เทคบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทคบอล
การฟาดลูกบอลของทีมชาติไทย
สมาพันธ์สูงสุดสมาพันธ์เทคบอลนานาชาติ
เล่นครั้งแรก2014; 10 ปีที่แล้ว (2014)
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่มี
ผู้เล่นในทีมเดี่ยว คู่ คู่ผสม
หมวดหมู่ในร่ม กลางแจ้ง ชายหาด
อุปกรณ์ลูกฟุตบอล โต๊ะเทคบอล

เทคบอล (อังกฤษ: Teqball)[1] เป็นกีฬาที่ผสมองค์ประกอบของเซปักตะกร้อและเทเบิลเทนนิสเข้าด้วยกัน เทคบอลใช้ลูกบอลเล่นบนโต๊ะทรงโค้ง ผู้เล่นใช้ร่างกายได้ทุกส่วน ยกเว้นแขนและมือ ส่งลูกฟุตบอลข้ามโต๊ะกันไปมาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด อาจเล่นสองคนในการแข่งขันเดี่ยว หรือเล่นสี่คนในการแข่งขันคู่ สหพันธ์เทคบอลนานาชาติ (International Federation of Teqball, FITEQ) นำกีฬานี้ขึ้นสู่ระดับนานาชาติ นักฟุตบอลระดับโลกหลายคนให้ความสนใจเทคบอล และหลังจากกีฬานี้ได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาใช้แข่งขันในเอเชียนบีชเกมส์ 2023 และยูโรเปียนเกมส์ 2023 สมาพันธ์เทคบอลนานาชาติพยายามทำให้กีฬานี้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาในโอลิมปิก[2][3][4]

เทคบอลเป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับเร็วที่สุดของโลกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 เมื่อสมาพันธ์เทคบอลนานาชาติได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 สมาพันธ์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยสมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา[5]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 สมาพันธ์เทคบอลนานาชาติได้เป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวของสมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ (GAISF)[6]

ประวัติ[แก้]

เทคบอลถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 2012 โดยนักกีฬาฟุตบอลในฮังการีสามคนได้แก่ Gábor Borsányi (อดีตนักกีฬาอาชีพ), György Gattyán (นักธุรกิจชาวฮังการี) และ Viktor Huszár (นักคอมพิวเตอร์)[7][8] ความคิดในการสร้างกีฬาใหม่ขึ้นมาจาก Gábor Borsányi ที่เคยเล่นฟุตบอลบนโต๊ะเทเบิลเทนนิส โต๊ะแนวนอนทำให้ลูกบอลมักไม่ทำให้ลูกบอลเด้งไปหาอีกผู้เล่นหนึ่ง ทำให้เกมนี้ไม่มีความสนุกมากเท่าที่ควร Borsányi คิดว่าหากทำให้โต๊ะเป็นทรงโค้ง พื้นผิวลักษณะคล้ายช่องโค้งอาจช่วยให้ลูกบอลกระดอนไปถึงเท้า หลังจากการพัฒนาหลายปีด้วยกันกับ Viktor Huszár โต๊ะเทคบอลถูกสร้างขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 2014[9]

กฎและกติกา[แก้]

โต๊ะเทค
สนามเทคบอลมองจากมุมสูง

กฎการเล่นเทคบอลออกโดยสมาพันธ์เทคบอลนานาชาติ[10]

สรุป[แก้]

  • เทคบอลสามารถเล่นด้วยลูกบอลที่ใช้ในฟุตบอลขนาด 5 ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการและสมาพันธ์แนะนำให้ใช้
  • เทคบอลสามารถเล่นโดยใช้ผู้เล่น 2 คน (เกมเดี่ยว) หรือ ผู้เล่น 4 คน (เกมคู่)
  • ผู้เล่นหรือทีมของผู้เล่นต้องชนะ 2 เซ็ต จาก 3 เซ็ต เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน
  • ในแต่ละเซ็ต ผู้เล่นหรือทีมของผู้เล่นต้องทำคะแนนถึง 12 แต้ม เพื่อชนะในเซ็ตนั้น
  • ผู้เล่นหรือทีมของผู้เล่นมีโอกาสเสิร์ฟลูกบอลให้สำเร็จได้ 2 ครั้ง
  • ผู้เล่นหรือทีมของผู้เล่นเปลี่ยนฝ่ายในการเสิร์ฟลูกบอลทุก ๆ 4 แต้ม
  • ห้ามไม่ให้ส่วนเดิมของร่ายกายสัมผัสกับลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกัน (ไม่ซ้ำทักษะเดียวกัน)
  • ห้ามไม่ให้ส่วนเดิมของร่างกายส่งลูกบอลกลับ 2 ครั้ง ติดต่อกัน (ไม่ซ้ำทักษะเดียวกัน)
  • แต่ละผู้เล่นหรือทีมของผู้เล่นสามารถส่งลูกบอลกลับได้มากสุด 3 ครั้ง ไม่ว่าจะด้วยส่วนใดของร่างกาย ยกเว้นมือและแขน
  • ในการแข่งขันคู่ แต่ละทีมของผู้เล่นสามารถเลี้ยงลูกบอลด้วยการเดาะได้มากสุด 3 จังหวะ หากครบ 3 จังหวะแล้วไม่ส่งลูกบอลให้ฝ่ายตรงข้าม ผู้ครองลูกบอลต้องส่งลูกบอลให้แก่สมาชิกทีมอีกคน
  • ขณะเล่น ไม่สามารถจับโต๊ะหรือฝ่ายตรงข้ามได้
  • ในกรณีที่ลูกบอลตกลงบนขอบโต๊ะ (edgeball) ให้เล่นใหม่อีกครั้งในคะแนนนั้น

