เรือโบโรบูดูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพเรือโบโรบูดูร์บนแผ่นนูนต่ำ

เรือโบโรบูดูร์ เป็นเรือที่มีกรรเชียงไม้สองอันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 ปรากฏบนแผ่นนูนต่ำบางส่วนที่โบโรบูดูร์ จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย[1] เรือของชาวชวาที่มีขนาดใกล้เคียงกันยังคงใช้งานในการค้าที่ชายฝั่งชวาตะวันออกอย่างน้อยจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1940[2]

รูปลักษณ์[แก้]

รูปลักษณ์ของเรือที่วิหารโบโรบูดูร์ได้แก่: มีกรรเชียงที่ไม่ได้ยาวเท่าตัวเรือ เสากระโดงเรือสองหรือสามแฉกที่มีใบเรือลาดเอียง (tanja sail), เสาชี้ที่มีใบเรือที่ขึงบนเสาขวาง, ระเบียงพายเรือ (ที่ผู้คนนั่งหรือยืนพาย), ดาดฟ้า, มี ตา (ตาแกะสลัก) และหางเรือสี่ส่วน เรือบางลำมีไม้พายจำนวนอย่างน้อย 6, 8 หรือ 9 อัน และบางลำไม่มีไม้พาย[3]

ความเข้าใจผิดทั่วไป[แก้]

ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรือโบโรบูดูร์มีดังนี้:

  1. เรือที่วิหารโบโรบูดูร์คือเรืออินเดีย ความเห็นนี้ได้รับการสนับบสนุนจากนักวิชาการอินเดียแและดัตช์ที่กล่าวถึงอิทธิพลของอินเดียที่มีต่ออาณาจักรต่าง ๆ ในนูซันตารา ("ภารตภิวัฒน์") ดังนั้น เรือที่ปรากฏในวิหารต้องมาจากอินเดีย นอกจากนี้ยังเกิดจากแนวคิดที่ว่าเรือชวาด้อยกว่าเรืออินเดีย[4][5] ข้อโต้แย้งนี้ถูกหักล้าง เนื่องจากชาวชวาเป็นนักเดินเรือที่มีประสบการณ์และสร้างเรือขนาดใหญ่มาเร็วสุดที่คริสต์สหัสวรรษที่ 1 (ดู kolandiaphonta)[6]: 193 [7][8]: 28–29  และมีลักษณะบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดจากอินโดนีเซีย คือ: มีกรรเชียง ใช้ใบเรือเอียงที่มีไม้ขวางติดใบต่ำ การใช้เสาสองขาและขาตั้งสามขา และระเบียงพายเรือ[9]
  2. เรือนี้คือเรือศรีวิชัยหรือเรือมลายู ไม่มีหลักฐาานใดเลยที่สนับสนุนรายงานนี้ ในสมัยศรีวิชัยไม่ค่อยมีการบันทึกประเภทของพาหนะทางน้ำ ประเภทเรือมลายูที่มีการบันทึกคือ samvau (รูปมลายูปัจจุบัน: ซัมปัน) บนจารึกเกอดูกันบูกิต (ค.ศ. 683) ที่สุมาตรา ส่วนพาหนะทางน้ำอีกลำคือลันจัง จากจารึก 2 แห่งที่ชายฝั่งตอนเหนือของบาหลีที่เขียนด้วยภาษาบาหลีเก่าใน ค.ศ. 896 และ 923[10]: 149–150  ในขณะเดียวกัน เรือโบโรบูดูร์พบได้เฉพาะในวิหารโบโรบูดูร์ ซึ่งเป็นมรดกชวา ไม่ใช่มลายู[11]: 109–110 [12]
  3. เรือโบโรบูดูร์เป็นเรือมัชปาหิต อันที่จริง บันทึกทางประวัติศาสตร์ของเรือหลักในมัชปาหิตกล่าวถึงจง, มาลังบัง และเกอลูลุซ[13]: 290–291  เรือทั้งหมดที่กล่าวถึงไม่มีกรรเชียง[14][13]: 266–267 

การวาดภาพ[แก้]

นี่คือภาพเรือ 5 ลำบนแผ่นนูนต่ำโบโรบูดูร์ที่มีกรรเชียง (จากทั้งหมด 7 ลำ) ใน Boro-Boedoer (1873) ของ Conradus Leemans โปรดทราบว่าเรือมีหลายประเภท[15]


อ้างอิง[แก้]

  1. Naʻalehu Anthony (September 25, 2015). "The Borobudur Temple Ship: Bringing a Memory Back to Life". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
  2. Hornell 1946, p. 216.
  3. Inglis 2014, p. 108-116.
  4. Inglis 2014, p. 96-97.
  5. Van Erp 1923, p. 10.
  6. Dames, Mansel Longworth (1921). The Book Of Duarte Barbosa Vol. II. London: Printed for the Hakluyt Society.
  7. Manguin, Pierre-Yves (1993). "Trading Ships of the South China Sea. Shipbuilding Techniques and Their Role in the History of the Development of Asian Trade Networks". Journal of the Economic and Social History of the Orient: 253–280.
  8. Dick-Read, Robert (July 2006). "Indonesia and Africa: questioning the origins of some of Africa's most famous icons". The Journal for Transdisciplinary Research in Southern Africa. 2 (1): 23–45. doi:10.4102/td.v2i1.307.
  9. Inglis 2014, p. 116.
  10. Manguin, Pierre-Yves (2012). Lancaran, Ghurab and Ghali: Mediterranean impact on war vessels in Early Modern Southeast Asia. In G. Wade & L. Tana (Eds.), Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Past (pp. 146–182). Singapore: ISEAS Publishing.
  11. Kumar, Ann (2012). 'Dominion Over Palm and Pine: Early Indonesia’s Maritime Reach', in Geoff Wade (ed.), Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Past (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies), 101–122.
  12. Inglis 2014, p. 98-101.
  13. 13.0 13.1 Nugroho, Irawan Djoko (2011). Majapahit Peradaban Maritim. Suluh Nuswantara Bakti. ISBN 978-602-9346-00-8.
  14. Nugroho, Irawan Djoko (30 July 2018). "Replika Kapal Majapahit, Replika Untuk Menghancurkan Sejarah Bangsa – Nusantara Review". Nusantara Review. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  15. Haddon, A.C. (1920). The Outriggers of Indonesian Canoes. London, Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland.

ข่อมูล[แก้]

  • Beale, Philip (2006). "From Indonesia to Africa: Borobudur Ship Expedition". ZIFF Journal. 3: 17–24.
  • Hornell, James (1946). Water transport: Origins and early Evolution. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Inglis, Douglas Andrew (2014). The Borobudur Vessels in Context (วิทยานิพนธ์). Texas A&M University.
  • Pareanom, Yusi Avianto (2005). Cinnamon Route, The Samudraraksa Borobudur Expedition. Yogyakarta: PT Taman Wisata Candi Borobudur, Prambanan & Ratu Boko, Ministry of Culture and Tourism of Republic of Indonesia, Lontar Foundation. ISBN 978-979-8083-58-7.
  • Van Erp, Theodoor (1923). Voorstellingen van vaartuigen op de reliefs van den Boroboedoer. ’S-Gravenhage: Ādi-Poestaka.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "The Cinnamon Route (web archive link)". Borobudur Temple (within this section). Borobudur, Prambanan & Ratu Boko. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
  • "From Indonesia to Africa - Borobudur Ship Expedition." Philip Beale. 2006.pdf [1] Retrieved 3 November 2015