เบคิไลต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบคิไลต์
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [9003-35-4]
SMILES
 
ChemSpider ID none
คุณสมบัติ
สูตรเคมี (C6H6O·CH2O)n
มวลต่อหนึ่งโมล Variable
ลักษณะทางกายภาพ Brown solid
ความหนาแน่น 1.3 g/cm3[1]
การนำความร้อน 0.2 W/(m·K)[1]
ดัชนีหักเหแสง (nD) 1.63[2]
อุณหเคมี
ความจุความร้อนจำเพาะ 0.92 kJ/(kg·K)[1]
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

เบคิไลต์ (อังกฤษ: Bakelite) เป็นชื่อทางการค้าของฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน หรือมักจะเรียกกันว่าฟินอลิก เป็นพลาสติกเทอร์โมเซตติง ฟินอลิกทนความร้อนในสภาวะปกติประมาณ 160-180 องศาฟาเรนไฮต์ หากผสมวัตถุทนความร้อนบางชนิดจะสามารถทนความร้อนได้ถึง 400 องศาฟาเรนไฮต์ ฟินอลิกเป็นตัวนำความร้อนที่เลว ติดไฟได้แต่ช้าและดับเองจึงมักนิยมใช้ทำมือจับสำหรับอุปกรณ์สำหรับเครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้า ฝาครอบจานจ่ายรถยนต์ ถาดบรรจุสารเคมี ตู้โทรทัศน์ ที่รองนั่งโถส้วม นอกจากนี้ฟินอลิกยังสามารถทำเป็นโฟมได้อีกด้วย ซึ่งโฟมที่ผลิตจากฟินอลิกนี้สามารถขยายตัวได้ถึง 300 เท่า โฟมฟินอลิกนิยมทำเป็นทุ่นลอยน้ำและใช้เสริมความแข็งแรงในเครื่องบิน

ในปี ค.ศ. 1907 เลโอ บาเกอลันด์ (Leo Baekeland) ได้ประสบความสำเร็จในการทำพอลิเมอร์สังเคราะห์ (พลาสติก) ชนิดแรก บาเกอลันด์เป็นนักเคมีผู้ถือกำเนิดในประเทศเบลเยียม และต่อมาได้เดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ขณะอายุเพียง 21 ปีเท่านั้น การค้นพบของบาเกอลันด์กระตุ้นให้เกิดการผลิตพลาสติกตลอดจนการเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกชนิดอื่น ๆ มาจนปัจจุบัน

พอลิเมอร์สังเคราะห์[แก้]

บาเกอลันด์พบว่าเมื่อผสมฟีนอล (phenol) กับฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เข้าด้วยกัน แล้วให้ความร้อน และกลั่นเอาน้ำออกโดยกระบวนการควบแน่น (condensation) จะได้สารเหนียว ๆ ที่เมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงแล้วจะแข็งตัวเป็นวัสดุที่มีสมบัติเหมาะอย่างยิ่งในการใช้เป็นวัสดุฉนวนหุ้มสายไฟ ต่อมาพอลิเมอร์ชนิดนี้ถูกเรียกว่า "เบคิไลต์" (Bakelite) ตามชื่อของบาเกอลันด์ หรือฟินอลิกเรซิน (phenolic resin) ตามชื่อของมอนอเมอร์ที่ใช้ (ฟีนอลและฟอร์มาลดีไฮด์)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Laughton M A; Say M G (2013). Electrical Engineer's Reference Book. Elsevier. p. 1.21. ISBN 978-1-4831-0263-4.
  2. Tickell, F. G. (2011). The techniques of sedimentary mineralogy. Elsevier. p. 57. ISBN 978-0-08-086914-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]