิดตัวเลนส์รุ่นไอเอส เอสทีเอ็ม พร้อมกับ อีโอเอส 700 ดี และ อีโอเอส 100 ดี โดยมีสูตรด้านการรับภาพที่ต่างจากเลนส์ในรุ่นก่อน ๆ โดยรุ่นนี้มีเอสทีเอ็ม (สเตปพิงมอเตอร์) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ โดยบริษัทได้ระบุว่าสามารถโฟกัสอัตโนมัติได้ตลอดเวลาระหว่างการบันทึกวิดีโอ เพราะมีเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไฮบริดออโตโฟกัสของแคนนอน โดยรุ่นนี้เป็นเลนส์ 18−55 มม. รุ่นแรกที่มาพร้อมกับการออกแบบให้โฟกัสภายใน[5] เลนส์รุ่นนี้เป็นเลนส์ที่ขายคู่กับ อีโอเอส 700 ดี และ อีโอเอส 100 ดี[5] and 100D;[6] อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเลนส์เริ่มต้นของอีโอเอส 70 ดี ด้วย[7]

คุณสมบัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Canon EF-S 18-55mm f/3.5-5.6 II – Test Report / Review". photozone. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Canon EF-S 18-55mm f/3.5-5.6 IS – Review". The-digital-picture. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Spaßfaktoren: Canon EOS 600D und 1100D | heise online" (ภาษาเยอรมัน). Heise.de. 18 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Rockwell, Ken (7 กุมภาพันธ์ 2554). "Canon 18-55mm IS II". KenRockwell.com. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "Canon announces EOS 700D / Rebel T5i 18MP and 18-55mm STM lens". Digital Photography Review. 21 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Canon unveils 100D/Rebel SL1 world's smallest and lightest APS-C DSLR". Digital Photography Review. 21 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Westlake, Andy; Butler, Richard; Barnett, Shawn (ตุลาคม 2556). "Canon EOS 70D Review". Digital Photography Review. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]