ฮอร์เฮ เดรกซ์เลร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอร์เฮ เดรกซ์เลร์
เดรกซ์เลร์ในงานประกาศผลรางวัลโกยา ครั้งที่ 32 เมื่อ ค.ศ. 2018
เกิดฮอร์เฮ อับเนร์ เดรกซ์เลร์ ปราดา
(1964-09-21) 21 กันยายน ค.ศ. 1964 (59 ปี)
มอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย
อาชีพ
  • นักดนตรี
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นักแสดง
  • แพทย์
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1996–ปัจจุบัน
คู่รักเลโอนอร์ วัตลิง
เว็บไซต์www.jorgedrexler.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ฮอร์เฮ อับเนร์ เดรกซ์เลร์ ปราดา (สเปน: Jorge Abner Drexler Prada; 21 กันยายน ค.ศ. 1964 – ) เป็นนักดนตรี, นักแสดง และแพทย์ชาวอุรุกวัยที่เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา

ใน ค.ศ. 2004 เดรกซ์เลร์ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางหลังจากกลายเป็นชาวอุรุกวัยคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ ซึ่งเขาได้รับรางวัลจากการแต่งเพลง "อัลโอโตรลาโดเดลริโอ" จากภาพยนตร์บันทึกลูกผู้ชาย ชื่อ..เช

ชีวิตตอนต้น[แก้]

เดรกซ์เลร์เกิดในมอนเตวิเดโอ[1] ซึ่งใน ค.ศ. 1939 พ่อของเขาซึ่งเป็นชาวยิวเชื้อสายเยอรมันจากเบอร์ลินได้หลบหนีไปยังอุรุกวัยพร้อมกับครอบครัวเมื่ออายุสี่ขวบเพื่อหลบหนีการประหัตประหารของนาซี[2][3] ส่วนแม่ของเขาเป็นคริสเตียนเชื้อสายสเปน, ฝรั่งเศส และโปรตุเกส[2] เดรกซ์เลร์ได้รับการเลี้ยงดูจากชาวยิว[2] แต่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ[4]

เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนในครอบครัว เขาเรียนแพทย์และกลายเป็นโสต ศอ นาสิกแพทย์ — ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหู, คอ, จมูก[5] เดรกซ์เลร์เริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุห้าขวบ ก่อนจะเข้าเรียนกีตาร์และการประพันธ์เพลง[6] แม้ว่าเขาจะมีความสนใจในดนตรี แต่เขาก็กลายเป็นหมอเหมือนบุพการีของเขาทั้งสอง[7] เขาเข้าเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ในมอนเตวิเดโอ[2] โดยในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ เดรกซ์เลร์ได้หยุดพักเพื่อโบกรถผ่านประเทศบราซิล[2] นอกจากนี้ เขายังเรียนดนตรีและได้รับการบันทึกสองอัลบัม ซึ่งเปิดตัวในอุรุกวัยเท่านั้น

อาชีพ[แก้]

ฮอร์เฮ เดรกซ์เลร์ ขณะแสดงร่วมกับทีเอที่เทศกาลร็อกอินรีโอ ค.ศ. 2011 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล

ใน ค.ศ. 1995 เขาได้รับเชิญไปมาดริดโดยโฆอากิน ซาบินา ผู้เป็นนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวสเปน ซึ่งแนะนำให้เขารู้จักกับนักร้องชาวสเปนคนสำคัญอื่น ๆ เดรกซ์เลร์ไปสเปนเพื่อบันทึกอัลบัมไบเบนใน ค.ศ. 1996 ร่วมกับนักดนตรีชาวสเปน อัลบัมไบเบนได้รวมเพลงเก่าบางเพลงจากเพลงก่อนหน้าของเขาผสมกับการแต่งเพลงใหม่ กระทั่งเขาย้ายไปสเปนและบันทึกอีกสี่อัลบัม ได้แก่: ยูเอเบ (ค.ศ. 1997), ฟรอนเตรา (ค.ศ. 1999), เซอา (ค.ศ. 2001) และเอโก (ค.ศ. 2004) ซึ่งใน ค.ศ. 2001 เดรกซ์เลร์ร่วมแต่งเพลงสองเพลงให้แก่โรซาริโอ โฟลเรส ผู้เป็นนักร้องชาวสเปน (ได้แก่ "อากัวอีซัล" และ "โรซาอีมิเอล") สำหรับอัลบัมมูชัสโฟลเรสของเธอ[8]