สนามเล่น[แก้]

สนามเทคบอลขนาดใช้แข่งขันอย่างเป็นทางการต้องกว้างอย่างน้อย 12 เมตร (39 ฟุต) คูณ ยาวอย่างน้อย 16 เมตร (52 ฟุต) คูณ สูงอย่างน้อย 7 เมตร (23 ฟุต) สนามต้องเป็นทรงสี่เหลี่ยมและมีป้ายล้อมสนาม (court surround) ยาวไม่น้อยกว่า 500 มิลลิเมตร (20 นิ้ว) สูงไม่เกิน 1,500 มิลลิเมตร (59 นิ้ว) โต๊ะเทคอยู่กึ่งกลางสนามพอดีโดยมีตาต่ายขนานกับด้านที่สั้นกว่าของความยาวรอบรูป

โต๊ะเทค[แก้]

โต๊ะทรงโค้งมีความยาว 3 เมตร (9.8 ฟุต) และกว้าง 1.7 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว) โดยมีการขึงตาข่ายความสูง 14 เซนติเมตร (0.46 ฟุต) แบ่งพื้นผิวโต๊ะออกเป็นสองฝั่ง มุมด้านนอก 2 มุมของความกว้างอยู่เหนือพื้น 56.5 เซนติเมตร (1.85 ฟุต)[11]

ลูกบอล[แก้]

ลูกบอลเป็นทรงกลมและต้องทำมาจากหนังหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมและมียางในลาเท็กซ์ที่มีวาล์วบิวทิล มีขนาดเหมือนลูกบอลปกติที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอล (ขนาด 5) ซึ่งมีแรงกดดันน้อยกว่าลูกฟุตบอลธรรมดา

อันดับโลก[แก้]

สมาพันธ์เทคบอลนานาชาติมีการจัดอันดับโลกในการแข่งขันเดี่ยว การแข่งขันคู่ และการแข่งขันคู่ผสม โดยอิงจากคะแนนอันดับโลกที่ได้รับจากการแข่งขันอย่างเป็นทางการของสมาพันธ์[12]

ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
อันดับ เดี่ยว[13] คะแนน
1. ฮังการี Ádám Blázsovics 41977
2. โรมาเนีย Györgydeák Apor 38693
3. ฝรั่งเศส Julien Grondin 26696
4. ฮังการี Anna Izsák 20719
5. ฮังการี Csaba Bányik 15798
6. โปแลนด์ Adrian Duszak 15660
7. โปแลนด์ Paulina Łeżak 11912
8. เซอร์เบีย Bogdan Marojević 10380
9. ฝรั่งเศส Hugo Rabeux 10358
10. ฮังการี Balázs Katz 10192
อันดับ คู่[14] คะแนน
1. ฮังการี Csaba Bányik 42575
2. ฮังการี Ádám Blázsovics 42049
3. เซอร์เบีย Nikola Mitro 40072
4. โรมาเนีย Szabolcs Ilyés 38634
5. เซอร์เบีย Bogdan Marojević 38632
6. สหรัฐ Dennis Correia 38530
7. โรมาเนีย Apor Györgydeák 37772
8. สหรัฐ Luka Pilic 37477
9. ฝรั่งเศส Hugo Rabeux 28877
10. ฝรั่งเศส Julien Grondin 28877
อันดับ คู่ผสม[15] คะแนน
1. ฮังการี Csaba Bányik 32018
1. ฮังการี Zsanett Janicsek 32018
3. บราซิล Vania Moraes da Cruz 17008
3. บราซิล Leonardo Lindoso de Almeida 17008
5. เซอร์เบีย Nikola Mitro 15372
5. เซอร์เบีย Maja Umićević 15372
7. โรมาเนีย Apor Györgydeák 13944
8. บราซิล Vania Moraes da Cruz 12792
8. บราซิล Leonardo Lindoso de Almeida 8268
10. โรมาเนีย Tünde Miklós 8268

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย". สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-12-20.
  2. Aloia, Andrew (9 October 2018). "Fiteq World Cup: England call up football freestyler who did not know teqball existed". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  3. "WATCH: Neymar and fellow Brazil stars play Teqball". Sky Sports. 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  4. "Teqball". Teqball. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  5. "FITEQ Granted GAISF Observer Status". GAISF. 14 January 2021.
  6. "FITEQ approved as full GAISF member". FITEQ.
  7. Stuhl, Angelise Stuhl (25 May 2015). "Teqball Is A New Tabletop Sport That Allows Soccer Players To Perfect Their Skills". SportTechie. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  8. "Teqball: The Hungarian, Football-Ping Pong Hybrid Sweeping the World Cup". Hungary Today. 15 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  9. "Teqball". Teqball. 1 February 2021.
  10. "The Official Rules and Regulations of Teqball". fiteq.org.
  11. "Teqball Table | Signs and Features | Free Sport Parks Map". Free Sport Parks. สืบค้นเมื่อ 2020-03-11.
  12. "World Rankings".
  13. "Singles world ranking". FITEQ.
  14. "Doubles world ranking". FITEQ.
  15. "Mixed doubles world ranking". FITEQ.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]