อาเซียนพาราเกมส์ 2020
เมืองเจ้าภาพ | |
---|---|
คำขวัญ | "We Win As One" เราชนะเป็นหนึ่งเดียว |
นักกีฬาเข้าร่วม | 2,000 (วางแผน)[1] (คาดหวัง) |
ชนิด | 500 ในกีฬา 16 ชนิด |
พิธีเปิด | 3 ตุลาคม ค.ศ. 2020 (ถูกยกเลิก) |
พิธีปิด | 9 ตุลาคม ค.ศ. 2020 (ถูกยกเลิก) |
ประธานพิธีเปิด | โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดี (คาดหวัง) |
ประธานพิธีปิด | โรดรีโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (คาดหวัง) |
นักกีฬาปฏิญาณ | Francesca Altomonte (คาดหวัง) |
ผู้ตัดสินปฏิญาณ | Daren Vitug (คาดหวัง) |
ผู้จุดคบเพลิง | แมนนี ปาเกียว Nesthy Petecio (วางแผน) |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬา Philippines Arena (พิธีเปิด) (ที่คาดหวัง) สนามกรีฑาเมืองนิวคราล์ก (พิธีปิด) (ที่คาดหวัง) |
เว็บไซต์ทางการ | ASEAN Para Games |
อาเซียนพาราเกมส์ 2020 เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 10 ที่ถูกยกเลิก เมื่อปี ค.ศ. 2019 อาเซียนพาราเกมส์ตั้งใจจัดการแข่งขันในปีนี้แต่เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศฟิลิปปินส์ จึงทำให้ต้องถูกยกเลิกไปและเลื่อนไปที่ปี ค.ศ. 2020 แทน
เดิมกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 3 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 2020 แต่เนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศฟิลิปปินส์ การแข่งขันจึงต้องถูกยกเลิกไปเนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่นและถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพอาเซียนพาราเกมส์ โดยครั้งแรกคือในปี ค.ศ. 2005[2]
เดิมกำหนดการแข่งขันกีฬาในสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคม ค.ศ. 2020[3] แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 แทน ประมาณ 3 เดือนหลังจากซีเกมส์ 2019 เนื่องจากข้อจำกัดทางการเงินและการขนส่ง แม้ว่าจะเหลือเวลาอีกเพียง 5 เดือนก่อนการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 กิจกรรมถูกเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 2 เป็นวันที่ 3 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 2020 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ตามมาด้วยการเลื่อนการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ด้วยเหตุผลเดียวกัน[4]
การแข่งขันดังกล่าวถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม หลังจากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์นำเงินทุนสำหรับการจัดอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 10 ไปจัดสรรเพื่อต่อต้านผลกระทบของการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศฟิลิปปินส์แทน
สนามกีฬาหลัก
[แก้]- สนามกีฬา Philippines Arena (พิธีเปิด)
- สนามกรีฑาเมืองนิวคลาร์ก (พิธีปิด)
การแข่งขัน
[แก้]ประเทศที่เข้าร่วม
[แก้]ประเทศที่เข้าร่วมกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ 2020 มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์กีฬาคนพิการอาเซียน[5]
- บรูไน (26)
- กัมพูชา (76)
- อินโดนีเซีย (306)
- ลาว (31)
- มาเลเซีย (215)
- พม่า (108)
- ฟิลิปปินส์ (274) (เจ้าภาพ)
- สิงคโปร์ (61)
- ไทย (317)
- ติมอร์-เลสเต (10)
- เวียดนาม (109)
หมายเหตุ: จำนวนนักกีฬา ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2019[5]
สรุปเหรียญรางวัล
[แก้]เนื่องจากถูกยกเลิกจึงไม่มีการจัดการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์จึงไม่มีการสรุปเหรียญรางวัล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ASEAN Para Games in Manila". Manila Standard. 27 เมษายน 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2018.
- ↑ "Manila to host 10th ASEAN Para Games". Manila Bulletin. 27 เมษายน 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2018.
- ↑ "Meeting set for Philippines' hosting of 10th ASEAN Para Games". The Philippine Star. 4 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
- ↑ "ASEAN Para Games postponed to October". ABS-CBN News. 18 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
- ↑ 5.0 5.1 "Thailand gunning for top spot at Philippines 2020". Bangkok Post. 18 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาเซียนพาราเกมส์ 2020