เนินเขา 262

พิกัด: 48°50′31″N 0°9′29″E / 48.84194°N 0.15806°E / 48.84194; 0.15806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เนินเขา 262
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการแทร็กทาเบิล

ทหารราบโปแลนด์ได้เคลื่อนตัวเข้าที่กำบังบนเมาท์ โอเมล, 20 สิงหาคม ค.ศ. 1944
วันที่19–21 สิงหาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
เมาท์ โอเมล, ทางตอนเหนือของช็องบัวก์
48°50′31″N 0°9′29″E / 48.84194°N 0.15806°E / 48.84194; 0.15806
ผล โปแลนด์ชนะ[1][2]
คู่สงคราม
โปแลนด์ โปแลนด์ เยอรมนี เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โปแลนด์ Stanisław Maczek เยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
กำลัง
1,500 infantry[3]
~80 tanks[3]
remnants of around 20 infantry and Panzer divisions[nb 1]
ความสูญเสีย
351 casualties[6][7]
11 tanks[6][7]
~1,500 casualties[nb 2]
แม่แบบ:Campaignbox Normandy

เนินเขา 262 หรือ สันเขา เมาท์ โอเมล (ระดับความสูง 262 เมตร (860 ฟุต)) เป็นพื้นที่สูงเหนือหมู่บ้าน Coudehard ในนอร์ม็องดี นั่นคือที่ตั้งของการสู้รบที่นองเลือกในช่วงสุดท้ายของยุทธการที่ฟาเลส์ในการทัพนอร์ม็องดีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1944 กลุ่มขนาดใหญ่ของกองทัพเยอรมันสองกลุ่มได้ถูกโอบล้อมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้กับเมืองฟาเลส์ สันเขา เมาท์ โอเมล ด้วยมุมมองบัญชาการของพื้นที่ เส้นทางของภูเขาลูกนี้คือเส้นทางหนีเพียงทางเดียวที่ยังเปิดโอกาสให้กับเยอรมันอยู่ กองกำลังโปแลนด์ได้เข้ายึดภูเขาทางตอนเหนือของสันเขา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมและยึดครองไว้ได้จนถึงช่วงเที่ยงของวันที่ 21 สิงหาคม แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างแน่วแน่โดยหน่วยทหารเยอรมันในการเข้ายึดครองตำแหน่ง ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร

ด้วยความสำเร็จของปฏิบัติการคอบราซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีโอกาสในการริดรอนและทำลายกองทัพเยอรมันส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำแซน กองทัพบริติซ และแคนาดาได้รวมตัวกันในพื้นที่บริเวณรอบๆ เมืองฟาเลส์ ในการดักจับกองทัพเยอรมันที่ 7 และส่วนหนึ่งของกองทัพยานเกราะที่ 5 ในสิ่งที่เรียกว่า ฟาเลส์พ็อกเก็ต เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม จอมพลไรช์ วัลเทอร์ โมเดิล ได้ออกคำสั่งให้ถอนกำลัง แต่ในช่วงเวลานี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการปิดกั้นเส้นทางที่เขาจะผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในช่วงคืนของวันที่ 19 สิงหาคม สองกลุ่มรบของกองพลยานเกราะที่ 1 (พลตรี Stanisław Maczek) ได้ตั้งตัวอยู่ที่ปากทางของวงล้อมฟาเลส์จากบนและรอบๆ เหนือสุดของยอดเขาสองลูกของสันเขา เมาท์ โอเมล

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ด้วยกองกำลังของเขาถูกโอบล้อม โมเดิลได้สั่งให้กองกำลังให้เข้าโจมตีตำแหน่งของโปแลนด์จากทั้งสองข้างของปากวงล้อม เยอรมันสามารถทำการแยกสันเขาและบังคับให้เปิดเส้นทางที่แคบๆ ด้วยขาดกำลังใจในการสู้รบเพื่อปิดเส้นทาง พวกโปแลนด์จึงได้ออกคำสั่งให้ทำการระดมยิงปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องและแม่นยำเข้าใส่หน่วยทหารเยอรมันที่กำลังจะล่าถอยออกจากวงล้อม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างหนัก เยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีอย่างดุเดือดตลอดทั้งวันของวันที่ 20 สิงหาคม ซึ่งสร้างความสูญเสียให้กับโปแลนด์บนเนินเขา 262 ด้วยกระสุนที่ร่อยหรอและการต่อสู้รบได้แค่เพียงมือเปล่าเท่านั้น ชาวโปแลนด์สามารถตั้งหลักบนสันเขาไว้ได้ ในวันต่อมา การโจมตีที่รุนแรงได้น้อยลงยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเที่ยงวัน เมื่อความพยายามครั้งสุดท้ายของเยอรมันในการเข้ายึดครองตำแหน่งซึ่งได้พ่ายแพ้ในหนึ่งในส่วนสี่ของการปิดล้อม ทหารโปลแลนด์ได้ถูกช่วยเหลือโดยหน่วยทหารเกรนาเดียร์การ์ดแคนนาดาในเวลาไม่นานหลังตอนบ่าย จุดยืนของพวกเขาได้ทำให้มั่นใจได้แล้วว่า วงล้อมฟาเลส์ได้ถูกปิดอย่างสมบูรณ์ และการล่มสลายของตำแหน่งของเยอรมันในนอร์ม็องดี

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Williams204
  2. Hastings (2006), p. 306
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds200287
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hastings303
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McGilvray41
  6. 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McGilvray54
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds2001280


  1. Among others these included the 1st SS, 2nd SS, 9th SS, 10th SS, 12th SS, 2nd and 116th Panzer Divisions, and the 3rd Parachute, 84th, 276th, 277th, 326th, 353rd and 363rd Infantry Divisions.[4][5]
  2. According to McGilvray, around 500 dead and 1,000 captured.[6]