ข้ามไปเนื้อหา

เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรลิกจาก
มงกุฎหนาม
ที่ปิดเปิดจากกล่องที่บรรจุหินจากที่บรรจุพระศพของพระเยซู

เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล (อังกฤษ: Relics of Sainte-Chapelle) คือเรลิกที่เป็นของพระเยซูที่ได้มาโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในยุคกลางที่ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอัครมุขมณฑลปารีส เดิมเรลิกหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่ในปัจจุบันเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

ประวัติ

[แก้]

สมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้น

[แก้]

นักบุญหลุยส์หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงสร้างแซ็งต์-ชาแปลขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษา "มงกุฎศักดิ์สิทธิ์", ชิ้นส่วนจากกางเขนแท้ (True Cross) และเรลิกอื่นๆ ที่ทรงซื้อจากบอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งทำให้ชาเปลที่สถานที่สำคัญในการเก็บรักษาเรลิกต่างๆ ที่รวมทั้งเรลิกของพระแม่มารีย์, หอกศักดิ์สิทธิ์, ฟองน้ำศักดิ์สิทธิ์ และภาพเอเดสซา (Image of Edessa) ที่เชื่อกันว่าเป็นภาพของพระเยซู[1] เมื่อมาถึงสมัยใหม่ตอนต้นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้เงินในท้องพระคลังจนแทบไม่เหลือหรอ ซึ่งทำให้ต้องขายเพชรพลอย หลอมทองเพื่อใช้ในการบำรุงกองทัพ และใช้ทรัพย์สมบัติทางศาสนาเป็นทุนสำรองในยามที่ต้องการเงิน ซึ่งเมื่อมาถึงสมัยพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรัพย์สมบัติของชาเปลก็เหลือเพียงเท่าที่มีอยู่เมื่อมาถึงสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติและปัจจุบัน

[แก้]

การปฏิวัติหมายถึงการยุติความจำเป็นในการการรักษาเรลิก และสิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เรลิกเหล่านี้ถูกมอบให้อาร์ชบิชอปแห่งปารีสในปี ค.ศ. 1804 และยังคงเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส โดยมีอัศวินคณะพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ (Order of the Holy Sepulchre) เป็นผู้ดูแลรักษา ทุกวันพุธแรกของเดือนก็จะมีการนำออกมาให้สักการะที่แท่นบูชาเอก ยกเว้นในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ที่อนุญาตให้ทำการสักการะได้ตลอดวัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jannic Durand, "Les reliques de Constantinople", in Dossier d'archéologie, Faton, vol. 264 « La Sainte Chapelle », juin 2001, p. 60-65 (ISSN 1141-7137) (ฝรั่งเศส)
  • Jannic Durand, Le trésor de la Sainte Chapelle, Réunion des musées nationaux, Paris, 2001

ดูเพิ่ม

[แก้]