ฮัสเซิลบลอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮาสเซลบลาด)

วิกตอร์ ฮัสเซิลบลอด ออเบ (สวีเดน: Victor Hasselblad AB) คือบริษัทผู้ผลิตกล้องขนาดกลาง เลนส์ถ่ายภาพ และอุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพอื่น ๆ ภายใต้ชื่อ ฮัสเซิลบลอด (ที่เรียกว่ากล้องขนาดกลาง เพราะเทียบกับขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้องประเภทนี้ มีฟิล์มที่ผลิตใช้กับกล้องที่มีขนาดเล็กกว่านี้และใหญ่กว่านี้) สำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่ที่ [1] เมืองเยอเตอบอร์ย ประเทศสวีเดน ชื่อ "ฮัสเซิลบลอด" ตั้งตามนามสกุลของครอบครัวของวิกตอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทและผลิตกล้องภายใต้ชื่อ Hasselblad

เมื่อครั้งที่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ ได้นำกล้องฮัสเซิลบลอดไปใช้ในภารกิจ อพอลโล 13 [2] [3] การส่งมนุษย์อวกาศชุดแรกไปยังดวงจันทร์นั้น นอกจากภารกิจด้านการบิน การศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านดาราศาสตร์และอื่นๆ แล้วนั้นการที่ Hasselblad มีส่วนสำคัญในการบันทึกภาพและนำกลับมายังโลก สร้างความประทับใจและความตื่นตาตื่นใจจากภาพถ่ายคุณภาพดีและมีความคมชัดสูง มาสู่สายตาชาวโลกให้ได้ชมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับเป็นประวัติศาสต์อีกหน้าหนึ่งของวงการถ่ายภาพ (กล้องถ่ายภาพ เลนส์ ตลับใส่ฟิล์ม (film magazine) หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ถูกออกแบบพิเศษเพื่อใช้ในภารกิจด้านอวกาศที่ไร้น้ำหนักโดยเฉพาะ อาจแตกต่างไปจากกล้องที่ผลิตจำหน่ายในท้องตลาดไปพอสมควร) กล้องฮัสเซิลบลอดรุ่น V-Series (ที่เรียกกันว่า V ซี่รี่ย์นี้ เพราะอิงจากชัตเตอร์สปีดที่ออกแบบไว้กับเลนส์ที่งานได้สูงสุดไม่ว่าจะใช้กับสตูดิโอแฟลชหรือใช้งานตามสภาพแสงทั่วๆ ไปได้สูงสุดถึง 1/500 วินาที ซึ่งเมื่อเทียบกับกล้องรุ่นอื่นๆ ในยุคเดียวกันทำได้สูงสุด 1/90 วินาที นอกจากนี้ ฮัสเซิลบลอดยังผลิตกล้อง รุ่น 200 series 900 series 2000 series ArcBody FlexBody และอื่นๆ Hasselblad ได้ยกเลิกสายการผลิตกล้องที่ใช้กับฟิล์มทั้งหมดราวปี 2007 เนื่องจากความต้องการในการใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพลดลงเรื่อยๆ จากการเข้ามาบทบาทของกล้องดิจิทัล ฮัสเซิลบลอดยังคงพัฒนากล้องดิจิทัล H systems จนถึงปัจจุบัน กล้องฮัสเซิลบลอดยังคงมีช่างภาพมืออาชีพและมือสมัครเล่นจำนวนหนึ่ง ใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากความทนทาน การดูแลรักษาง่าย และคุณภาพของเลนส์ที่ดีเยี่ยม

ผลิตภัณฑ์ฮัสเซิลบลอด[แก้]

กล้อง[แก้]

