อาหารเบาหวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาหารเบาหวาน (อังกฤษ: Diabetic diet) เป็นแบบรูปอาหารซึ่งผู้ป่วยเบาหวานหรือมีภาวะน้ำตาลสูงในเลือดใช้จัดการโรคเบาหวาน

ไม่มีแบบรูปอาหารเดี่ยวที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทุกชนิดทุกคน สำหรับผู้ป่วยน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่มีเบาหวานชนิดที่ 2 อาหารลดน้ำหนักทุกชนิดที่บุคคลยึดถือและสามารถทำให้น้ำหนักลดได้ถือว่าได้ผล[1][2] เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักซึ่งเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสำคัญ การถกเถียงใหญ่สุดคือคาร์โบไฺฮเดรตในอาหารควรมีปริมาณเท่าใด ทังนี้ เนื่องจากแม้การลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจะนำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่จะขัดกับมุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับเดิมว่าคาร์โบไฮเดรตควรเป็นแหล่งแคลอรีหลัก โดยทั่วไปมีการแนะนำสัดส่วนแคลอรีที่ได้รับจากคาร์โบไฮเดรตอยู่ในพิสัยระหว่าง 20% ถึง 45%[3][4][5] แต่การแนะนำสามารถแตกต่างกันได้ตั้งแต่ 16% ถึง 75%[6]

การแนะนำที่มีการตกลงกันมากที่สุดคือ อาหารควรมีน้ำตาลต่ำและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ขณะที่มีใยอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการส่งเสริมให้ลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (GI) แม้การแนะนำนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Emadian, Amir; Andrews, Rob C.; England, Clare Y.; Wallace, Victoria; Thompson, Janice L. (2015-11-28). "The effect of macronutrients on glycaemic control: a systematic review of dietary randomised controlled trials in overweight and obese adults with type 2 diabetes in which there was no difference in weight loss between treatment groups". The British Journal of Nutrition. 114 (10): 1656–1666. doi:10.1017/S0007114515003475. ISSN 1475-2662. PMC 4657029. PMID 26411958.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  2. Grams, J.; Garvey, W. Timothy (June 2015). "Weight Loss and the Prevention and Treatment of Type 2 Diabetes Using Lifestyle Therapy, Pharmacotherapy, and Bariatric Surgery: Mechanisms of Action". Current Obesity Reports. 4 (2): 287–302. doi:10.1007/s13679-015-0155-x. ISSN 2162-4968. PMID 26627223.
  3. http://diabetes.diabetesjournals.org/content/53/9/2375.full
  4. http://www.joslin.org/info/diet_and_diabetes_a_personalized_approach.html
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-26. สืบค้นเมื่อ 2017-10-26.
  6. Katsilambros N, Liatis S, Makrilakis K (2006). "Critical Review of the International Guidelines: What Is Agreed upon – What Is Not?". Nestlé Nutrition Workshop Series: Clinical & Performance Program. 11: 207–18, discussion 218. doi:10.1159/000094453. ISBN 3-8055-8095-9. PMID 16820742.
  7. John McDougall Glycemic Index – Not Ready for Prime Time, The McDougall Newsletter, July 2006.