ข้ามไปเนื้อหา

อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลที่สวมใส่ในการลำเลียงของกองทัพเรือ

อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคล หรือ อุปกรณ์ลอยตัวส่วนบุคคล (อังกฤษ: personal flotation device; อักษรย่อ: PFD) หรือเรียกว่า เสื้อชูชีพ (อังกฤษ: life jacket, life vest), ห่วงชูชีพ (อังกฤษ: life preserver), สายชูชีพ อังกฤษ: life belt), เสื้อชูชีพแบบเป่าลม (อังกฤษ: Mae West), เครื่องสวมช่วยคนตกน้ำ (อังกฤษ: life saver), เสื้อพยุงตัว (อังกฤษ: cork jacket, buoyancy aid) หรือ ชุดลอยน้ำ (อังกฤษ: flotation suit) เป็นอุปกรณ์ลอยตัวในรูปแบบของเสื้อกั๊ก หรือชุดที่ผู้ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สวมใส่จมน้ำในแหล่งน้ำ อุปกรณ์นี้จะทำให้ผู้สวมใส่ลอยอยู่ด้วยศีรษะและปากเหนือพื้นผิว – ซึ่งพวกเขาไม่ต้องว่ายน้ำหรือลอยตัวในน้ำแนวดิ่งเพื่อที่จะอยู่ลอยไปและอาจหมดสติ

โดยมักจะมีการสวมใส่อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลบนพาหนะทางน้ำขนาดเล็กหรือสถานที่อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจลงในน้ำลึกเพื่อให้การสนับสนุนทันทีสำหรับผู้สวมใส่หากพวกเขาต้องลงเอยในน้ำ นอกจากนี้ อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลยังได้รับการเก็บไว้ในเรือขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้โดยสารสวมใส่ในกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยให้พวกเขาลอยอยู่ในน้ำได้หากถูกบังคับให้ลงน้ำหรือตกน้ำโดยไม่ตั้งใจระหว่างการอพยพ ซึ่งมักจะสวมใส่อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลสำหรับการว่ายน้ำและ/หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องให้บุคคลอยู่ในน้ำ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เพื่อความปลอดภัย (เพื่อป้องกันการจมน้ำของผู้ว่ายน้ำที่อ่อน, ผู้ที่ว่ายน้ำในสภาวะอันตราย หรือผู้ที่ว่ายน้ำอยู่ห่างไกลจากความปลอดภัย), เพื่อให้การว่ายน้ำง่ายขึ้นและออกแรงน้อยลง, เพื่อให้ผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นสามารถลงน้ำได้อย่างปลอดภัย หรือเพื่อความช่วยเหลือสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นสกีน้ำ

อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลมีให้เลือกหลายขนาดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ซึ่งการออกแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสะดวกในการสวมใส่, กิจกรรมและเงื่อนไขที่ออกแบบมาเพื่อใช้งาน ตลอดจนระดับการป้องกันที่ผู้สวมใส่ต้องการ ทั้งนี้ อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลมีสามประเภทหลัก ได้แก่: เสื้อชูชีพ, เสื้อพยุงตัว และชุดยังชีพ อุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลส่วนใหญ่มักสร้างจากชิ้นโฟม ยกเว้นเสื้อชูชีพบางตัวที่พองลม ส่วนรูปแบบพิเศษอื่น ๆ ของอุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคล ได้แก่ ตัวชดเชยการลอยตัวที่ใช้สำหรับการดำน้ำสกูบา และอุปกรณ์หนีภัยใต้น้ำ

ประวัติ

[แก้]
เสื้อพยุงตัวทั่วไปจาก ค.ศ. 1887

ตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของเสื้อชูชีพในยุคดึกดำบรรพ์สามารถย้อนไปถึงถุงที่พองตัว, หนังสัตว์ หรือน้ำเต้าที่ปิดเป็นโพรงเพื่อพยุงตัวเมื่อข้ามลำธารและแม่น้ำลึก ซึ่งบรรดาลูกเรือชาวนอร์เวย์ใช้อุปกรณ์ลอยตัวเพื่อความปลอดภัยซึ่งประกอบด้วยบล็อกไม้หรือไม้ก๊อกอย่างง่าย[ต้องการอ้างอิง]

ในจดหมายถึงเนเวิลโครนิเคิล ลงวันที่กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 อับราฮัม โบสเคต์ เสนอให้ออกเรือของราชนาวีร่วมกับ "ถุงผ้าใบแข็งแรงขนาดเมื่อใส่ไม้ก๊อกที่ถูกไสแล้วเท่ากับหมอนข้างเตียง ขดในลักษณะคล้ายปลอกคอ และกว้างพอให้ศีรษะและไหล่ผ่านได้"[1]

ส่วนใน ค.ศ. 1804 เสื้อชูชีพไม้ก๊อกมีวางจำหน่ายในนิตยสารเดอะสปอร์ติงแมกกาซีน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Naval Chronicle Volume IV". Feb 1802. สืบค้นเมื่อ 2019-09-02.
  2. "The Sporting Magazine". October 1804. pp. 149–150. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-25. สืบค้นเมื่อ 2019-07-28. It consists of two simple pieces of cork, placed in such a manner on the human body, as to assist it in swimming either on the back or belly at will...

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]