อินเทอร์เฟอโรเมทรี
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
อินเทอร์เฟอโรเมทรี (อังกฤษ: Interferometry) คือศาสตร์ที่กล่าวถึงเทคนิคหลายประการในการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถอดความข้อมูลที่อยู่ในรูปคลื่น เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับคลื่นเรียกว่า อินเทอร์เฟอโรมิเตอร์ (อังกฤษ: interferometer) อินเทอร์เฟอโรเมทรี เป็นเทคนิคการตรวจสอบที่สำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์ในภาคสนาม การศึกษาไฟเบอร์ออพติก มาตรวิทยาทางวิศวกรรม สมุทรศาสตร์ วิทยาแผ่นดินไหว กลศาสตร์ควอนตัม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์พลาสมา การตรวจจับในระยะไกล รวมถึงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลทางชีววิทยา[1] [2]
อินเทอร์เฟอโรเมทรี อาศัยหลักการพื้นฐานของคลื่นที่แตกต่างกัน เมื่อนำเข้ามารวมกันในวิธีที่ทำให้เกิดผลรวม ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีความหมายบางอย่าง ที่สามารถวิเคราะห์สถานะต้นกำเนิดของคลื่นเหล่านั้นได้ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคลื่นสองชนิดที่มีความถี่เดียวกันมารวมกัน รูปแบบผลลัพธ์จะสามารถอธิบายได้โดย เฟสของคลื่น ที่แตกต่างกันของคลื่นทั้งสองนั่นเอง คลื่นที่มีเฟสเดียวกัน (in phase) จะเสริมแรงกัน ขณะที่คลื่นที่มีเฟสตรงข้ามกัน (out of phase) จะหักล้างกัน อินเทอร์เฟอโรมิเตอร์ส่วนมากใช้แสง หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในรูปแบบอื่น ๆ ในการศึกษา[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bunch, Bryan H; Hellemans, Alexander (April 2004). The History of Science and Technology. Houghton Mifflin Harcourt. p. 695. ISBN 9780618221233.
- ↑ Drug Discovery World, 2006, 68-82
- ↑ Pal, Bishnu P. (1992). Fundamentals of Fibre Optics in Telecommunication and Sensor Systems. New Delhi: New Age International. p. 663 (read section 3). ISBN 8122404693.