เพลง "อัลโอโตรลาโดเดลริโอ" ของเดรกซ์เลร์ปรากฏในภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องระดับนานาชาติเรื่องบันทึกลูกผู้ชาย ชื่อ..เช แม้ว่าเดรกซ์เลร์จะร้องเพลงนี้ในเพลงประกอบภาพยนตร์ แต่เขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงเพลงนี้ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 77 เนื่องจาก "เขาไม่ได้รับความนิยมมากพอ" ตามรายงานของเอลปาอิส ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของสเปน โดยอันโตนิโอ บันเดรัส นักแสดงชาวสเปน และการ์โลส ซันตานา นักดนตรีชาวเม็กซิกัน-อเมริกัน ได้ร้องเพลงดังกล่าวแทน[9] โดยเมื่อชนะ เดรกซ์เลร์ได้ท่องเพลงดังกล่าวสองท่อนบนโพเดียม[10][11] ซึ่งเดรกซ์เลร์เป็นชาวอุรุกวัยคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์[10]

หลังจากนั้น เขาก็เปิดตัวอัลบัม 12 เซกุนโดสเดออสกูริดัด (ค.ศ. 2006) ซึ่งมีเพลงต้นฉบับสิบเพลง และเพลงคัฟเวอร์สองเพลง ได้แก่ "ไฮแอนด์ดราย" จากวงเรดิโอเฮดของสหราชอาณาจักร และ "ดิสนีย์ลันเดีย" จากวงชีตัสของบราซิล แม้ว่าเขาจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในประเทศสเปน แต่อัลบัมของเขาก็ได้รับการบันทึกบางส่วนในประเทศอุรุกวัยร่วมกับนักดนตรีชาวอุรุกวัย ซึ่งฆวน กัมโปโดนิโก และการ์โลส กาซากูเบร์ตา อดีตสมาชิกของวงดนตรีร็อกอย่างเอลเปโยเตอาเซซิโน เคยผลิตอัลบัมของเดรกซ์เลร์ตั้งแต่ฟรอนเตราจนถึง 12 เซกุนโดสเดออสกูริดัด โดยใน ค.ศ. 2008 เขาได้เปิดตัวอัลบัมแสดงสดคู่ซึ่งบันทึกในคอนเสิร์ตต่าง ๆ ที่ประเทศสเปนอย่างการา เบ (ค.ศ. 2008) ซึ่งส่วนใหญ่เต็มไปด้วยเพลงที่ยังไม่ได้เผยแพร่ก่อนหน้านี้ กระทั่งระหว่าง ค.ศ. 2009 เดรกซ์เลร์ได้ทำงานร่วมกับชากีราซึ่งเป็นนักดนตรีชาวโคลอมเบียในซิงเกิลภาษาสเปนของเธออย่าง "ชีวูล์ฟ", "ดิดอิตอะเกน" และ "วากาวากา (ดิสไทม์ฟอร์แอฟริกา)"

เดรกซ์เลร์ได้บันทึกอัลบัมอามาร์ลาตรามา (ค.ศ. 2010) ตั้งแต่วันที่ 1–4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในมาดริด ประเทศสเปน ในเวลาเพียงสี่วัน โดยมีนักดนตรีเล่นสดในสตูดิโอ[12] โดยเดรกซ์เลร์อธิบายว่าอัลบัมนี้สนุกสนานโดยไม่มี "ความเศร้าโศกและความปวดร้าว" อย่าง 12 เซกุนโดส[13] ซึ่งอามาร์ลาตรามาได้รับการบันทึกในสตูดิโอโทรทัศน์ต่อหน้าผู้ชมกลุ่มเล็ก ๆ ที่ได้รับเลือกในการแข่งออนไลน์[12] และเขาเลือกรูปแบบนี้เพื่อหลีกเลี่ยง "ความเย็น" ของสตูดิโอบันทึกเสียง[14]

อัลบัมไบลาร์เอนลากูเอบาของเขาซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 2014 แสดงให้เห็นแง่มุมใหม่ของศิลปินที่เอนเอียงไปทางจังหวะและการเต้น ที่ตรงกันข้ามกับอัลบัมก่อน ๆ ของเขาซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นการครุ่นคิดและคิดถึงมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้ชี้ให้เห็นว่านี่เป็นอัลบัมที่แตกต่างไปจากอัลบัมที่แล้วมาก โดยอธิบายว่าเป็นอัลบัมที่ตรงกันข้ามกับ "อามาร์ลาตรามา"[15]

ครั้น ค.ศ. 2017 เขาได้เปิดตัวซัลบาบิดัสเดอิเอโล ซึ่งเป็นอัลบัมในทางดนตรีที่มีเนื้อหาซับซ้อนมากขึ้น และหากไม่ใช่เนื้อเพลง ก็มีความซับซ้อน ซึ่งในอัลบัมนี้ เดรกซ์เลร์ออกเดินทางสำรวจขีดจำกัดของกีตาร์ โดยใช้เครื่องดนตรีนั้นเพียงอย่างเดียว (หรือใช้เสียงมนุษย์) สำหรับทุกเสียงในอัลบัม (รวมถึงเครื่องดนตรีประเภทเคาะ)

