เดียโบล III
เดียโบล III | |
---|---|
ภาพปก | |
ผู้พัฒนา | บลิซซาร์ดทีม 3[a] |
ผู้จัดจำหน่าย | บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
กำกับ | เจย์ วิลสัน |
อำนวยการผลิต | อเล็กซ์ เมย์เบอรี |
ออกแบบ |
|
โปรแกรมเมอร์ | เจสัน รีเจียร์ |
ศิลปิน | คริสเตียน ลิชต์เนอร์ |
เขียนบท | คริส เมตเซน |
แต่งเพลง | รัสเซล เบราเวอร์ เดริก ดุ๊ก เอโด กุยดอตตี ลอเรนซ์ จูเบอร์ โจเซฟ ลอว์เรนซ์ เกล็น สแตฟฟอร์ด |
ชุด | เดียโบล |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย |
|
แนว | แอ็กชันเล่นตามบทบาท, สับและเฉือน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
เดียโบล III (อังกฤษ: Diablo III) เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทแนวสับและเฉือนที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในฐานะภาคที่สามในแฟรนไชส์เดียโบล ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และโอเอสเท็นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012, เพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013, เพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ตลอดจนนินเท็นโด สวิตช์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น 20 ปีหลังจากเหตุการณ์ในเดียโบล II โดยผู้เล่นเลือกที่จะเล่นเป็นหนึ่งในเจ็ดคลาสตัวละคร ได้แก่ บาร์บาเรียน, ครูเซเดอร์, มังก์, เนโครแมนเซอร์, วิตช์ดอกเตอร์ หรือวิเซิร์ด และได้รับมอบหมายให้กำจัดเจ้าแห่งความกลัว ซึ่งคือเดียโบล เช่นเดียวกับเกมก่อนหน้าในซีรีส์
ส่วนภาคเสริมที่มีชื่อว่ารีเปอร์ออฟโซลส์ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับพีซีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งเปิดตัวสำหรับคอนโซลโดยเป็นส่วนหนึ่งของเวอร์ชันเดียโบล III: อัลทิเมตอีวิลเอดิชัน (อังกฤษ: Diablo III: Ultimate Evil Edition) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 และชุดไรส์ออฟเดอะเนโครแมนเซอร์ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับวินโดวส์, แมคโอเอส, เพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 นอกจากนี้ เดียโบล III: อีเทอร์เนิลคอลเลกชัน (อังกฤษ: Diablo III: Eternal Collection) ซึ่งเป็นการรวมภาครีเปอร์ออฟโซลส์และไรส์ออฟเดอะเนโครแมนเซอร์ ได้รับการวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 ตลอดจนสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018
เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก แม้ว่าคุณลักษณะออลเวส์-ออน ดีอาร์เอ็ม จะถูกติเตียนก็ตาม ซึ่งเกมดังกล่าวสร้างสถิติใหม่สำหรับ "เกมพีซีที่ขายได้เร็วที่สุด" โดยขายได้มากกว่า 3.5 ล้านชุดใน 24 ชั่วโมงแรกที่วางจำหน่าย และกลายเป็นเกมพีซีที่ขายดีที่สุดใน ค.ศ. 2012 ด้วยยอดขายกว่า 12 ล้านชุด รวมถึง ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 จำนวนยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 30 ล้านชุด ส่วนภาคต่ออย่างเดียโบล IV ได้รับการประกาศใน ค.ศ. 2019 และมีกำหนดเปิดตัวในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2023
รูปแบบการเล่น
[แก้]เช่นเดียวกับเดียโบล และเดียโบล II เดียโบล III เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีการต่อสู้แบบเรียลไทม์ที่รวดเร็วและเอนจินกราฟิกไอโซเมตริก เกมดังกล่าวใช้องค์ประกอบดาร์กแฟนตาซีแบบคลาสสิก และผู้เล่นสวมบทเป็นตัวละครฮีโรที่มีหน้าที่ปกป้องโลกแห่งแซงชัวรีจากกองกำลังแห่งขุมนรก เกมนี้มีองค์ประกอบเล่นตามบทบาทจำนวนมาก เช่น การเลือกคลาสตัวละคร, การเพิ่มประสบการณ์และการเพิ่มเลเวล ตลอดจนการได้รับอุปกรณ์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น
คุณภาพและคุณสมบัติของอุปกรณ์จะถูกสุ่ม นอกเหนือจากค่าสถิติพื้นฐาน (เช่น ความเสียหายและความเร็วในการโจมตีสำหรับอาวุธ หรือแต้มเกราะบนชุดเกราะ) ไอเทมคุณภาพสูงยังมีมีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น ความเสียหายพิเศษ, โบนัสคุณสมบัติ, โบนัสโอกาสการโจมตีแบบคริติคอล หรือเบ้า ซึ่งทำให้ไอเทมสามารถอัปเกรดได้ด้วยอัญมณี ไอเทมคุณภาพระดับเวทมนตร์มีคุณสมบัติแบบสุ่มถึงสามประการ, ไอเทมคุณภาพหายากมีถึงหกประการ และไอเทมคุณภาพระดับตำนานโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติได้ถึงแปดประการโดยมีระดับการสุ่มที่แตกต่างกันไป ส่วนเซ็ตไอเทมเป็นประเภทย่อยของไอเทมระดับตำนานซึ่งมอบโบนัสสะสมเพิ่มเติมหากติดตั้งไอเทมหลายชิ้นจากเซ็ตเดียวกันพร้อมกัน ทั้งนี้ มอนสเตอร์เลเวลสูงมักจะดรอปไอเทมระดับสูง ซึ่งมักจะมีค่าสถิติพื้นฐานและโบนัสสูงกว่า[2]
เอนจินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมเอาระบบฟิสิกส์ภายในแบบกำหนดเองของบริษัทบลิซซาร์ด และนำเสนอสภาพแวดล้อมที่ทำลายได้พร้อมเอฟเฟกต์ความเสียหายในเกม เหล่านักพัฒนาพยายามทำให้เกมนี้เลื่อนไหลในระบบที่หลากหลายโดยไม่ต้องใช้ไดเรกต์ 10[3] ซึ่งเดียโบล III ใช้เอนจินเกม 3 มิติแบบกำหนดเอง[4] เพื่อนำเสนอมุมมองเหนือศีรษะแก่ผู้เล่น ในลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายกับมุมมองไอโซเมตริกที่ใช้ในเกมภาคก่อนในซีรีส์นี้[3] ส่วนบรรดาศัตรูใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมแบบ 3 มิติ เช่น คลานขึ้นด้านข้างกำแพงจากด้านล่างเข้าสู่พื้นที่สู้รบ[5]
เกมแบบหลายผู้เล่นสามารถทำได้เช่นเดียวกับในเดียโบล II โดยใช้บริการแบตเทิลดอตเน็ตของบริษัทบลิซซาร์ด[6] พร้อมด้วยคุณสมบัติใหม่จำนวนมากที่พัฒนาขึ้นสำหรับสตาร์คราฟต์ II ที่มีในเดียโบล III[3] ซึ่งผู้เล่นสามารถเข้าและออกจากเซสชันการเล่นแบบร่วมมือกับผู้เล่นอื่นได้[7] ทั้งนี้ เดียโบล III แตกต่างจากภาคก่อนตรงที่ผู้เล่นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนโยบายการจัดการสิทธิดิจิทัลของพวกเขา แม้กระทั่งสำหรับเกมผู้เล่นเดี่ยว[8]
ส่วนระบบเควสต์ที่ได้รับการปรับปรุง, ตัวสร้างเลเวลแบบสุ่ม และตัวสร้างการเผชิญหน้าแบบสุ่มได้รับการนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าเกมจะมอบประสบการณ์ที่แตกต่างเมื่อเล่นซ้ำ[9]
ต่างจากการทำซ้ำครั้งก่อน ทองคำสามารถเก็บขึ้นมาได้โดยการสัมผัส หรือเข้ามาภายในระยะ (ปรับด้วยอุปกรณ์) แทนที่จะต้องเก็บมันด้วยตนเอง หนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความเร็วในการเล่นเกมก็คือลูกแก้วพลังชีวิตที่บรรดาศัตรูทำตก แทนที่ความจำเป็นที่จะต้องมีแถบโพชัน หลังจะถูกแทนที่ด้วยแถบทักษะที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถกำหนดปุ่มแถบด่วนให้แก่ทักษะและคาถาได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้เล่นสามารถกำหนดทักษะได้เพียงสองทักษะ (หนึ่งทักษะสำหรับปุ่มเมาส์แต่ละปุ่ม) และต้องสลับทักษะด้วยแป้นพิมพ์หรือล้อเมาส์ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถกำหนดการโจมตีเฉพาะให้แก่ปุ่มเมาส์ได้[10]
รูนทักษะเป็นคุณสมบัติใหม่อีกประการ นั่นคือตัวดัดแปลงทักษะที่จะได้รับการปลดล็อกเมื่อผู้เล่นเลเวลอัป โดยต่างจากรูนที่ใส่ซอกเกตได้ในเดียโบล II รูนทักษะไม่ใช่ไอเทม แต่มีตัวเลือกสำหรับการเสริมทักษะแทน ซึ่งมักจะเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของแต่ละทักษะโดยสิ้นเชิง[11] ตัวอย่างเช่น รูนทักษะหนึ่งสำหรับความสามารถอุกกาบาตของวิเซิร์ดจะลดต้นทุนพลังลึกลับของมัน ในขณะที่อีกรูนจะเปลี่ยนอุกกาบาตให้เป็นน้ำแข็ง โดยทำให้เกิดความเสียหายจากความเย็นมากกว่าไฟ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บริษัทไอเอิร์นกาแล็กซีร่วมพัฒนาเวอร์ชันนินเท็นโด สวิตช์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilson, Jay. "Diablo". Blizzard Entertainment. Blizzard. สืบค้นเมื่อ June 13, 2011.
- ↑ "Items - Game Guide - Diablo III".
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Onyett, Charles (June 28, 2008). "Diablo III Gameplay Panel Live Blog". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2008. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
- ↑ "Diablo III - Frequently Asked Questions". Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2014. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
- ↑ "Diablo III 'Classes' Gameplay (video)". GameVideos.com. June 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2013. สืบค้นเมื่อ June 29, 2008.
- ↑ "Live From Blizzard's Worldwide Invitational 2008". IGN. June 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2008. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.
- ↑ Welsh, Oli (June 28, 2008). "Blizzard announces Diablo III". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2021. สืบค้นเมื่อ June 28, 2008.
- ↑ Coldewey, Devin (August 1, 2011). "Diablo 3 DRM Requires Constant Internet Connection – Until You Crack It, Of Course". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อblizz_press
- ↑ "Diablo III Game Guide: Gameplay Fundamentals". Blizzard Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
- ↑ Breckon, Nick (October 10, 2008). "ShackNews 19 May 2009, retrieved on 2009-19-05". Shacknews.com. สืบค้นเมื่อ May 21, 2009.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Wright, Steven T. (August 14, 2019). "What goes right and wrong when games like Diablo 3 take a decade to make". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 17, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เดียโบล III
- เว็บไซต์ทางการ