เก๊กล้อกซี
เก๊กล้อกซี | |
---|---|
ภาพมุมสูงของเก๊กล้อกซี | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
เขต | อำเภอเกาะปีนังเหนือ |
สถานะ | เปิด |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ไอร์อีตัม จอร์จทาวน์ |
รัฐ | ปีนัง |
ประเทศ | ประเทศมาเลเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 5°23′58.29″N 100°16′25.43″E / 5.3995250°N 100.2737306°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | จีน, ไทย, พม่า |
ผู้ก่อตั้ง | Beow Lean |
เสร็จสมบูรณ์ | 1891 |
เว็บไซต์ | |
kekloksitemple |
เก๊กล้อกซี | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 極樂寺 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 极乐寺 | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "วัดสุขาวดี" | ||||||||||||
|
เก๊กล้อกซี หรือ เก๊ะล้อกซี (จีน: 極樂寺; "วัดสุขาวดี"[1][2]) เป็นวัดในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในไอร์อีตัม รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เป็นวัดพุทธที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ[3] และเป็นจุดหมายปลายทางทางศาสนาที่สำคัญของนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง วัดสร้างขึ้นในระหว่างปี 1890 ถึง 1930 ภายใต้การนำของเจ้าอาวาส Beow Lean ถาวรวัตถุสำคัญของวัดคือเจดีย์หมื่นพุทธะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทย ความสูงเจ็ดชั้น และรูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิมทำจากทองสัมฤทธิ์ ความสูง 36.57 เมตร (120.0 ฟุต) วัดแห่งนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบและจารีตของมหายาน, เถรวาท และคติความเชื่อพื้นถิ่นของจีนผสมผสานอยู่ร่วมกัน
ถาวรวัตถุ
[แก้]เจดีย์หมื่นพุทธะ (อังกฤษ: Pagoda of the Ten Thousand Buddhas) หรือ "บันปุ๊ดท้า" (萬佛塔; Ban Po Thar) ซึ่งเป็นเจดีย์องค์หลักของวัดสร้างเสร็จในปี 1930 และมีความสูง 30 เมตร (98 ฟุต) ลักษณะของเจดีย์นี้ผสมผสานฐานแปดเหลี่ยมแบบจีน ส่วนตอนกลางออกแบบด้วยงานช่างแบบไทย และยอดสุดเป็นทรงพม่า ซึ่งแทนการผสมผสานของนิกายเถรวาทและมหายาน[4][5] รวมถึงเป็นตัวแทนถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของบรรดากลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาที่หลากหลายในมาเลเซีย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชของไทยเป็นผู้พระราชทานแก่วัด[4][5] เจดีย์องค์นี้มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทยเป็นผู้เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ เจดีย์นี้จึงมีอีกชื่อว่า "เจดีย์พระราม" ("Rama Pagoda")[6]
รูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิมทำจากทองสัมฤทธิ์ความสูง 30.2 เมตร นำมาประดิษฐานและเปิดสู่สาธารณะในปี 2002 แทนที่รูปปั้นองค์เดิมซึ่งเสียหายจากเพลิงไหม้เมื่อหลายปีก่อน รูปปั้นองค์นี้ประดิษฐานบนเชิงเขาเหนือองค์เจดีย์หมื่นพุทธะ ภายใต้ศาลาหลังคาสามชั้น ความสูง 60.9 เมตร (200 ฟุต)[4] ซึ่งสร้างขึ้นเสร็จภายหลังในปี 2009[7] รูปปั้นนี้ถือเป็นรูปปั้นของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่สูงที่สุดในโลก[8] โดยรอบยังมีรูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิม 100 องค์ ความสูง 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) โดยรอบ ทั้งนี้ความสูงของรูปปั้นถูกจำกัดเพื่อมิให้เงาทอดไปบังมัสยิดรัฐปีนัง[9]
นอกจากนี้ยังมีระฆังใหญ่ของวัดซึ่งติดตั้งการตีระฆังด้วยระบบไฮดรอลิก และมีการตั้งเวลาช่วงในการตี[2]
เหตุการณ์
