เฉิน หลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉิน หลง
ข้อมูลส่วนตัว
ประเทศธงของประเทศจีน จีน
เกิด (1989-01-18) มกราคม 18, 1989 (35 ปี)[1]
เขตชาชื่อ จิงโจว มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ส่วนสูง1.87 m (6 ft 2 in)[1]
น้ำหนัก79 kg (174 lb; 12.4 st)[1]
มือที่ถนัดมือขวา
ชายเดี่ยว
อันดับโลกสูงสุด1 (24 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
อันดับโลกปัจุบัน6 (4 พฤษภาคม ค.ศ. 2021[2])
รายการเหรียญรางวัล
แบดมินตันชาย
ตัวแทนของ ธงของประเทศจีน จีน
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2016 รีโอเดจาเนโร ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2020 โตเกียว ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2012 ลอนดอน ชายเดี่ยว
ชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2014 โคเปนเฮเกน ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2015 จาการ์ตา ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2017 กลาสโกว์ ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2018 หนานจิง ชายเดี่ยว
ทอมัสคัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2012 อู่ฮั่น ทีมชาย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2010 กัวลาลัมเปอร์ ทีมชาย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2018 กรุงเทพฯ ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2014 นิวเดลี ทีมชาย
ซูดีร์มันคัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2009 กว่างโจว ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2011 ชิงเต่า ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2013 กัวลาลัมเปอร์ ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2015 ตงกวน ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2019 หนานหนิง ทีมผสม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2017 โกลด์โคสต์ ทีมผสม
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2010 กว่างโจว ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2018 จาการ์ตา–ปาเล็มบัง ทีมชาย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2014 อินช็อน ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2014 อินช็อน ทีมชาย
ชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2017 อู่ฮั่น ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2009 ซูว็อน ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2013 ไทเป ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2016 อู่ฮั่น ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2018 อู่ฮั่น ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2011 เฉิงตู ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2012 ชิงเต่า ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2015 อู่ฮั่น ชายเดี่ยว
กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2009 ฮ่องกง ทีมชาย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2013 เทียนจิน ทีมชาย
เยาวชนชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2007 วายทาเครีซิตี ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2007 วายทาเครีซิตี ทีมผสม
เยาวชนชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2007 กัวลาลัมเปอร์ ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2007 กัวลาลัมเปอร์ ทีมผสม
BWF profile
Chen Long
อักษรจีนตัวเต็ม諶龍

เฉิน หลง (จีน: 諶龍; พินอิน: Chén Lóng; 18 มกราคม ค.ศ. 1989) เป็นนักกีฬาแบดมินตันชายทีมชาติจีน ปัจจุบันเป็นมือวางอันดับ 6 ของโลก[3]

ประวัติ[แก้]

เฉินหลงเกิดในปี ค.ศ. 1989 ที่เขตชาชื่อ จิงโจว มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1996 เมื่อเฉินอายุ 7 ขวบ พ่อและแม่ของเขาส่งไปเรียนโรงเรียนกีฬา เมื่อปี ค.ศ. 2000 เฉินได้ย้ายไปที่เซี่ยเหมิน, มณฑลฝูเจี้ยน และได้เข้าร่วมทีมกีฬาเซี่ยเหมิน ในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักกีฬาเยาวชนทีมชาติจีน และต่อมาในปี ค.ศ. 2006 เขาได้รับเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมจีนเข้าร่วมการแข่งรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย 2007 และเขาสามารถคว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยวได้สำเร็จ ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2007 โดยเฉินสามารถเอาชนะ เค็นอิชิ ทะโงะ จากประเทศญี่ปุ่น ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-0 เกม (21-16, 21-14) [4][5]

ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2010 เฉินได้เหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมชายในเอเชียนเกมส์ ที่กว่างโจว เมื่อเดือนธันวาคม ในการแข่งขันไชนาซุปเปอร์ซีรีส์ 2010 โดยเฉินเป็นฝ่ายเอาชนะ เป้า ชุนไหล เพื่อนร่วมทีม จากประเทศจีน ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (9-21, 21-14, 21-16)[6]

