เซียร์เกย์ ลัฟรอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซียร์เกย์ วิคโตโรวิช ลัฟรอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1950-03-21) 21 มีนาคม ค.ศ. 1950 (74 ปี)
พรรคการเมืองสหรัสเซีย

เซียร์เกย์ วิคโตโรวิช ลัฟรอฟ (รัสเซีย: Сергей Викторович Лавров; เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1950) เป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวรัสเซีย ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004[1] ในฐานะสมาชิกของพรรคสหรัสเซีย ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้แทนถาวรของรัสเซียประจำสหประชาชาติ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ถึง 2004 ลัฟรอฟ อยู่ภายใต้การคว่ำบาตรส่วนบุคคลโดย สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ ออสเตรเลีย สำหรับบทบาทของเขาใน การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565[2]

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา[แก้]

ลัฟรอฟเกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1950[3] ในกรุงมอสโก บิดาเป็นชาวอาร์เมเนียจากเมืองทบิลิซี สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย และมารดาเป็นชาวรัสเซียจากเมืองโนกินสค์ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย นามสกุลเดิมบิดาคือ Kalantaryan[4][5][6] แม่ของเขาทำงานในกระทรวงการค้าต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ลัฟรอฟ จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมด้วยเหรียญเงิน เนื่องจากวิชาโปรดของเขาคือวิชาฟิสิกส์ เขาจึงวางแผนที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิจัยนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ สถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งมอสโก แต่เขาเข้าเรียนที่สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1972[3]

ระหว่างการศึกษาที่ MGIMO ลัฟรอฟ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในไม่ช้าเขาก็เรียน ภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของ ศรีลังกา รวมทั้ง ภาษาธิเวหิ ซึ่งเป็นภาษาราชการของ มัลดีฟส์ นอกจากนี้ ลัฟรอฟ ยังเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เขาได้แจ้งว่าเขาไม่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง หลังจากที่เขาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ลัฟรอฟ พร้อมด้วยนักศึกษาคนอื่นๆ ก็ถูกส่งไปยังกองพลน้อยก่อสร้างที่สร้าง Ostankino Tower เป็นเวลาหนึ่งเดือน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lavrov Sergey Viktorovich". Ministry of Foreign Affairs of the Russian Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
  2. Ukraine invasion: West imposes sanctions on Russia's Putin and Lavrov
  3. 3.0 3.1 Dubien, Arnaud (June 2012). "The composition of Russia's new Cabinet and Presidential Administration, and its significance". Policy Department DG External Policies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013.
  4. "Armenian who Was Born on Ararat Street: Sergey Lavrov – the Unsurpassed Diplomat". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2021. สืบค้นเมื่อ 24 September 2021.
  5. Lyons, Kate (22 April 2015). "Cher, Kim Kardashian and Andre Agassi: Armenia's A-list diaspora". Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2016.
  6. Waal, Thomas de (2010). The Caucasus: An introduction. Oxford: Oxford University Press. p. 97. ISBN 978-0199750436. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 October 2015.
  7. "Лавров рассказал, что хотел учиться в МИФИ, но мама посоветовала МГИМО". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.