กล้องฮาสเซลบลาดรุ่น 500 EL พร้อมเลนส์คาร์ลไซสส์ รุ่นเดียวกับกล้องที่ใช้ในภารกิจอะพอลโล
  • HK7 (พ.ศ. 2484 - 2488)
  • SKa4 (พ.ศ. 2484 - 2488)
  • 1600F (พ.ศ. 2491 - 2496)
  • 1000F (พ.ศ. 2496 - 2500)
  • V-System 500 (พ.ศ. 2500 – 2550) [1957 - 2007]
  • 2000 และ 200 System (พ.ศ. 2520 - 2547)
  • 900 System Super Wide Camera [swc] (พ.ศ. 2497 - 2549)
  • Flexbody (พ.ศ. 2538 - 2546)
  • ArcBody
  • 500 EL motorized series
  • XPan (1998–2006) (ร่วมออกแบบและผลิตโดย ฟูจิฟิล์ม ประเทศญี่ปุ่น)
  • H-System (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)[4]

เครื่อง film scanner[แก้]

ฮัสเซิลบลอดควบรวมกิจการเข้ากับบริษัทอิมาคอนในปีพ.ศ. 2547 ทำให้ Hasselbladมีผลิตภัณฑ์ เครื่องสแกนฟิล์ม รุ่นเฟล็กซ์ไทท์ (Flextight) มาทั้งหมด ในปี 2549 และได้ออกวางจำหน่ายเฟล็กซ์ไทท์ต่ออีกสองรุ่นด้วยกัน คือ รุ่น X1 และ X5

  • รุ่น X1 สามารถสแกนฟิล์มพอสสิทีฟ/เนกาทีฟ ที่ความละเอียด 6400 จุดต่อนิ้ว (dpi) ด้วยความเร็ว 60 เมกะไบต์ต่อนาที
  • รุ่น X5 เพิ่มความสามารถในการสแกนภาพขนาด A4 ได้ทั้งด้านหน้า-หลัง, ตัวป้อนสไลด์, ระบบหล่อเย็นเพื่อควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับต่ำ, ความละเอียดระดับ 8000 จุดต่อนิ้ว และความเร็ว 300 เมกะไบต์ต่อนาที [5]

โปรแกรมประมวลผลภาพโฟกัส[แก้]

นอกจากนั้น ฮัสเซิลบลอดยังผลิตโปรแกรมประมวลผลภาพชื่อ โฟกัส (Phocus) ที่บริษัทให้ความเห็นว่ามีขีดความสามารถไม่แพ้ซอฟต์แวร์ที่คล้ายกัน เช่น อะโดบี ไลท์รูม CaptureOne ฯลฯ รุ่นล่าสุดของโปรแกรมโฟกัสมีการพัฒนาสำหรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์วินโดวส์ และ แมคโอเอส ซึ่งตัวโปรแกรมใช้ประโยชน์จากคลังไฟล์ภาพดิบของตัวระบบปฏิบัติการของแมคในการประมวลผลจากกล้องดีเอสแอลอาร์ของผู้ผลิตรายอื่นได้อีกด้วย โปรแกรมโฟกัสสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ฮัสเซิลบลอด[6]

ในปีพ.ศ. 2553 ฮัสเซิลบลอดประกาศว่า โปรแกรมโฟกัสรุ่นต่อไปสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะสามารถประมวลผลไฟล์ภาพดิบสำหรับกล้องของผู้ผลิตรายอื่นได้ [7]

เอกสารเผยแพร่ของบริษัท[แก้]

ฮัสเซิลบลอดได้เผยแพร่ ฮัสเซิลบลอดฟอรัม (Hasselblad Forum) เรื่อยมาจนกระทั่งปีพ.ศ. 2550 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวารสารขนาดใหญ่ที่ชื่อ วิกตอร์ (Victor) ซึ่งมีแจกจ่ายในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟ แต่จำเป็นต้องทำการสมัครสมาชิก[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.hasselblad.com/about/history/
  2. https://apollospace.com/images/apollo-missions/apollo-13/
  3. https://www.hasselblad.com/about/history/hasselblad-in-space/
  4. Heymann, Stefan (2006). "A concise tabulated history of Hasselblad camera models". Hasselblad Historical. สืบค้นเมื่อ 2007-10-07.
  5. Michael R. Tomkins, Hasselblad press release quoted in "Hasselblad: Two new film scanners", The Imaging Resource, September 28, 2006.
  6. "Phocus 2.6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  7. "Hasselblad announces new Phocus updates and exciting new Phocus standalone options" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  8. "Hasselblad". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.