ฮหว่านหง็อก
ฮหว่านหง็อก | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไฟลัม: | Dicotyledon |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Scrophulariales |
อันดับย่อย: | Lamianae |
วงศ์: | Acanthacea |
สกุล: | Pseuderanthemum |
สปีชีส์: | P. palatiferum |
ชื่อทวินาม | |
Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk | |
ชื่อพ้อง | |
|
ฮหว่านหง็อก (เวียดนาม: hoàn ngọc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseuderanthemum palatiferum) เป็นพืชชนิดหนึ่ง ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศเวียดนาม
ประวัติศาสตร์
[แก้]ถูกค้นพบในช่วงปลายปี ค.ศ.1990 ในป่ากุกฟวงทาง ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ถือเป็นพืชชนิดใหม่ ที่ใช้ในการ รักษาโรค เนื่องจากไม่ปรากฏใน NAPRALERT (1995) ซึ่งเป็น ฐานข้อมูลพืชที่ใช้ในทางการแพทย์ท่วโลกของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา หลังจากท่พืชชนิดนี้ถูกค้นพบ พืชชนิด นี้ได้รับการปลูกอย่างกว้างขวางในประเทศเวียดนาม โดย ในประเทศไทย จากข้อมูลการบอกเล่า ถูกนำเข้ามาโดยกลุ่ม ทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนาม และต้นฮหว่านหง็อกได้ถูก นำเข้ามาในประเทศไทยกว่า 30 ปี ฮหว่านหง็อก ที่เริ่มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย เริ่มจากพื้นที่ในแถบภาคอีสาน ต้งแต่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และเมื่อเร่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ได้มีการต้งช่อเพื่อสะดวกในการเรียกมากข้น เป็นช่อไทยว่า พญาวานร ว่านลิง ว่านพญาวานร หรือต้นลิง
ลักษณะ
[แก้]เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปลือกต้นผิวเรียบสีเขียว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 8-11 คู่ ผิวใบมีขนยาวห่าง (pilose) ดอกช่อแยกแขนงแบบช่อเชิงลด (spicitiform paniculate) ใบประดับรูปแถบหรือไม่มีใบประดับ มีก้านดอกย่อย ยาว ประมาณ 0.5 มม. มีขนสั้นนุ่มท่ใบประดับก้านดอกย่อยและ กลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปแถบวงกลีบดอกสีชมพู น้ำเงิน ม่วง หรือ เกือบดำ หลอดดอกรูปทรงกระบอก ดอกปากแตร รูปห้าแฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ์ และเป็นหมัน รังไข่เรียบ
สรรพคุณพื้นบ้าน
[แก้]ในเวียดนาม จะใช้ใบในการรักษาโรคต่างๆ ในคน ได้แก่ ความดันโลหิต ท้องเสีย ไขข้ออักเสบ คออักเสบ กระเพาะ อาหารอักเสบ เนื้องอก ลำไส้อักเสบ ตกเลือด รักษาแผล ท้องผูก นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการรักษาและป้องกันโรค ในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ แก้ท้องเสียในสุกรและสุนัข รักษาแผล และ อหิวาต์ในไก่และเป็ด เป็นต้น
สารอาหาร
[แก้]ในใบของฮหว่านหง็อกประกอบด้วย สารอาหารต่างๆ ได้แก่ โปรตีน (ซึ่งพบในปริมาณ 30.8% ของนํ้าหนักแห้ง)
กรดอะมิโน ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน และทรีโอนีน
เกลือแร่ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง
สารแห้ง (%) | 13.4 |
ค่าโปรตีนโดยประมาณ (% น้ำหนักแห้ง) | 30.8 |
แร่ธาตุ (มิลลิกรัม/ใบสด 100 กรัม)
แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง โพแทสเซียม โซเดียม อะลูมิเนียม วาเนเดียม แมงกานีส นิกเกิล |
875.5
837.6 38.8 0.43 587.5 162.7 37.50 3.75 0.34 0.19 |
กรดอะมิโน (มิลลิกรัม/ใบสด 100 กรัม)
ไลซีน เมทไธโอนีน ทรีโอนีน |
30.6
29.7 61.0 |
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
[แก้]จากการศึกษาพบว่า ในใบประกอบด้วย
Flavonoids, B-sitosterol, Phytol, 3-0-(β-D-glucopy ranosyl)-sitosterol, สารผสมระหว่าง stigmasterol และ poriferasterol,
n-pentacosan-1-ol และสารผสมระหว่าง kaempferol-3-methyl ether-7-0-β–gluco side และ apigenin-7-0-β-glucoside,
1-triacontanol, salicylic acid, glycerol 1-hexadecanoate, palmitic acid และ pseuderantin ซึ่งเป็นเอนไซม์ท่ย่อยโปรตีน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (งานวิจัย)
[แก้]ฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ ซึ่งมี
ฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบหลัก มีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อ ทดลองโดยใช้ humanblood peroxidase model
ฤทธ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้าน
เชื้อแบคทีเรีย 10 ชนิด โดยเฉพาะส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทจะมี ฤทธิ์แรงต่อเชื้อ Salmonella typhi 158, [[Shigella flexneri] และ E. coli
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทและบิวทานอลจากใบ มีฤทธ์ต้าน
เชื้อรา Candida albicans และ Candida stellatoides
พิษต่อเซลล์มะเร็ง
สารสกัดเมทานอลจากใบ เป็นพิษอย่างอ่อนต่อ
เซลล์มะเร็ง B16 melanoma โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์ครึ่งหน่ง (GI50) คือ มากกว่า 100 มคก./มล.
ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด
สารสกัดเมทานอลจากใบ ความเข้มข้น 100 มคก./มล.
มีฤทธ์อย่างอ่อน (น้อยกว่า 25%) ในการยับยั้งการสร้างหลอด เลือดในเซลล์ human umbilical venous
ผลต่อสัตว์ มีการศึกษาผลของฮหว่านหง็อกท่มีต่อการเจริญเติบโต
และแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ
การทดลองที่ 1 ทดลองในลูกสุกรที่ยังไม่ได้หย่านม
โดยให้กินใบสดขนาด 1 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน
การทดลองท่ 2 ทดลองในลูกสุกรท่ไม่ได้หย่านม
โดยให้กินใบสดขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้ง ขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน
การทดลองที่ 3 ทดลองในลูกสุกรท่หย่านมแล้ว
โดยให้ กินใบสด ขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้งขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน นาน 30 วัน
พบว่าใน การทดลองท่ 1 ลูกสุกรที่กินใบฮหว่านหง็อก จะมี น้ำหนักตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell และฮีโมโกลบินสูงกว่า
ไม่พบการตายและอาการท้องเสีย เช่นเดียวกับ การทดลองที่ 2 และ 3 ลูกสุกรท่กินใบฮหว่านหง็อก จะมีน้ำหนักตัว จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell และ
ฮีโมโกลบินมากกว่ากลุ่มท่ควบคุม ลูกสุกรมีอาการท้องเสีย และตายน้อยกว่า โดยที่ผงแห้งขนาด 0.2 ก/กก. จะให้ผลดีท่สุด ต่อการเจริญเติบโตและแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก
การทดลองเปรียบเทียบผลของฮหว่านหง็อกกับยาปฏิชีวนะ Coli-norgent (ประกอบด้วย Colistine sulfate 125,000,000 UINorfloxacin2,000มก.
Gentamicinsulfate1,000มก. Trimethoprim 1,000 มก. Excipient q.s. 100 ก.) ในการ รักษาอาการท้องเสียในลูกสุกร โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ กินผงใบฮหว่านหง็อกแห้ง ขนาด 1 ก./กก. กลุ่มท่ได้รับยา Colinorgent และ Cotrimxazol ขนาด 0.1ก./กก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันพบว่า
ฮหว่านหง็อกให้ผลดีเทียบเท่ายา ปฏิชีวนะทั้ง 2 ชนิด ดังน้นจึงสามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ ในการรักษาอาการท้องเสียในลูกสุกรได้
ข้อมูลงานวิจัย
[แก้]- การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดว่านพญาวานร (Pseuderanthemum palatiferum [Nee] Radlk)
ในหนูขาวเพศผู้ Toxicological study of Hoàn Ngọc (Pseuderanthemum palatiferum [Nees] Radlk) Extracts on male Albino Rats
- ความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด ใบพญาวานร Acute Toxicity and sub-acute Toxicity of Pseuderanthemun palatiferum [Nees] Radlk Leaf Extract
- การตรวจสอบความเป็นพิษและฤทธ์ทางชีวภาพของสารสกัด จากพญาวานรเพื่อเป็นแนวทางการผลิตเป็นยาจากธรรมชาติ
Evaluation of Toxicity and Biological of Hoàn Ngọc (Pseuderathenum platiferum) Extracts for potential of Natural Medicines
โรค ท่สามารถบรรเทาหรือรักษา
กลุ่มโรค | |||
โรคกลุ่มอักเสบหรือมีบาดแผล | โรคกลุ่มปรับสมดุล | ฆ่าเชื้อ | ลดอาการปวด |
ข้ออักเสบ | ความดันโลหิตสูง | ท้องร่วง | ปวดเอว |
ช่องคออักเสบ | เบาหวาน | บิด | ปวดประจำเดือน |
กระเพาะ (อักเสบ) | ท้องผูก | ปวดข้อ | |
ลำไส้อักเสบ | โลหิตจาง | ปวดจากบาดแผล | |
ช่องปากอักเสบ | ไข้หวัด | ปวดจากมะเร็ง | |
รากฟันอักเสบ | เลือกออกง่าย | ||
เยื่อบุจมูกอักเสบ | ภูมิแพ้ | ||
เต้านมอักเสบ | นอนไม่หลับ | ||
ตับอักเสบ | ลดไขมัน ในหลอดเลือด | ||
ไตอักเสบ |
อ้างอิง
[แก้]- "ฮหว่านหง็อก" สมุนไพรน่าสนใจจากเวียดนาม[ลิงก์เสีย]
- หนังสือ "ฮหว่านหง็อก สมุนไพร มหัศจรรย์"
- http://www.baansamunpri.com เก็บถาวร 2021-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.ฮว่านง็อก.com เก็บถาวร 2016-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฮหว่านหง็อก เก็บถาวร 2008-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pseuderanthemum palatiferum ที่วิกิสปีชีส์