เจ้าหญิงมาเรีย โบนาแห่งซาวอย-เจนัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารีอา บอนน์
เจ้าหญิงค็อนราทแห่งบาวาเรีย
พระรูปของเจ้าหญิงบอนน์เมื่อไม่นานหลังจากอภิเษกสมรสกับเจ้าชายค็อนราทในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1921
ประสูติ1 สิงหาคม ค.ศ. 1896(1896-08-01)
ปราสาทอากลีเย, ปีเยมอนเต
สิ้นพระชนม์2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971(1971-02-02) (74 ปี)
โรม, อิตาลี
ฝังพระศพอารามอันเด็คส์, เยอรมนี
คู่อภิเษกเจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย
พระนามเต็ม
อิตาลี: มารีอา บอนน์ มาร์เกรีตา อัลแบร์ตีนา วิตโตรีอา
พระบุตรเจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
เจ้าชายอ็อยเกนแห่งบาวาเรีย
ราชวงศ์ซาวอย-เจนัว (โดยประสูติ)
วิทเทิลส์บัค (โดยอภิเษกสมรส)
พระบิดาเจ้าชายตอมมาโซ ดยุกแห่งเจนัว
พระมารดาเจ้าหญิงอีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก

เจ้าหญิงบอนน์ แห่งซาวอย-เจนัว หรือต่อมาเป็น เจ้าหญิงโบนาแห่งบาวาเรีย (Maria Bona Margarita Albertina Vittoria; 1 สิงหาคม ค.ศ. 1896 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971) เป็นพระธิดาใน เจ้าชายตอมมาโซ ดยุกแห่งเจนัว และ เจ้าหญิงอีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย

พระองค์เป็นพระราชปนัดดาใน พระเจ้าการ์โล อัลแบร์โต ทางฝ่ายพระบิดา และ พระเจ้าลูทวิชที่ 1 ทางฝ่ายพระมารดา พระองค์ยังทรงเป็นพระญาติชั้นที่ 1 ใน พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ผ่านทางสายพระบิดา พระองค์และพระเชษฐาและขนิษฐาและพระอนุชาทุกพระองค์ ประสูติที่ปราสาทเอลเจน ซึ่างเป็นปราสาทที่พระบิดาของพระองค์ซื้อไว้ประทับร่วมกับครอบครัวย

เสกสมรส[แก้]

เจ้าหญิงบอนน์ ทรงเสกสมรสกับ เจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย ผู้เป็นพระญาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1921 ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์นั้น ถูกจัดขึ้นที่ ปราสาทปิเยมอนเต โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลายพระองค์ อาทิ พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี เจ้าชายอุมแบร์โต เจ้าชายแห่งปีเยมอนเต และ เจ้าชายเอมานูเอเล ฟิลิแบร์โต ดยุกแห่งออสตา และพระสหายของพระองค์ จำพวกสตรีชั้นสูงของหลายประเทศเข้าร่วม ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์และเจ้าชายค็อนราท พระสวามี เป็นการจัดงานเสกสมรสของพระราชวงศ์แห่งอิตาลีและเยอรมันขึ้นครั้งแรกหลังจากทั้ง 2 เป็นอริกันในสงครามโลก และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีของทั้ง 2 ประเทศ ทั้ง 2 มีพระบุตร 2 พระองค์คือ

  1. เจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
  2. เจ้าชายอ็อยเกนแห่งบาวาเรีย

พระชนม์ชีพภายหลัง[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าชายค็อนราท พระสวามีถูกทหารจับไปที่เมืองฮินเทินชไตน์ และทรงถูกนำตัวไปที่ลินเดา และทรงฝึกงานอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งร่วมกับ เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร และอดีตนักการทูตนามว่า ฮันส์ ฟอร์แมคเกอร์ พระองค์หรือที่ทรงรู้จักในนามของ เจ้าหญิงค็อนราท พระชายา ทรงงานเรื่องพยาบาลทหาร กับพระญาติหลายพระองค์ แต่ไม่ถูกถูกอนุญาตให้เสด็จเข้ามาในประเทศเยอรมนี ได้ และสามารถกลับมารวมพระญาติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งขณะนั้น พระสวามีมีอาชีพที่ดีขึ้น ก่อนจะสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 สิริพระชันษา 74 ปี

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5]


  1. Enache, Nicolas. La Descendance de Marie-Therese de Habsburg. ICC, Paris, 1996. pp. 189, 195-196, 207-208. (French). ISBN 2-908003-04-X
  2. Genealogisches Handbuch des Adels, Fürstliche Häuser XVI. "Haus Bayern". C.A. Starke Verlag, 2001, p. 13. ISBN 978-3-7980-0824-3.
  3. Lundy, Darryl. "The Peerage: Bona Margherita di Savoia, Principessa di Savoia". Retrieved 16 December 2009.
  4. "Italian Princess to Wed Bavarian", The New York Times, Milan, 7 January 1921
  5. "Son to Princess Maria", The New York Times, Rome, 27 July 1925