เทศกาลบง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลบง
เทศกาลบงในยุคเอโดะ
ชื่ออื่นโอะบง
จัดขึ้นโดยญี่ปุ่น
ประเภทศาสนา, วัฒนธรรม
ความสำคัญเคารพวิญญาณบรรพบุรุษ
วันที่15 สิงหาคม
15 กรกฎาคม (ภูมิภาคคันโต)
ส่วนเกี่ยวข้องวันสารทจีน (จีน)
เต๊ดจุงเงวียน (เวียดนาม)
แพ็กจุง (เกาหลี)
Pchum Ben (กัมพูชา)
บุญข้าวประดับดิน (ลาว)
Mataka dānēs (ศรีลังกา)
ประเพณีสารทเดือนสิบ (ไทย)

บง หรือ เทศกาลบง (ญี่ปุ่น: お盆โรมาจิObon; ชาวญี่ปุ่นนิยมออกเสียง โอะบง) เป็นประเพณีของชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13–15 สิงหาคม ยกเว้นในภูมิภาคคันโต จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 13–16 กรกฎาคม โดยที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าช่วงเวลาดังกล่าวบรรดาวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับมาจากนรกภูมิ และจะมีการจุดไฟรอรับที่หน้าบ้าน จัดสำรับอาหารเลี้ยง การละเล่น ในวันสุดท้ายของเทศกาลจะมีการจุดไฟเพื่อส่งวิญญาณกลับ[1]

ประวัติ[แก้]

ในสมัยพุทธกาล พระโมะกุเร็ง หรือพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพระผู้ยิ่งใหญ่เหนือใครในโลก เป็นผู้กำพร้ามารดา ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุ และฝึกสมาธิตนเองจนสามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ ครั้นได้ท่องไปในเมืองนรกได้พบกับมารดาของตนเอง กำลังตกระกำลำบากต้องอด ๆ อยาก ๆ น่าเวทนา เมื่อพระโมะกุเร็งมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้เล่าเรื่องราวที่ได้พบมารดาของตนให้แก่พระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ชี้ทางช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของมารดา เมื่อได้ฟังเรื่องราวพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่พระโมะกุเร็งว่า ดูกรโมะกุเร็ง ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่างเดียว จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่น ๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อน ๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วย

เรื่องราวของพระโมะกุเร็งทำให้เกิดประเพณีบงขึ้นในวัฒนธรรมญี่ปุ่น อันมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่จะปฏิบัติต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว คือ ต้อนรับ กินอาหาร พักผ่อน และส่งกลับ ในการต้อนรับดวงวิญญาณอาจแตกต่างกันในแต่ละครอบครัวเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ท่าน้ำ หน้าบ้าน หรือไปรับที่สุสาน

อ้างอิง[แก้]

(video) Obon Matsuri Tokyo (2014)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทศกาลบง