ข้ามไปเนื้อหา

การวิบัติของเขื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เขื่อนแตก)
น้ำที่กำลังล้นทะลักออกจากเขื่อนที่แตก (เขื่อนทีตันในสหรัฐ)
สัญลักษณ์พิเศษสากลสำหรับงานและการติดตั้งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่อันตราย

เขื่อน คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างขวางแนวการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ เพื่อทำให้น้ำไหลช้าลง ซึ่งมักจะก่อให้เกิดแหล่งเก็บน้ำหรือทะเลสาบ เขื่อนส่วนมากจะมีส่วนที่เรียกว่า "ช่องทางระบายน้ำ" หรือ "ประตูระบายน้ำ" เพื่อปล่อยให้น้ำไหลผ่านเป็นช่วง ๆ หรืออย่างต่อเนื่อง และหลายเขื่อนยังมีการติดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกด้วย

เขื่อนถูกพิจารณาว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีปัจจัยอันตรายตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการทำลายล้างชีวิตพลเรือนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเขื่อนแตก เหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น เมื่อเทียบกับอุปัทวเหตุอื่น ๆ แล้วจัดได้ว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง

สาเหตุหลัก

[แก้]

สาเหตุทั่วไปของการวิบัติของเขื่อนคือ:

  • การออกแบบช่องระบายน้ำที่ผิดพลาด เช่นที่เขื่อนเซาท์ฟอล์กในสหรัฐ
  • ความไม่เสถียรทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในแม่น้ำระหว่างการเติมน้ำลงเขื่อน หรือเกิดจากการสำรวจที่แย่ เช่นที่เขื่อนมาลปาแซในฝรั่งเศส
  • การเคลื่อนตัวของภูเขาลงสู่แหล่งเก็บน้ำ เช่นในกรณีเขื่อนวายอนต์ในอิตาลี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากดินภูเขาขนาด 260 ล้านลูกบาศก์เมตร[1]ถล่มลงสู่ทะเลสาบด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] ยังผลให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ถล่มทุกสิ่งให้ราพณาสูร
  • การบำรุงรักษาที่แย่ โดยเฉพาะท่อระบายน้ำ
  • ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
  • ความผิดพลาดจากมนุษย์ คอมพิวเตอร์ หรือการออกแบบ

การก่อวินาศกรรม

[แก้]

การก่อวินาศกรรมเพื่อการถล่มเขื่อนด้วยความตั้งใจที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดนั้นคือ ปฏิบัติการชัสไทส์โดยฝูงบินที่ 617 แห่งกองทัพอากาศอังกฤษ ได้ถล่มเขื่อนของเยอรมนีสามแห่ง เพื่อทำลายสาธารณูปโภค กำลังผลิต และพลังงานของฝ่ายเยอรมนี การถล่มเขื่อนครั้งนี้ถูกนำไปใช้สร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง

รายชื่อการวิบัติครั้งใหญ่

[แก้]
ชื่อเขื่อน/เหตุการณ์ ปี (ค.ศ.) สถานที่ รายละเอียด
Dale Dike Reservoir 1864 เซาท์ยอร์กเชียร์ อังกฤษ ความผิดพลาดในขั้นตอนการก่อสร้าง จุดรั่วเล็ก ๆ ในผนังเขื่อนขยายขนาดจนเขื่อนแตก
เขื่อนเซาท์ฟอร์ก 1889 จอนส์ทาวน์ (รัฐเพนซิลวาเนีย) สหรัฐ ประชาชนในท้องถิ่นเชื่อว่าเกิดจากการซ่อมบำรุงที่แย่ ในขณะที่ศาลตัดสินว่าเป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติ ประกอบด้วยการที่ฝนตกอย่างหนักเกินกว่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้
Walnut Grove Dam 1890 วิกเกนเบิร์ก, แอริโซนา, สหรัฐอเมริกา หิมะและฝนที่ตกอย่างหนัก ตามด้วยการร้องขอให้มีการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างฝั่งตะวันออกของหัวหน้าวิศวกรของเขื่อน
Desná Dam 1916 เดสนา, ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเช็กเกีย) ความผิดพลาดของการก่อสร้างจนทำให้เขื่อนแตก
Llyn Eigiau dam and the outflow also destroyed Coedty reservoir dam. 1925 ดอลการ์ร็อก, นอร์ทเวลส์, อังกฤษ ผู้ว่าจ้างโทษการตัดงบประมาณการก่อสร้าง แต่ปริมาณน้ำฝนขนาด 25 นิ้ว ที่ตกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าวันติดต่อกันจนเขื่อนแตก
St. Francis Dam 1928 วาเลนเซีย, แคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี, สหรัฐอเมริกา ความไม่มีเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ของแนวฝาซึ่งตรวจสอบไม่พบอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวิทยาการในยุคนั้น กอปรกับความผิดพลาดของผู้สำรวจในการประเมินว่าการขยายตัวของรอยแตกนั้นเป็นระดับ "ธรรมดา" สำหรับเขื่อนชนิดนั้น
เบกาเดเตรา 1959 ริบาเดลาโก, สเปน  
มาลปาแซ 1959 โกตดาซูร์, ฝรั่งเศส มีความเป็นไปได้ว่ามาจากความล้มเหลวเชิงภูมิศาสตร์อันเกิดจากการใช้ระเบิดในระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้งการศึกษาภูมิศาสตร์ในขั้นต้นก็มิได้ถูกทำอย่างระมัดระวัง
Baldwin Hills Reservoir 1963 ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา การยุบตัวของพื้นดินอันเนื่องมาจากการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณใกล้เคียง
เขื่อนวายอนต์ 1963 อิตาลี การเติมน้ำลงเขื่อนก่อให้เกิดภูเขาถล่มลงแห่งน้ำและก่อให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์ อันมีเหตุมาจากการประเมินเสถียรภาพเชิงภูมิศาสตร์ที่ผิดพลาด
Buffalo Creek Flood 1972 เวสต์เวอร์จิเนีย, สหรัฐอเมริกา เขื่อนที่บริษัทเหมืองถ่านหินในพื้นที่สร้างขึ้นนั้นไม่เสถียรเพียงพอและพังทลายเมื่อเกิดฝนตกหนัก
Banqiao and Shimantan Dams 1975 จีน ฝนที่ตกอย่างหนักจนเกิดปริมาณความจุของเขื่อนที่ถูกออกแบบไว้
Teton Dam 1976 ไอดาโฮ, สหรัฐอเมริกา การรั่วไหลของน้ำบริเวณแนวกำแพงตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลาย
Kelly Barnes Dam 1977 จอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เป็นไปได้ว่าเกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาดเนื่องจากมีการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง
Lawn Lake Dam 1982 อุทยานแห่งชาติเทือกเขาร็อกกี, สหรัฐอเมริกา ท่อส่งน้ำผุกร่อน เขื่อนกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง
Tous Dam 1982 บาเลนเซีย, สเปน  
Val di Stava Dam collapse 1985 อิตาลี การซ่อมบำรุงที่แย่และการออกแบบที่เลินเล่อ ท่อส่งน้ำเสียอันก่อให้เกิดแรงดันบนฐานเขื่อน
Peruča Dam detonation 1993 โครเอเชีย ถูกระเบิดโดยกองทัพเซอร์เบียที่กำลังถอนทัพ
Opuha Dam 1997 นิวซีแลนด์  
Vodní nádrž Soběnov 2002 Soběnov, เช็กเกีย ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในเหตุการณ์น้ำท่วมยุโรป พ.ศ. 2545
Big Bay Dam 2004 มิสซิสซิปปี, สหรัฐอเมริกา  
เขื่อนกามารา 2004 บราซิล  
Shakidor Dam 2005 ปากีสถาน ปริมาณน้ำฝนที่เกินจากที่คาดเอาไว้
Taum Sauk reservoir 2005 เลสเตอร์วิลล์, มิสซูรี, สหรัฐอเมริกา ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ มาตราวัดระดับน้ำไม่ทำแจ้งว่าเขื่อนเต็ม และน้ำยังถูกเติมลงเขื่อน ปริมาณน้ำที่รั่วไหลก่อให้เกิดการกัดเซาะแนวเขื่อน
ซีตูกินตุง 2009 ตาเงอรัง, อินโดนีเซีย การซ่อมบำรุงที่แย่และฝนที่ตกอย่างหนักในฤดูฝน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 The Vajont Dam Disaster เก็บถาวร 2008-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TeLL-Net Kick-Off Assembly, 2006, retrieved January 2008.