ข้ามไปเนื้อหา

เทียร์พาร์คฮาเกินเบ็ค

พิกัด: 53°35′47″N 9°56′16″E / 53.59639°N 9.93778°E / 53.59639; 9.93778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียร์พาร์คฮาเกินเบ็ค
สวนสัตว์ฮาเกินเบ็ค
ทางเข้าหลัก, ศูนย์จัดแสดงสัตว์น้ำ และหอคอยเจดีย์เนปาล
ศาลาไทย ผลงานออกแบบโดย ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติของไทย
แผนที่
53°35′47″N 9°56′16″E / 53.59639°N 9.93778°E / 53.59639; 9.93778
วันที่เปิด7 พฤษภาคม 1907
ที่ตั้งเลขที่ 2 ถนนโลคชเทดแทร์เกรินซ์ชตรัสเซอ (Lokstedter Grenzstraße)
22527 ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี
พื้นที่25 ha (62 เอเคอร์)
จำนวนสัตว์14.300
จำนวนสปีชีส์530
เจ้าของTierpark Hagenbeck GmbH
ขนส่งมวลชนข้อผิดพลาด Lua ใน package.lua บรรทัดที่ 80: module 'Module:Adjacent stations/Hamburg U-Bahn' not found Hagenbecks Tierpark
เว็บไซต์www.hagenbeck.de

เทียร์พาร์คฮาเกินเบ็ค (เยอรมัน: Tierpark Hagenbeck; สวนสัตว์ฮาเกินเบ็ค) เป็นสวนสัตว์ในชเทลลิงเงิน นครฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เริ่มต้นเก็บสะสมของจัดแสดงตั้งแต่ปี 1863 โดยเป็นสัตว์ของคาร์ล ฮาเกินเบ็ค ผู้พี่ (Carl Hagenbeck Sr., 1810–1887) ชาวประมงที่ต่อมาผันตัวเป็นนักเก็บสะสมสัตว์มือสมัครเล่น สวนก่อตั้งขึ้นโดยคาร์ล ฮาเกินเบ็ค ผู้น้อง ในปี 1907 สวนสัตว์นี้เป็นที่รู้จักในฐานะสวนสัตว์แรกของโลกที่ใช้คูน้ำกั้นส่วนจัดแสดงของสัตว์แทนที่การใช้กรงขัง[1]

นับตั้งแต่ปี 1863 ฮาเกินเบ็คผู้พี่ได้เริ่มเก็บสะสมสัตว์แปลกที่เดินทางขนส่งผ่านทางท่าเรือฮัมบวร์ค ในทศวรรษ 1870s เป็นต้นมา การค้าขายสะตว์แปลกเริ่มทำกำไรได้ดีกว่าอาชีพหลักในการจับปลา และทำให้เขากลายเป็นพ่อค้าสัตว์แปลกคนที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของทวีปยุโรป[2] ในปี 1874 ฮาเกินเบ็คผู้น้องได้เดินทางรอบโลกเพื่อเก็บสะสมสัตว์ และมนุษย์เพื่อจัดแสดงสวนสัตว์มนุษย์[3] นอกจากนี้เขายังตัดสินใจจัดแสดงมนุษย์ชาวซามัว และ ชาวซามี ในฐานะประชากรที่ "เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง" โดยส่วนจัดแสดงชาวซามีมีเต็นต์, อาวุธ และ เลื่อน พร้อมทั้งกวางเรนเดียร์มาให้ด้วย[4] ผลังสวนสัตว์ของเขาเปิดในฮัมบวร์คในปี 1874 เขายังคงเสาะหามนุษย์มาจัดแสดงในสวนของตนเอง ในปี 1876 เขาเริ่มนำชาวนูเบียมาจัดแสดง และยังส่งเอเยนต์ไปลาบราดอร์เพื่อจัดหาเอาชาวอินูอิตมาจากนิคาในเฮโบรน (ดูเพิ่มที่ อาบราฮัม อูลรีคับ) มาจัดแสดงในสวนสัตว์ที่ฮัมบวร์ค[4][5]

ภายหลังการจัดแสดงมนุษย์ในสวนสัตว์ของเขาเสื่อมความนิยมลง ฮาเกินเบ็คเริ่มเปลี่ยนมาหาทางจัดแสดงสัตว์ในสวนให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น เทคนิกต่าง ๆ ที่เขานำมาใช้มีผลอย่างมากต่อลักษณะของสวนสัตว์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การจัดแสดงโดยใช้คูน้ำกั้นแทนกรงล้อมรอบสัตว์ที่จัดแสดง และการใช้การจัดแสดงแบบเป็นพาโนรามาซึ่งเขาจดลิขสิทธิ์[6]

ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ

[แก้]

ภายในสวนเป็นที่ตั้งของ ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ ฮัมบวร์ค หรือ ศาลาไทย ผลงานออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ ภิญโญ สุวรรณคีรี โดยศาลานี้เป็นศาลาไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป สร้างขึ้นในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (ครบ 72 พรรษา) ปี พ.ศ. 2542 และเพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใช้การก่อสร้างด้วยการสลักไม้เข้าด้วยกันโดยไม่ใช้ตะปู การก่อสร้างกินเวลา 5 เดือนในประเทศไทย ก่อนแยกชิ้นส่วนไปประกอบในเยอรมนีในเวลา 2 เดือน โดยใช้ช่างจากไทยรวม 20 คน[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rene S. Ebersole (November 2001). "The New Zoo". Audubon Magazine. National Audubon Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-06. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  2. Rothfels 2002, pp. 6–8
  3. "Carl Hagenbeck: The inventor of the modern animal park". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-06-11. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.
  4. 4.0 4.1 Human Zoos, by Nicolas Bancel, Pascal Blanchard and Sandrine Lemaire, in Le Monde diplomatique, August 2000 (ในภาษาอังกฤษ) French - free
  5. Kisling 2000, pp. 102
  6. Rothfels 2002, pp. 143–45
  7. "ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ ณ เมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี". ภิญโญ สุวรรณคีรี.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Kisling, Vernon L. (2000), Zoo and Aquarium History: Ancient Animal Collections To Zoological Gardens, CRC, ISBN 0-8493-2100-X
  • Rothfels, Nigel (2002), Savages and Beasts: The Birth of the Modern Zoo, Johns Hopkins University Press, ISBN 0-8018-6910-2 excerpt

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]