ข้ามไปเนื้อหา

อิมโฮเทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิมโฮเตป)
อิมโฮเทป
อียิปต์โบราณ: Jj m ḥtp
ที่ฝังศพซักกอเราะฮ์ (เป็นไปได้)
ชื่ออื่นAsclepius (ชื่อในภาษากรีก) Imouthes (ชื่อในภาษากรีก)
อาชีพอัครเสนาบดีของฟาโรห์โจเซอร์ และนักบวชชั้นสูงแห่งรา
ปีปฏิบัติงานป. ศตวรรษที่ 27 ก่อน ค.ศ.
มีชื่อเสียงจากเป็นสถาปนิกในพีระมิดขั้นบันไดของโจเซอร์
อิมโฮเทป ในไฮเออโรกลีฟ
M18G17R4
X1 Q3

Imhotep
Jj m ḥtp
เขาผู้มาอย่างสันติ
M18G17R4

Jj m ḥtp
M17M17G17R4

Jj m ḥtp
กรีก แบบแมนิโธ:
Africanus: Imouthes
Eusebius: หายไป
Eusebius,  AV:  หายไป

อิมโฮเทป (อักษรโรมัน: Imhotep, /ɪmˈhtɛp/;[1] อียิปต์โบราณ: ỉỉ-m-ḥtp "(ผู้ที่) มาอย่างสันติ";[2] รุ่งเรือง ปลายศตวรรษที่ 27 ก่อน ค.ศ.) เป็นอัครเสนาบดีอียิปต์ของฟาโรห์โจเซอร์ น่าจะเป็นสถาปนิกของ พีระมิดขั้นบันไดของโจเซอร์ และนักบวชชั้นสูงแห่งเทพสุริยะ รา ที่แฮลิอูโปลิส แทบไม่ค่อยมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอิมโฮเทป แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตไป 3,000 ปี เขาได้รับการยกย่องและถูกยกสถานะเป็นเทพ

ธรรมเนียมที่มีมาช้านานหลังจากการเสียชีวิตของอิมโฮเทปถือว่าเขาเป็นนักเขียนตำราภูมิปัญญาผู้ยิ่งใหญ่[3] และโดยเฉพาะในฐานะแพทย์[4][5][6][7][8] ไม่มีข้อมูลใดในชีวิตของเขากล่าวถึงความสามารถเหล่านี้ และไม่มีข้อความใดกล่าวถึงชื่อของเขาในช่วง 1,200 ปีแรกหลังเสียชีวิต[9][10] อ้างอิงแรกสุดที่กล่าวถึงความสามารถในการรักษาของอิมโฮเทปมาจากสมัยราชวงศ์ที่ 13 (ป. 380–343 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นต้นมา ซึ่งเท่ากับประมาณ 2,200 ปีหลังเสียชีวิต[10]:  127 [3]:  44 

อิมโฮเทปเป็นชาวอียิปต์ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไม่กี่คนที่ถูกยกสถานะเป็นเทพหลังเสียชีวิต และจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์เกือบสิบคนที่ได้สถานะนี้[11][12] ศูนย์กลางลัทธิของเขาอยู่ที่เมมฟิส ไม่มีใครทราบที่ตั้งสุสานของเขา แม้จะมีความพยายามในการค้นหาก็ตาม[13] โดยมีฉันทามติว่าสุสานของเขาน่าจะซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งในซักกอเราะฮ์

ประวัติ

[แก้]

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอิมโฮเทปได้รับการยืนยันจากจารึกร่วมสมัยสองแผ่นที่สร้างขึ้นในช่วงชีวิตของเขาบนฐานหรือฐานของหนึ่งในรูปปั้นของฟาโรห์โจเซอร์ (Cairo JE 49889) และปรากฏในgraffito บนกำแพงล้อมรอบพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์เซเคมเค็ตที่สร้างยังไม่เสร็จ[14][15] จารึกอันหลังกล่าวแนะว่าอิมโฮเทปมีชีวิตหลังโจเซอร์สวรรคตไม่กี่ปี และรับช่วงต่อในการสร้างพีระมิดของฟาโรห์เซเคมเค็ตซึ่งถูกทิ้งร้างเนื่องจากรัชสมัยที่สั้น[14]

สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

[แก้]
พีระมิดขั้นบันไดของโจเซอร์

อิมโฮเทปเป็นหนึ่งในอัครมหาเสนาบดีของฟาโรห์โจเซอร์ นักไอยคุปต์วิทยาเชื่อว่าเขาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างพีระมิดโจเซอร์ พีระมิดขั้นบันไดที่ซักกอเราะฮ์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่ 3[16] เขาอาจต้องรับผิดชอบต่อการใช้งานเสาหินในการรองรับอาคารครั้งแรกเท่าที่รู้จัก[17] แม้จะมีการรับรองในภายหลัง ฟาโรห์อียิปต์ไม่ยกให้อิมโฮเทปเป็นผู้ออกแบบพีระมิดขั้นบันไดหรือเป้นผู้คิดค้นสถาปัตยกรรมหิน[18]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

