เคาะบัรวาฮิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคาะบัรวาฮิด เป็นประเภทหนึ่งของฮะดีษ(วัจนะท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ) ซึ่งสายการรายงานของบรรดาผู้รายงานไม่ถึงระดับขั้น “ตะวาตุร” จนทำให้ไม่สามารถเชื่อมั่นถึงความถูกต้องของฮะดีษนั้นได้ ทุกฮะดีษที่ไม่ใช่เคาะบัรมุตะวาติร ถือเป็นเคาะบัรวาฮิดทั้งหมด แม้ว่าสายการรายงานของผู้รายงานจะมีมากกว่าหนึ่งคนก็ตาม

โดยส่วนมากแล้วฮะดีษเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในอิสลามจะอยู่ในหมวด เคาะบัรวาฮิด. ซึ่งมาตรวัดความน่าเชื่อถือเคาะบัรวาฮิดขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสายการรายงานของบรรดาผู้รายงาน การระบุชื่อ คุณสมบัติของผู้ที่รายงานฮะดีษจากผู้พูด (ไม่ว่าจะเป็นท่านศาสดา เศาะฮาบะฮ์หรือบรรดาอิมามของชีอะฮ์) เพื่อให้ผู้บันทึกได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือของตน ส่วนความรู้และความยุติธรรมของบรรดานักรายงานฮีษจะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เคาะบัรวาฮิด และหากมีบริบทอื่นๆ ที่คาดคะเนหรือนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในความถูกต้องของความหมายฮีษ เช่น ชื่อเสียงและการถูกยอมรับของฮีษ ก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของเคาะบัรวาฮิด

เงื่อนไขผู้รายงานเคาะบัรวาฮิด[แก้]

มีสติสัมปชัญญะ, บรรลุนิติภาวะ, เป็นมุสลิม, ความยุติธรรม , เตาษีก (มีความน่าเชื่อถือ) โดยได้รับการยืนยันจากบรรดาผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ถึงความน่าเชื่อถือ และการมีความจำที่ดีถือเป็นเงื่อนไขที่นักรายงานฮะดีษต้องมี ในหลักอุซูลของมัสฮับอิมามียะฮ์ (ชีอะฮ์ ) ผู้รายงานฮะดีษจะต้องเป็นชีอะฮ์อิมามสิบสองด้วย.[1]

ประเภทต่างๆของเคาะบัรวาฮิด[แก้]

เคาะบัรมุสตะฟีฎ مستفیض[แก้]

เคาะบัรมุสตะฟีฎ คือฮะดีษหนึ่งซึ่งมีสายรายงานสามสายรายงานหรือมากกว่านั้น แต่ไม่ถึงระดับตะวาตุร และไม่อาจนำมาซึ่งความมั่นใจและความเชื่อมั่นได้ นักอุซูลียูนบางท่านได้จัดให้เคาะบัรมุสตะฟีฎอยู่ในฮะดีษประเภทที่สาม รองจากเคาะบัรมุตะวาตีร และเคาะบัรวาฮิด แต่โดยส่วนมากแล้วถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของเคาบัรวาฮิด[2]

เคาะบัรศอเฮี๊ยะห์[แก้]

เคาะบัรศอเฮี๊ยะห์ คือฮะดีษซึ่งผู้รายงานตั้งแต่ผู้บอกกล่าวจนถึงผู้บันทึก เป็นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะ , บรรลุนิติภาวะ , เป็นมุสลิม , มีความยุติธรม และบรรดาผู้รู้ของศาสนาอิสลามต่างรับรองถึงความถูกต้อง และซื่อสัตย์ของพวกเขา[3]

เคาะบัรฮะซัน[แก้]

เคาะบัรฮะซัน คือฮะดีษซึ่งผู้รายงานตั้งแต่ผู้บอกกล่าวจนถึงผู้บันทึก โดยทั้งหมดจะต้องเป็นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะ , บรรลุนิติภาวะ , เป็นมุสลิม และมีความยุติธรรม แต่มีนักรายงานบางคนในหมู่พวกเขายังไม่ถูกรับรองถึงความน่าเชื่อถือของเขา[4]

เคาะบัรมุวัษษัก[แก้]

เคาะบัรมุวัษษัก หรือเคาะบัรกอวีย์ ตามหลักอุซูลของชีอะฮ์ เป็นฮะดีษที่บรรดาผู้รายงานจะต้องมีเงื่อนไขครบถ้วนในการบันทึกฮะดีษ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นซุนนีหรือชีอะฮ์ที่นอกเหนือจากสิบสองอิมาม แต่ทั้งนี้ก็ต้องได้รับการรับรองถึงความถูกต้องจากบรรดานักนิติศาสตาร์ของชีอะฮ์ด้วยเช่นกัน.

เคาะบัรฎออีฟ[แก้]

เคาะบัรฎออีฟ คือฮะดีษที่สายรายงานของบรรดาผู้รายงานไม่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน หรือมีบุคคลในสายรายงานที่ไม่ใช่มุสลิม หรือเป็นผู้โกหก หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ไม่พึงประสงค์อยู่ในกระบวนการบันทึกฮะดีษนั้น. หากเคาะบัรฏออีฟนั้นเป็นที่รู้กันก็จะเรียกว่า “มัชฮูเราะฮ์” และหากเป็นที่ยอมรับของบรรดานักนิติศาสตร์รุ่นก่อน ก็จะเรียกว่า“มักบูละฮ์”.

