เขากัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำพระพุทธรูปในเขากัง

เขากัง เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กสูงประมาณ 50 เมตร ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลพัทลุง ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชื่อ เขากัง เป็นตำนานท้องถิ่นภาคใต้แปลว่า "เกะกะไม่เรียบร้อย" หมายถึง พวกนักเลงหัวไม้หรือพวกพาลเกเร มาจากตำนานเขาอกทะลุว่านางบุปผามีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อว่า นายซังกั้ง เมื่อตายแล้วกลายเป็นเขาซั้งกั้ง แต่ชาวพัทลุงนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "เขากัง"

ก่อน พ.ศ. 2499 บริเวณเขากังเป็นป่าช้าผีดิบ ต่อมาบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัดและศาลจังหวัด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478[1]

เขากังมีถ้ำพระอยู่ทางทิศใต้ของเขา ลักษณะเป็นเพิงผา บริเวณหน้าถ้ำมีศาลาพักร้อนสร้างด้วยไม้ 1 หลัง จากศาลามีบันไดขึ้นสู่เพิงผาหิน ด้านหน้ามีปืนใหญ่ 2 กระบอก เดิมเข้าใจว่ามี 4 กระบอก เพราะว่ายังมีรอยฐานปืนใหญ่อีก 2 แห่ง แต่ไม่มีตัวปืน ด้านขวาของปากถ้ำมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝีมือนายแจ้ง  พรหมคีรี สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2469 ด้านซ้ายมือของปากถ้ำเดิมเป็นที่ตั้งศาลเทพารักษ์หรือเจ้าเขา ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอนุสาวรีย์ของดำหัวแพร ขุนโจรแห่งเมืองพัทลุงในอดีต ปัจจุบันไม่มีแล้ว ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปจำหลักไม้ 7 องค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์[2] ฝีมือช่างพื้นบ้าน ลักษณะไม่สวยงามเท่าที่ควร ที่ผนังถ้ำปั้นเป็นรูปหัวงูโผล่จากซอกหอน ชาวบ้านนับถือ เรียกว่า "ทวดเขากัง"[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "มรดกทางวัฒนธรรม".
  2. "ถ้ำพระเขากัง". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  3. "เขากัง โบราณสถานในจังหวัดพัทลุง". กรมศิลปากร.