เซอร์เบอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประติมากรรมเทพเจ้าเฮดีสกับเซอร์เบอรัส

เซอร์เบอรัส หรือ เคร์เบรอส (อังกฤษ: Cerberus; กรีก: Κέρβερος เคร์เบรอส) ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน เป็นหมาหลายหัว (ปกติมีสาม) มีหางอสรพิษ พังพานงู และกรงเล็บสิงโต มันเฝ้าทางเข้าโลกบาดาลเพื่อป้องกันคนตายมิให้หลบหนีและคนเป็นมิให้เข้า เซอร์เบอรัสปรากฏในวรรณกรรมกรีกและโรมันโบราณหลายงาน และในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งโบราณและสมัยใหม่ แม้การพรรณนาเซอร์เบอรัสแตกต่างกันแล้วแต่ตีความ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนหัว แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายหรือบรรยายไว้สามหัว แต่แหล่งอื่นแสดงเซอร์เบอรัสมีสองหัวหรือหัวเดียว มีแหล่งน้อยกว่านั้นที่แสดงจำนวนต่าง ๆ บ้างว่าห้าสิบหรือกระทั่งหนึ่งร้อย

เซอร์เบอรัสเป็นลูกของอีคิดนา ครึ่งสตรีครึ่งอสรพิษ กับไทฟอน สัตว์ประหลาดยักษ์ซึ่งแม้แต่เทพเจ้ากรีกยังขยาด พี่น้องมีเลอร์เนียนไฮดรา, ออร์ธรัส (Orthrus) หมานรกสองหัว และคิเมียรา สัตว์ประหลาดสามหัว[1] การพรรณนาสามัญของเซอร์เบอรัสในเทพปกรณัมและศิลปะกรีก คือ มีสามหัว ในงานส่วนใหญ่ สามหัวนั้นมองและเป็นเครื่องหมายของอดีต ปัจจุบันและอนาคต ขณะที่แหล่งอื่นแนะว่า หัวทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด เยาว์วัยและชราวัย[2] กล่าวกันว่า หัวของเซอร์เบอรัสมีความอยากอาหารเฉพาะเนื้อมีชีวิต ฉะนั้นจึงให้วิญญาณผู้วายชนม์เข้าโลกบาดาลได้อย่างเสรี แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดออก[3] เซอร์เบอรัสเป็นหมาเฝ้าที่ซื่อสัตย์ของเฮดีส และเฝ้าประตูเข้าออกโลกบาดาล[4]

ไม่มีบันทึกว่าเซอร์เบอรัสเป็นหมาพันธุ์ใด ดังนั้นในทางศิลปะจึงพบเห็นเซอร์เบอรัสได้หลากหลายสายพันธุ์มาก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hercules' Twelfth Labor: Cerberus". Perseus Project. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.
  2. Bloomfield, Maurice (2003). Cerberus the Dog of Hades. Kessinger Publishing. p. 8. ISBN 0-7661-3020-7.
  3. Allardice, Pamela (1991). Myths, Gods & Fantasy. ABC-CLIO. p. 52. ISBN 0-87436-660-7.
  4. Guerber, Helene (2003). Myths of Greece and Rome. Kessinger Publishing. ISBN 0-7661-4856-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]