ส่วนตินตาเยติเอมโปได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 2022 โดยอัลบัมนี้เป็นอัลบัมที่ท้าทายที่สุดของเดรกซ์เลร์ในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากโรคระบาดทั่วทำให้เขาแต่งเพลงได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาพยายามดิ้นรนที่จะทำเพลงให้เสร็จโดยไม่สามารถเล่นให้คนอื่นฟังได้ ซึ่งบางครั้ง เขาตั้งคำถามว่าเขาจะสามารถทำอัลบัมนี้ให้เสร็จได้หรือไม่หากไม่มีการกระทำระหว่างกันที่สำคัญเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อโรคระบาดทั่วคลี่คลายลง และสังคมก็ค่อย ๆ กลับมาเปิดใหม่ เขาก็สามารถติดต่อกับสาธารณชนได้อีกครั้งและทำอัลบัมดังกล่าวเสร็จ ธีมหนึ่งของอัลบั้มนี้คือการสัมผัสชีวิต, ความรัก และโลกโดยทั่วไปด้วยดวงตาที่สดใส ซึ่งเป็นข้อความที่สะท้อนอย่างแรงกล้าในเพลงที่ได้รับความนิยมของเขาอย่างซินตูรอนบลังโก

ดนตรีของเขาเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีดั้งเดิมของอุรุกวัย (กัมดอมเบ, มูร์กา, มิลองกา, แทงโก), บอสซาโนวา, ป็อป, แจ๊ส และดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแต่งเพลงที่เป็นส่วนตัวมากพร้อมกับการปรับแต่งบทเพลงใหม่จากต้นฉบับเดิม เนื้อเพลงยังมีบทบาทสำคัญในเพลงของเขาเช่นกัน โดยนอกเหนือจากความรักแล้ว การสะท้อนถึงอัตลักษณ์, เชื้อชาติ และศาสนายังมีอยู่ในงานของเขาอย่างต่อเนื่อง

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ก่อนหน้านี้ เดรกซ์เลร์แต่งงานกับนักร้องนักแต่งเพลงชื่ออานา ลาอัน ส่วนแฟนสาวปัจจุบันของเขาเป็นนักแสดง/นักร้องชาวสเปนชื่อเลโอนอร์ วัตลิง โดยวัตลิงอยู่ในวงมาร์ลังโก[16] และลูกพี่ลูกน้องของเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ชื่ออาเลฆันดรา เมลโฟ[17]

รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง[แก้]

นอกเหนือจากรางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แล้ว เดรกซ์เลร์ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีถึงห้าครั้งสำหรับอัลบัมเอโก (ค.ศ. 2004), 12 เซกุนโดสเดออสกูริดัด (ค.ศ. 2006), การา เบ (ค.ศ. 2008), ไบลาร์เอนลากูเอบา (ค.ศ. 2014) และซัลบาบิดัสเดอิเอโล (ค.ศ. 2017) ตลอดจนรางวัลลาตินแกรมมีห้ารางวัล, สองครั้งสำหรับสาขาอัลบัมนักร้อง-นักแต่งเพลงยอดเยี่ยม รวมถึงสาขาบันทึกเสียงแห่งปี และอีกหนึ่งรางวัลสำหรับสาขาเพลงแห่งปี นอกจากนี้ เขาได้รับรางวัลแอสแคปลาตินถึงห้ารางวัล สำหรับงานของเขาที่เขียนซิงเกิลภาษาสเปนโดยชากีรา ซึ่งเป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวโคลอมเบีย[18][19][20] เดรกซ์เลร์ยังได้รับรางวัลโกยาใน ค.ศ. 2010 จากเพลง "เกเอลโซเนโตโนสโตเมปอร์โซเปรซา" ซึ่งแต่งสำหรับภาพยนตร์สเปนเรื่องโลเป และในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับการเสนอชื่อรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นทุติยาภรณ์ จากผลงานทางดนตรี[21] โดยรวมแล้ว เดรกซ์เลร์ได้รับรางวัล 13 รางวัลจาก 46 การเสนอชื่อเข้าชิง ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 เดรกซ์เลร์คว้าสถิติแห่งปีและเพลงแห่งปีกลับบ้านสำหรับ "เตเลโฟนิอา" และอัลบัมนักร้องและนักแต่งเพลงที่ดีที่สุดสำหรับซัลบาบิดัสเดอิเอโลในงานลาตินแกรมมีส์ 2018

