เปโกรีโน
เปโกรีโน | |
---|---|
ประเทศถิ่นกำเนิด | ประเทศอิตาลี |
นม | แกะ |
เนื้อสัมผัส | แข็ง |
สื่อที่เกี่ยวข้องที่คอมมอนส์ |
เปโกรีโน (อิตาลี: Pecorino) เป็นชีสอิตาลีผลิตจากนมแกะ คำว่า pecorino แผลงมาจากคำในภาษาอิตาลีว่า pecora ซึ่งแปลว่า "แกะ"[1]
เปโกรีโนมีหกชนิดหลัก ทั้งหมดได้รับสถานะชื่อแหล่งกำเนิดที่ได้รับความคุ้มครอง (พีดีโอ) ภายใต้กฎหมายสหภาพยุโรป โดยมีเปโกรีโนโรมาโนซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปนอกอิตาลี[2] เปโกรีโนส่วนใหญ่ผลิตในซาร์ดิเนีย ในขณะเดียวกันก็สามารถผลิตได้ในแถบลัตซีโยและตอสคานา ปรากฏหลักฐานการผลิตเปโกรีโนมาตั้งแต่ยุคโรมันโบราณ[3]
ชีสเปโกรีโนที่ได้รับสถานะพีดีโออีกห้าชนิดที่เหลือได้แก่ เปโกรีโนซาร์โด (กาซูแบร์เบกีนู ในภาษาซาร์ดิเนีย) จากซาร์ดิเนีย; เปโกรีโนตอสกาโน;[4] เปโกรีโนซีชีลีอาโน (ปีกูรีนูซีชีลียานู ในภาษาซิซิลี) จากซิซิลี; เปโกรีโนดีฟีลีอาโนจากบาซีลีคาตา;[5] และเปโกรีโนโกรโตเนเซจากโกรโตเนในคาลาเบรีย[6] นอกจากนี้ยังมีเปโกรีโนจากอาบรุซโซ ที่ชื่อว่า เปโกรีโนดีอาตรี[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ pecorino, n. OED Online. December 2013. Oxford University Press. Accessed 7 January 2014.
- ↑ Export statistics เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from the producers’ consortium
- ↑ Italian Pecorino and Ancient Roman
- ↑ Pecorino Toscano Consortium for the Protection of Tuscan Pecorino (in Italian)
- ↑ "Guide to PDO and PGI products: Pecorino of Filiano". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
- ↑ "Page not found - Guffanti formaggi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ Barberis, Corrado (2010). Mangitalia: la storia d'Italia servita in tavola (ภาษาอิตาลี). Donzelli Editore. p. 194. ISBN 978-88-6036-449-4.
- ↑ Cremona, Luigi; Soletti, Francesco (2002). L'Italia dei formaggi (ภาษาอิตาลี). Touring Editore. p. 97. ISBN 978-88-365-2727-4.