[แก้]ในช่วงเช้าวันที่ 12 ตุลาคม 2021 เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในวัด สำนักกู้ภัยและดับเพลิงมาเลเซียรับแจ้งเหตุเมื่อเวลา 02:56 น. อาคารของวัดถูกเพลิงคลอกไปแล้วหนึ่งหลังในตอนที่นักดับเพลิงเดินทางถึงวัด[10] มูฮามัด โนร์ฮีชัม อิบราฮิม (Muhamad Norhisham Ibrahim) เจ้าหน้าที่สำนักด้บเพลิงและกู้ภัยรัฐปีนัง รายงานว่าวัดถูกทำลายเสียหายไปอย่างน้อย 70% ของพื้นที่ 18.5 ตารางเมตรของวัด การดับเพลิงเสร็จสิ้นที่เวลาราว 06:00 น.[11] ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุนี้ และยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุและต้นเพลิง[12] ข้อมูลจาก 7 วันให้หลัง วัดยังเปิดให้บริการตามปกติ ยกเว้นเพียงพื้นที่ตรงกลางของวัดซึ่งถูกเพลิงทำลายเสียหาย[13] วัดได้ประกาศว่าการก่อสร้างส่วนที่เสียหายใหม่ตั้งเป้าจะแล้วเสร็จในปี 2021 โดยให้ตรงกับวันครบรอบ 130 ปีของการสถาปนาวัดในเดือนธันวาคม[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Khoo 2007, p. 37.
- ↑ 2.0 2.1 DeBernardi 2009, p. 33.
- ↑ Moore 1998, p. 104.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Harper 2006, p. 189.
- ↑ 5.0 5.1 Davidson & Gitlitz 2002, p. 314.
- ↑ Neo 2014, p. 41.
- ↑ White, Emmons & Eveland 2011, p. 554.
- ↑ The Star 2014.
- ↑ Khoo 2006, p. 227.
- ↑ Tuesday, 12 Oct 2021 07:18 PM MYT (12 October 2021). "In Penang, early morning fire breaks out at Malaysia's biggest Buddhist temple, Kek Lok Si | Malay Mail". www.malaymail.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
- ↑ "130-Year-Old Kek Lok Si Temple In Penang Engulfed In Huge Flames - WORLD OF BUZZ". worldofbuzz.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
- ↑ "Fire breaks out at Kek Lok Si Temple in wee hours of Tuesday (Oct 12)". The Star (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
- ↑ "Kek Lok Si Temple stays opens as repair work to burnt section starts". The Star (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
- ↑ "Temple repairs to be completed soon". The Star (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
บรรณานุกรม
[แก้]- Moore, Wendy (1998). West Malaysia and Singapore. Tuttle Publishing. ISBN 978-962-593-179-1.
- Brockman, Norbert (13 September 2011). Encyclopedia of Sacred Places. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-654-6.
- Cheah, Jin Seng (19 February 2013). Penang 500 Early Postcards. Editions Didier Millet. ISBN 978-967-10617-1-8.
- Davidson, Linda Kay; Gitlitz, David Martin (1 January 2002). Pilgrimage: From the Ganges to Graceland : an Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-004-8.
- DeBernardi, Jean Elizabeth (2009). Penang: Rites of Belonging in a Malaysian Chinese Community. NUS Press. ISBN 978-9971-69-416-6.
- Harper, Damian (December 2006). Malaysia, Singapore & Brunei. Ediz. Inglese. Lonely Planet. ISBN 978-1-74059-708-1.
- Khoo, Gaik Cheng (1 January 2006). Reclaiming Adat: Contemporary Malaysian Film and Literature. UBC Press. ISBN 978-0-7748-1173-6.
- Khoo, Salma Nasution (2007). Streets of George Town, Penang. Areca Books. p. 37. ISBN 978-983-9886-00-9.
- Neo, Kyle (1 May 2014). 108 Places To See Before Nirvana. PartridgeIndia. ISBN 978-1-4828-9734-0.
- "Kek Lok Si". Tourism Malaysia. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
- "Stand up for moderation". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
- White, Daniel; Ron, Emmons; Eveland, Jennifer; Jen Lin-Liu (9 June 2011). Frommer's Southeast Asia. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-08767-1.