ในปี ค.ศ. 2011 ในการแข่งขันเจแปนซุปเปอร์ซีรีส์ 2011 โดยเฉินสามารถเอาชนะ ลีชองเหว่ย มือวางอันดับ 1 ของโลก จากประเทศมาเลเซีย ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 (21-8, 21-10, 21-19) ทำให้เฉินคว้าแชมป์รายการนี้

ในปี ค.ศ. 2012 เฉินได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และเขาสามารถคว้าอันดับที่ 3 ในประเภทชายเดี่ยว โดยเอาชนะ อี ฮย็อน-อิล จากประเทศเกาหลีใต้ ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (21-12, 15-21, 21-15)[7]

ความสำเร็จ[แก้]

ชนะเลิศ (21)[แก้]

ปี รายการ คู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ ผลคะแนน
2015 ออสเตรเลียโอเพน เดนมาร์ก Viktor Axelsen 21-12, 14-21, 21-18
2015 มาเลเซียโอเพน จีน หลิน ตัน 20-22, 21-13, 21-11
2015 ออลอิงแลนด์โอเพน เดนมาร์ก แจน โอ นอร์เกนซี 15–21, 21-17, 21-15
2014 ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ เดนมาร์ก แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ 21–16, 21–10
2014 เดนมาร์กโอเพน เกาหลีใต้ ซน วัน-โฮ 21-19, 24-22
2014 แบดมินตันชิงแชมป์โลก มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21-19, 21-19
2014 โคเรียโอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21-14, 21-15
2013 ไชนาโอเพน จีน หวัง เจิงหมิง 19–21, 21–8, 21-14
2013 เดนมาร์กโอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 24–22, 21–19
2013 ออลอิงแลนด์โอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–17, 21-18
2013 เยอรมันโอเพน อินโดนีเซีย ทอมมี ซูเกียร์โต 21–17, 21–11
2012 ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ จีน ตู้ เผิงอวี่ 21–12, 21–13
2012 ฮ่องกงโอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–19, 21–17
2012 ไชนาโอเพน จีน หวัง เจิงหมิง 21–19, 21–18
2012 ไชนามาสเตอรส์ ฮ่องกง หู ยฺวิน 21–11, 21–13
2011 เดนมาร์กโอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–15, 21–18
2011 เจแปนโอเพน มาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–8, 10–21, 21–19
2011 ไชนามาสเตอรส์ จีน เฉิน จิน 21–16, 22–20
2011 ไทยแลนด์โอเพน เกาหลีใต้ อี ฮย็อน-อิล 21–8, 21–19
2010 ไชนาโอเพน จีน เป้า ชุนไหล 9–21, 21–14, 21–16
2010 บิตเบอร์เกอร์โอเพน เดนมาร์ก แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ 21–3, 12–21, 21–9
2009 ฟิลิปปินส์โอเพน ฮ่องกง หู ยฺวิน 21–13, 21–6
การแข่งขันระดับเยาวชน
2007 แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ญี่ปุ่น เค็นอิชิ ทะโงะ 21–16, 21–14
2007 แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย มาเลเซีย โมห์ด อารีฟ์ ลาติฟ์ 18–21, 21–18, 22–20
  รายการระดับซุปเปอร์ซีรีส์
  รายการระดับกรังด์ปรีซ์โกลด์ และกรังด์ปรีซ์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "2012伦敦奥运会中国体育代表团成员名录 - 谌龙". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
  2. "BWF World Ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
  3. BadPaLの記事
  4. "马来西亚羽毛球公开赛谌龙夺冠 荆州再添一位世界冠军". 《江汉商报》. 2009-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
  5. tournamentsoftware.com KLRC World Junior Championships 2007
  6. 中国公开赛谌龙逆转鲍春来问鼎 首次加冕超级赛冠军《华奥星空》2010-12-05
  7. "谌龙2-0击败泰国名将拒绝遭爆冷 昂首挺进淘汰赛". 东方网. 2012-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]