รายชื่อแผ่นเสียง[แก้]

  • ลาลุซเกซาเบโรบาร์ (ค่ายอายุย ค.ศ. 1992)
  • ราดาร์ (ค่ายอายุย ค.ศ. 1994)
  • ไบเบน (ค่ายเวอร์จิน ค.ศ. 1996)
  • ยูเอเบ (ค่ายเวอร์จิน ค.ศ. 1997)
  • ฟรอนเตรา (ค่ายเวอร์จิน ค.ศ. 1999)
  • เซอา (ค่ายเวอร์จิน ค.ศ. 2001)
  • เอโก (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2004)
  • 12 เซกุนโดสเดออสกูริดัด (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2006)
  • ลาเอดัดเดลซิเอโล (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2007)
  • การา เบ (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2008)
  • อามาร์ลาตรามา (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2010)
  • ไบลาร์เอนลากูเอบา (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2014)[3][22]
  • ซัลบาบิดัสเดอิเอโล (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2017)
  • 30 อาโญส (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2021)
  • ตินตาเยติเอมโป (ค่ายวอร์เนอร์ ค.ศ. 2022)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Jorge Drexler talks about his album '12 segundos de oscuridad'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-06-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Gurza, Agustin (February 27, 2005). "A songwriter's dream has disappointing end". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 7, 2012.
  3. 3.0 3.1 "From Alt.Latino, Five Conversations With Latin Music's Finest". NPR.org(Alt.Latino). 1 August 2014. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  4. "Ecos de Drexler" (ภาษาสเปน). Montevideo COMM. Desde hace mucho tiempo he perdido mi fé en todas las religiones organizadas. No creo en Dios.Al menos no de la manera en que se lo describe habitualmente.
  5. Rohter, Larry (2005-07-12). "Latin American Singer's Rainbow Coalition of Identities". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-06-22.
  6. Bonacich, Drago. "Jorge Drexler - Biography". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ February 7, 2012.
  7. Gurza, Agustin (March 2, 2005). "Opening Doors". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 7, 2012.
  8. "Muchas Flores – Rosario Flores". AllMusic. All Media Network. สืบค้นเมื่อ February 7, 2011.
  9. Hernández-Santos, Elsa (March 1, 2005). "Justicia poética para Jorge Drexler". El País (ภาษาสเปน). Prisa. สืบค้นเมื่อ April 16, 2015.
  10. 10.0 10.1 "Drexler gana primer Oscar uruguayo". BBC Mundo (ภาษาสเปน). BBC. February 28, 2005. สืบค้นเมื่อ April 16, 2015.
  11. "Drexler critica a la organización de los Oscar por prescindir de él para interpretar su canción candidata". El Mundo (ภาษาสเปน). Mundinteractivos. สืบค้นเมื่อ April 16, 2015.
  12. 12.0 12.1 Birchmeier, Jason. "Amar la Trama — Jorge Drexler — Overview". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ July 2, 2010.
  13. Ayala, Ben-Yehuda (2010-09-16). "Shakira: The 'She Wolf' Billboard Cover Story". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2013. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  14. "Jorge Drexler lanza su disco Amar la trama este martes". RPP (ภาษาสเปน). Grupo RPP S.A. March 16, 2010. สืบค้นเมื่อ September 20, 2010.
  15. Drexler, Jorge. "Making of Bailar en la Cueva". Youtube. Jorge Drexler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  16. "Leonor Watling y Jorge Drexler, padres por segunda vez". Europa Press. 6 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
  17. "Prima de Jorge Drexler expone su clara visión sobre lo que sucede en Venezuela". Todo el Campo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  18. "18th Annual El Premio ASCAP 2010 – Pop/Ballad". ASCAP Latin Awards. American Society of Composers, Authors and Publishers. March 23, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2013. สืบค้นเมื่อ April 22, 2015.
  19. "19th Annual El Premio ASCAP 2011 – Pop/Ballad". ASCAP Latin Awards. American Society of Composers, Authors and Publishers. March 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ April 22, 2015.
  20. "19th Annual El Premio ASCAP 2011 – Television". ASCAP Latin Awards. American Society of Composers, Authors and Publishers. March 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ April 22, 2015.
  21. "Jorge Drexler, nominado a los Grammy y premiado por la corona española". Ciudad (ภาษาสเปน). Argentina. September 11, 2010. สืบค้นเมื่อ April 16, 2015.
  22. "The Latin Grammys: Mexican Romance, Uruguayan Mellow And More". NPR.org(Alt.Latino). 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 15 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]