อิมโฮเทปเป็นชื่อตัวละครฝ่ายร้ายในภาพยนตร์เดอะมัมมี่ใน ค.ศ. 1932[19] ภาพยนตร์รีเมคใน ค.ศ. 1999 และภาคต่อใน ค.ศ. 2001 ทั้งหมดเป็นของยูนิเวอร์แซล[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Imhotep". Collins Dictionary. สืบค้นเมื่อ September 25, 2014.
  2. Ranke, Hermann (1935). Die Ägyptischen Personennamen [Egyptian Personal Names] (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Vol. Bd. 1: Verzeichnis der Namen. Glückstadt: J.J. Augustin. p. 9. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
  3. 3.0 3.1 Wildung, D. (1977). Egyptian Saints: Deification in pharaonic Egypt. New York University Press. p. 34. ISBN 978-0-8147-9169-1.
  4. Osler, William (2004). The Evolution of Modern Medicine. Kessinger Publishing. p. 12.
  5. Musso, C.G. (2005). Imhotep: The dean among the ancient Egyptian physicians.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  6. Willerson, J.T.; Teaff, R. (1995). "Egyptian Contributions to Cardiovascular Medicine". Tex Heart I J: 194.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  7. Highfield, Roger (10 May 2007). "How Imhotep gave us medicine". The Telegraph. London, UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022.
  8. Herbowski, L. (2013). "The maze of the cerebrospinal fluid discovery". Anat Res Int. 2013: 5. doi:10.1155/2013/596027. PMC 3874314. PMID 24396600.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  9. Teeter, E. (2011). Religion and Ritual in Ancient Egypt. p. 96.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  10. 10.0 10.1 Baud, M. (2002). Djéser et la IIIe dynastie [Djoser and the Third Dynasty] (ภาษาฝรั่งเศส). p. 125.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  11. Troche, Julia (2021). Death, Power and Apotheosis in Ancient Egypt: The Old and Middle Kingdoms. Ithaca: Cornell University Press.
  12. cf. Albrecht, Felix; Feldmeier, Reinhard, บ.ก. (2014). The Divine Father: Religious and philosophical concepts of divine parenthood in antiquity (e-book ed.). Leiden, NL ; Boston, MA: Brill. p. 29. ISBN 978-90-04-26477-9.
  13. "Lay of the Harper". Reshafim.org.il. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
  14. 14.0 14.1 Malek, Jaromir (2002). "The Old Kingdom". ใน Shaw, Ian (บ.ก.). The Oxford History of Ancient Egypt (paperback ed.). Oxford University Press. pp. 92–93.
  15. Kahl, J. (2000). "Old Kingdom: Third Dynasty". ใน Redford, Donald (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt. Vol. 2 (1st ed.). p. 592. ISBN 0195138228.
  16. Kemp, B.J. (2005). Ancient Egypt. Routledge. p. 159.
  17. Baker, Rosalie; Baker, Charles (2001). Ancient Egyptians: People of the pyramids. Oxford University Press. p. 23. ISBN 978-0195122213.
  18. Romer, John (2013). A History of Ancient Egypt from the First Farmers to the Great Pyramid. Penguin Books. pp. 294–295. ISBN 9780141399713.
  19. Reid, Danny (24 April 2014). "The Mummy (1932)". Pre-Code.com. Review, with Boris Karloff and David Manners. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  20. Holden, Stephen. "Sarcophagus, be gone: Night of the living undead". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016 – โดยทาง NYTimes.com.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Cormack, Maribelle (1965). Imhotep: Builder in stone. New York, NY: Franklin Watts.
  • Dawson, Warren R. (1929). Magician and Leech: A study in the beginnings of medicine with special reference to ancient Egypt. London, UK: Methuen.
  • Garry, T. Gerald (1931). Egypt: The home of the occult sciences, with special reference to Imhotep, the mysterious wise man and Egyptian god of medicine. London, UK: John Bale, Sons and Danielsson.
  • Hurry, Jamieson B. (1978) [1926]. Imhotep: The Egyptian god of medicine (2nd ed.). New York, NY: AMS Press. ISBN 978-0-404-13285-9.
Hurry, Jamieson B. (2014) [1926]. Imhotep: The Egyptian god of medicine (reprint ed.). Oxford, UK: Traffic Output. ISBN 978-0-404-13285-9.
  • Wildung, Dietrich (1977). Egyptian Saints: Deification in pharaonic Egypt. New York University Press. ISBN 978-0-8147-9169-1.
Wildung, Dietrich (1977). Imhotep und Amenhotep: Gottwerdung im alten Ägypten [Imhotep and Amenhotep: Deification in ancient Egypt] (ภาษาเยอรมัน). Deustcher Kunstverlag. ISBN 978-3-422-00829-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]