ฮิปปี้ สิงห์มณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิปปี้ สิงห์มณี
สถิติ
ชื่อจริงพิเชษฐ์ ชูทอง
น้ำหนัก105 lb (48 kg; 7.5 st)
108 lb (49 kg; 7.7 st)
ส่วนสูง1.6 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว)
เกิด14 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
รูปแบบการชกมวยฝีมือ
ค่ายมวยสิงห์มณี
เทรนเนอร์เชิด ชูทอง

ฮิปปี้ สิงห์มณี (เกิด 14 สิงหาคม 2510) เป็นอดีตยอดมวยไทย เขาเป็นแชมป์สนามมวยลุมพินี (แชมป์รุ่น 105 ปอนด์ 2 สมัย และแชมป์รุ่น 108 ปอนด์) ในยุคทองของมวยไทย เขามักจะได้รับการยกย่องจากยอดมวยคนอื่น ๆ ให้เป็นนักมวยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มวยไทย ได้รับการยกย่องในการเอาชนะคู่ต่อสู้ในรุ่นน้ำหนักที่สูงกว่า รวมถึงการผสมผสานพลังเข้ากับเทคนิคในสไตล์การชกของเขา[1]

ประวัติและอาชีพ[แก้]

ประวัติวัยเด็ก[แก้]

ฮิปปี้เกิดในครอบครัวที่ยากจนที่มีพี่น้อง 8 คน (ชาย 4 หญิง 4) เขาปล่อยให้ผมยาวและตัดเฉพาะตอนที่ผมยาวเกินไป ดังนั้นผู้คนจึงเริ่มเรียกเขาว่า "ฮิปปี้" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นชื่อบนเวทีของเขา เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาเริ่มฝึกมวยไทยในค่ายของ เชิด ชูทอง ผู้เป็นบิดาคือค่ายสิงห์มณีอันโด่งดัง ร่วมกับพี่น้องของเขาคือ ทุ่งสง และ คมพยัคฆ์ ฮิปปี้มีไฟต์แรกในอีกหลายเดือนต่อมา โดยน็อกคู่ต่อสู้ในยกที่ 3 สมัยเด็ก ๆ ฮิปปี้เป็นนักมวยชื่อดังแห่งแดนใต้ คว้าแชมป์ระดับภูมิภาคหลายรายการ คมพยัคฆ์ สิงห์มณี น้องชายของเขา ก็เป็นนักมวยชื่อดังระดับแชมป์เช่นเดียวกัน (แชมป์รุ่นมินิฟลายเวทสนามมวยลุมพินี 2 สมัย)[2][3][4]

ก่อนชกมวยในกรุงเทพฯ ฮิปปี้พบกับคู่ต่อสู้ฝีมือดีหลากหลายคนบนเวทีมวยทางภาคใต้ รวมถึงเวทีมวยนานาชาติรังสิต และสนามมวยสำโรง เมื่ออายุ 15 ปี ฮิปปี้ได้ขึ้นชกครั้งแรกในกรุงเทพฯ โดยชกกับฉัตรชัย สาสะกุล (หนึ่งธรณี เพชรยินดีในขณะนั้น) เนื่องจากฮิปปี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาก่อน เขาจึงเชื่อว่าหนึ่งธรณีเป็นคู่ต่อสู้ที่เอาชนะได้อย่างง่ายดาย เขาพิสูจน์ให้เห็นว่า หนึ่งธรณี เป็นคู่ต่อสู้ที่ต่อสู้ยาก โดยฮิปปี้เองก็อ้างว่า หนึ่งธรณี มักจะเคลื่อนไหวรอบเวทีอยู่เสมอ พวกเขาเสมอ แต่ฮิปปี้เชื่อว่าหนึ่งธรณีน่าจะชนะ หลังจากที่ฮิปปี้ปรับรูปแบบการชกเอาชนะหนึ่งธรณีในการรีแมตช์พร้อมเอาชนะ 2 พี่น้องฝาแฝด บุญหลง และ บุญหลาย ส.ธนิกุล[4]

สไตล์การชก[แก้]

ฮิปปี้เป็นมวยฝีมือที่เชี่ยวชาญในการเตะก้านคอและฟันศอก ในขณะที่มวยฝีมือส่วนใหญ่ชอบชกเพื่อคุมคู่ต่อสู้ ฮิปปี้ใช้รูปแบบการเตะให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บ และใช้ศอกที่ทำให้ใบหน้าและศีรษะของคู่ต่อสู้มีแผลแตก[5] เทคนิคโปรดของฮิปปี้คือการเตะก้านคอซึ่งเขามักใช้ในการน็อก[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. von Duuglas-Ittu, Sylvie; Yuchumphol, Suvit; และคณะ. "Top 5 Greatest Muay Thai Fighters As Picked By Legends & Great Fighters - YouTube". Youtube (ภาษาThai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. "ร้อนวิชาตอน50 "ฮิปปี้" ขอ3ไฟท์.....อยากโชว์พิษสงให้เห็น!!". siamsport.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2024-01-26.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. 123 All-Time Greatest Muay Thai Fighters of Thailand (ภาษาThai). Yod Muay Muang Siam. 2014. p. 181.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Dino, Nui; Chuthong, Pichet, "Hippy Singmanee Interview", Muaythai Iyarin (ภาษาThai), สืบค้นเมื่อ 2023-12-20{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  5. von Duuglas-Ittu, Sylvie; Chuthong, Pichet (October 4, 2017). "Bonus Session 4: Hippy Singmanee Ultra Violence". Patreon.
  6. Trefeu, Serge (2014-02-21). "HIPPY SINGMANEE". SIAM FIGHT MAG (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-20.