อีแทมบูทอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีแทมบูทอล
โครงสร้างทางเคมีของอีแทมบูทอล (ด้านบน) และรูปถ่ายของผลึกอีแทมบูทอล (ด้านล่าง)
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าMyambutol, Etibi,[2] Servambutol, others
ชื่ออื่น(2S,2’S)-2,2’-(Ethane-1,2-diyldiimino)dibutan-1-ol[3]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด) [1]
ช่องทางการรับยาทางปาก
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน20–30%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ3–4 ชั่วโมง
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.737
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC10H24N2O2
มวลต่อโมล204.314 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • CC[C@@H](CO)NCCN[C@@H](CC)CO
  • InChI=1S/C10H24N2O2/c1-3-9(7-13)11-5-6-12-10(4-2)8-14/h9-14H,3-8H2,1-2H3/t9-,10-/m0/s1 checkY
  • Key:AEUTYOVWOVBAKS-UWVGGRQHSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม

อีแทมบูทอล (อังกฤษ: Ethambutol, EMB, E) เป็นยาที่มักใช้สำหรับรักษาวัณโรค มักให้ร่วมกับยารักษาวัณโรคอื่น ๆ เช่น ไอโซไนอะซิด, ไรแฟมพิซิน และไพราซินาไมด์[4] นอกจากนี้ยังอาจใช้ในการรักษา Mycobacterium avium complex และ Mycobacterium kansasii[1] ใช้ยาด้วยการรับประทานทางปาก[1]

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ปวดข้อ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และรู้สึกเหนื่อยล้า[1] ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับตับและอาการแพ้ [3] ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่เป็นโรคเส้นประสาทตาอักเสบ มีปัญหาเกี่ยวกับไตอย่างมาก หรืออายุต่ำกว่าห้าขวบ[4] การใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่พบว่าก่อให้เกิดอันตราย[4][5] ในสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยาสหรัฐได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสายตาในทารกหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์[1] เชื่อกันว่าอีแทมบูทอลทำงานโดยขัดขวางการเมแทบอลิซึมของแบคทีเรีย[1]

อีแทมบูทอลถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2504[6] อยู่ในรายชื่อยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก[7] และมีจำหน่ายเป็นยาสามัญ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Ethambutol Hydrochloride". drugs.com. The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2016. สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  2. 2.0 2.1 Hamilton R (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia (Deluxe Lab-Coat ed.). Jones & Bartlett Learning. p. 48. ISBN 9781284057560.
  3. "ethambutol (CHEBI:4877)". Chemical Entities of Biological Interest. UK: European Bioinformatics Institute. 18 August 2010. Main. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2014. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012 – โดยทาง ebi.ac.uk.
  4. 4.0 4.1 4.2 Stuart MC, Kouimtzi M, Hill SR, บ.ก. (2009). WHO Model Formulary 2008. World Health Organization. pp. 136, 138, 588, 603. hdl:10665/44053. ISBN 9789241547659.
  5. "Prescribing medicines in pregnancy database". TGA.gov.au. Therapeutic Goods Administration, Department of Health, Australia. 3 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  6. Landau R, Achilladelis B, Scriabine A (1999). Pharmaceutical Innovation: Revolutionizing Human Health (ภาษาอังกฤษ). Chemical Heritage Foundation. p. 171. ISBN 9780941901215. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20.
  7. World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. 2019. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.