อุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์
أُسَامَة ٱبْن زَيْد
ส่วนบุคคล
เกิดป. 615–618
มรณภาพป. 680 [1]
ศาสนาอิสลาม
บุพการีซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ (พ่อ)
อุมม์ อัยมัน (แม่)
รู้จักจากผู้ติดตามของมุฮัมมัด
ญาติ
Military service
ชั้นยศผู้บัญชาการทหารของมุฮัมมัด (632)
การรบ

อุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์ (อาหรับ: أُسَامَة ٱبْن زَيْد) เป็นมุสลิมและสาวกของนบีมุฮัมมัดที่สำคัญคนหนึ่ง เขาเป็นบุตรของซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ ทาสที่เป็นไทและบุตรบุญธรรมของมุฮัมมัด กับอุมม์ อัยมัน[2]

ภูมิหลังและชีวิตช่วงต้น[แก้]

อุซามะฮ์เป็นบุตรของบะเราะกะฮ์ (อุมม์ อัยมัน) ชาวอบิสซีเนีย กับซํยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ สามีคนที่สองของเธอ พ่อแม่ของเขาแต่งงาน "หลังเข้ารับอิสลาม"[3] และอุซามะฮ์เกิดก่อนการฮิจเราะห์

แม่ของอุซามะฮ์เป็นทาสในบ้านของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบกับอามินะฮ์ บินต์ วะฮบ์ พ่อแม่ของมุฮัมมัด หลังอามินะฮ์เสียชีวิต เธอจึงกลายเป็นทาสของมุฮัมมัด[4] บะเราะกะฮ์ดูแลมุฮัมมัดและย้ายไปอยู่ในบ้านของอับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม ปู่ของท่านที่มักกะฮ์ โดยเธอดูแลท่านตั้งแต่วัยเด็ก[5] และหลังจากนั้น[6]ในวัยผู้ใหญ่[7] เมื่อมุฮัมมัดแต่งงานกับเคาะดีญะฮ์ ท่านจัดการปลดปล่อยบะเราะกะฮ์และจัดงานแต่งงานให้แก่เศาะฮาบะฮ์นาม อุบัยด์ อิบน์ ซัยด์ จากบะนูค็อซร็อจญ์ สามีคนแรกของเธอ โดยให้กำเนิดอัยมัน อิบน์ อุบัยด์ ซึ่งทำให้เธอรู้จักกันในชื่อ "อุมม์ อัยมัน" ("มารดาของอัยมัน")[8]

ซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ พ่อของอุซามะฮ์ เป็นเศาะฮาบะฮ์และบุตรบุญธรรมของมุฮัมมัด โดยทั่วไปถือว่าเป็นคนที่สามที่เข้ารับอิสลาม (หลังจากเคาะดีญะฮ์ ภรรยาของท่าน และอะลี ลูกพี่ลูกน้อง)[9] เขาเป็นชาวอาหรับจากเผ่าบะนูกัลบ์สาขา Udhra แห่งนัจญด์ คาบสมุทรอาหรับตอนกลาง[10][11] ส่วน Suda bint Thaalaba แม่ของซัยด์มาจากเผ่าฏ็อยย์ สาขา Maan[10][12]

อุซามะฮ์มีความสัมพันธ์ใกล้ชืดกับมุฮัมมัดและร่วมสู้รบกับมุฮัมมัดในยุทธการที่ฮุนัยน์[13]

การทัพของอุซามะฮ์[แก้]

การทัพของอุซามะฮ์เป็นการทัพของรัฐเคาะลีฟะฮ์มุสลิมยุคแรกที่นำโดยอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 โดยที่กองทัพมุสลิมบุกเข้าซีเรียของไบแซนไทน์[14][15]

ชีวิตช่วงหลัง[แก้]

หลังมุฮัมมัดเสียชีวิต อุซามะฮ์ตั้งถิ่นฐานที่ Wadi al-Qura ภายหลังย้ายไปมะดีนะฮ์ เขาเสียชีวิตที่ al-Jurf "ในช่วงสิ้นสุดของสมัยมุอาวิยะฮ์" คือ ประมาณ ค.ศ. 680[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Muhammad al-Jarir al-Tabari, Al-Tarikh al-Rusul wa'l-Muluk. Translated by Ella Landau-Tasseron (1998). Volume 39: Biographies of the Companions and Their Successors (Albany: State University of New York Press), 65.
  2. Baladhuri, vol.1, p. 96
  3. Bewley/Saad vol. 8 p. 157.
  4. Ibn Sa`d, vol. 8, p. 223; Baladhuri, vol.1, p. 96
  5. Ibn Qutaybah, p. 150
  6. Baladhuri, vol.1, p. 472
  7. Ibn Hajar, al-Ithaba, vol.8, p. 380
  8. Ibn Sa`d, vol. 8, p. 223; Ibn Sa`d, vol. 4, p. 61
  9. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. p. 53.
  10. 10.0 10.1 Landau-Tasseron/Tabari p. 6.
  11. Lecker, p. 773.
  12. Zuhri, p. 177; al-Tabarani, vol. 25, p. 86
  13. mahallati, vol.2, p. 26
  14. Abu Khalil, Shawqi (1 March 2004). Atlas of the Prophet's biography: places, nations, landmarks. Dar-us-Salam. p. 249. ISBN 978-9960897714.
  15. Gil, A history of Palestine, 634-1099, p. 31.