ฮุจญียัต (ความน่าเชื่อถือ) เคาะบัรวาฮิด[แก้]

การถกเกี่ยวกับความถูกต้องของเคาะบัรวาฮิดเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดในอุซูลุลฟิกฮ์ นักนิติศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่าหากเคาะบัรวาฮิดมีต้นสายรายงานที่ชัดเจนแข็งแกร่งก็ถือว่าฮะดีษนั้นมีความเป็นฮุจญัต และถือเป็นวาญิบ (จำเป็น) ตามศาสนบัญญัติที่ต้องปฏิบัติตาม. เชคฏูซีอ้างถึงความเป็นเอกฉันท์ถึงความเป็นอุจญีญัตของเคาะบัรวาฮิดขึ้น. ทั้งที่บรรดานักนิติศาสตร์ (ยุคก่อนเชคฏูซีย์) เช่นอิบนีบัรร็อจ , อะบีย์อัลมะการิม บินซุฮ์เราะฮ์ , อิบนิอิดรีส โดยเฉพาะซัยยิดมุรตะฎอ มีความเห็นต่างเกี่ยวกับความเชื่อนี้ แต่บรรดานักนิติศาสตร์รุ่นหลัง (เชคตูซีย์) ส่วนใหญ่ต่างยอมรับความเป็นฮุจญัตของเคาะบัรวาฮิด[5]

นักนิติศาสตร์ยุคหลังบางคนไม่ยอมรับความเป็นฮุจญัตของเคาะบัรวาฮิดอย่างเช่นท่าน มุฮัมหมัด ซอดิกีย์ เตะฮ์รอนีย์ ซึ่งมีทัศนะว่า หลักฐานความเป็นฮุจญีญยัตของเคาะบัรวาฮิดนั้นมีความขาดตอนไม่ต่อเนื่อง. ซึ่งเขาเชื่อว่าเคาะบัรวาฮิดทำให้การปฏิบัติตามตกอยู่ในความไม่แน่ใจ (สงสัย) และเมื่อเทียบกับอัลกุรอานแล้วเคาะบัรวาฮิดไม่สามารถปฏิบัติตามได้ (เนื่องจากมีความสงสัยคลุมเคลือ) เพราะอัลอุรอานกล่าวว่า “ولا تقف ما لیس لک به علم” (อะไรก็ตามที่มายังเจ้าซึ่งไม่ใช่การปฏบิบัติ ก็อย่าทำมัน) ด้วยเหตุนี้เมื่ออิงหลักฐานกับอัลกุรอานเคาะบัรวาฮิดถือว่าเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ เขากล่าวว่าอิสลามเป็นศาสนาแห่งวิชาการไม่ใช่เป็นศาสนาแห่งความสงสัย.[6][7]

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ เช่นอัลละมะฮ์มุฮัมหมัด ญะวาด ฆอรอวีย์ ก็ไม่เชื่อว่าเคาะบัรวาฮิดเป็นฮุจญัตเช่นกัน เพราะเคาะบัรวาฮิดมีความขัดแย้งกับอัลกุรอาน เช่นในเรื่องบทลงโทษของผู้ที่ออกจากศาสนา หรือการปาก้อนหิน (เพื่อลงโทษ)

บรรดานักนิติศาสตร์ของซุนนีก็ไม่ถือว่าเคาะบัรวาฮิดทำให้เกิดความยะกีนได้เช่นกัน นอกจากกลุ่มฮะนาบิละฮ์. แต่สำหรับกลุ่มซะลาฟียะฮ์ยุคปัจจุบันที่ปฏิบัติตามฮัชวียะฮ์มีทัศนะว่า เคาะบัรวาฮิดนั้นเป็นฮุจญัต แต่บรรดานักนิติศาสตร์ของอัลอัซฮัร เช่นมุฮัมหมัดฆอซซาลีย์ , มุฮัมหมัด ชัลตูต , อะห์มัด ซุบฮีย์ มันศูร และคนอื่นๆ ได้ขัดแย้งอย่างแข็งขันถึงความเป็นอุจญีญัตของเคาะบัรวาฮิด.

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:پانویس

  1. اصول فقه، ابوالحسن محمدی، صص ۱۷۳–۱۷۵
  2. اصول فقه، ابوالحسن محمدی، ص ۱۷۰
  3. اصول فقه، ابوالحسن محمدی، ص ۱۷۶؛ مباحثی از اصول فقه، مصطفی محقق داماد، ص ۶۳
  4. اصول فقه، ابوالحسن محمدی، ص ۱۷۶؛ مباحثی از اصول فقه، مصطفی محقق داماد، ص ۶۴
  5. مباحثی از اصول فقه، مصطفی محقق داماد، ص ۶۵
  6. اصول استنباط[ลิงก์เสีย]
  7. کتاب فقه گویا- نقد و بررسی فقه سنتی صفحه ۲۰[ลิงก์เสีย]