ทิวเขาพะโค

พิกัด: 20°55.3′N 95°14.9′E / 20.9217°N 95.2483°E / 20.9217; 95.2483
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทือกเขาพะโค)
ทิวเขาพะโค
ပဲခူးရိုးမ
ทิวเขาพะโคตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ทิวเขาพะโค
แผนที่จุดที่ตั้งในประเทศพม่า
จุดสูงสุด
ยอดเขาโปะป้า
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,518 เมตร (4,980 ฟุต)
พิกัด20°55′27″N 95°15′02″E / 20.92417°N 95.25056°E / 20.92417; 95.25056
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว475 กิโลเมตร (295 ไมล์)
เหนือ-ใต้
กว้าง60 กิโลเมตร (37 ไมล์)
ตะวันออก-ตะวันตก
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศพม่า
พิกัดเทือกเขา20°55.3′N 95°14.9′E / 20.9217°N 95.2483°E / 20.9217; 95.2483

ทิวเขาพะโค (พม่า: ပဲခူးရိုးမ) เป็นช่วงของทิวเขา เนินเขาเตี้ย ๆ[1] และพื้นที่สูง[2] ระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำสะโตงในภาคกลางของพม่า แนวทิวเขาลากยาวจากเขาโปะป้าทางตอนเหนือ สู่เนินเขาสิงคุตตระ (เชียงกุตระ) ทางตอนใต้ ทั้งแม่น้ำพะโคและแม่น้ำสะโตง ล้วนมีต้นกำเนิดจากทิวเขาพะโค

จุดสูงสุด[แก้]

ยอดเขาที่สูงสุดคือเขาโปะป้า สูง 1,518 เมตร (4,980 ฟุต) เป็นภูเขาไฟทรงกรวยสลับชั้น[3] และยอดเขาเด่นอื่นๆ เช่น บินโฮนตอง (Binhontaung) สูง 2,003 ฟุต (611 เมตร)[4] โกดิตอง (Kodittaung) สูง 1,885 ฟุต (575 เมตร)[4] โพอูตอง (Phoe-Oo Taung)[3] และเนินเขาสิงคุตตระ (เชียงกุตระ)[3]

ธรณีวิทยา[แก้]

ทิวเขาพะโคเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีในยุคพาลีโอจีน ทำให้มีชั้นตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) ประสมกับหินและเถ้าจากภูเขาไฟ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง

ประวัติ[แก้]

เจดีย์ชเวดากอง ถูกสร้างขึ้นกว่าพันปีก่อนบริเวณเนินเขาสิงคุตตระ (เชียงกุตระ)

ทิวเขาพะโค เมื่อปี ค.ศ. 1930-1931 เป็นสถานที่เดิมของซะยาซาน ในการต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ซะยาซานยกธงประกาศความเป็นอิสระบริเวณเนินเขาอลันตองใกล้เมืองสารวดี[5]

ต่อมาในช่วงหลังทิวเขาพะโคกลายเป็นศูนย์กลางของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า[6]

นิเวศวิทยา[แก้]

ทางตอนเหนือสุดของทิวเขาพะโคเป็นเขตแห้งแล้งของพม่า ขณะที่ทางใต้มีฝนตกได้มากกว่า 80 นิ้วต่อปี[7] เนินเขาในทิวเขาพะโคเดิมทีเป็นป่าทึบมีไม้สักและไม้เนื้อแข็งที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์[1][7] ทางตอนใต้คือป่าไม้เนื้อแข็ง ขณะที่ตอนกลางและตอนเหนือเป็นป่าที่มีไม้สัก[8] การตัดไม้ทำลายป่าอย่างแพร่หลายทำให้ปัจจุบันพื้นที่ป่ามีขนาดลดลง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Seekins, Donald M. (2006) Historical dictionary of Burma (Myanmar) Scarecrow Press, Lanham, Maryland, page 357, ISBN 0-8108-5476-7
  2. Seekins, Donald M. (2006) Historical dictionary of Burma (Myanmar) Scarecrow Press, Lanham, Maryland, page 191, ISBN 0-8108-5476-7
  3. 3.0 3.1 3.2 Moore, Elizabeth H. (2007) Early landscapes of Myanmar River Books, Bangkok, page 44, ISBN 974-9863-31-3
  4. 4.0 4.1 topographic map, 1:250,000 Thayetmyo, Burma, NE 46-4, Series U542, United States Army Map Service, October 1959
  5. Ghosh, Parimal (2000) Brave men of the hills: resistance and rebellion in Burma, 1825-1932 University of Hawai'i Press, Honolulu, Hawaii, page 174, ISBN 0-8248-2207-2
  6. Seekins, Donald M. (2006) Historical dictionary of Burma (Myanmar) Scarecrow Press, Lanham, Maryland, page 151, ISBN 0-8108-5476-7
  7. 7.0 7.1 Stamp, L. Dudley (1930) "Burma: An Undeveloped Monsoon Country" Geographical Review 20(1): pp.86-109, page 105
  8. de Terra, Hellmut (1944) "Component Geographic Factors of the Natural Regions of Burma" Annals of the Association of American Geographers 34(2): pp. 67-96, page 82