เบาหวานชนิดที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบาหวานชนิดที่ 2
ชื่ออื่นNoninsulin-dependent diabetes mellitus (NIDDM), adult-onset diabetes[1]
สัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงินซึ่งเป็นสากลสำหรับโรคเบาหวาน[2]
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก น้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ หิวบ่อย[3]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวาน ไตวาย การตัดอวัยวะออก[1][4][5]
การตั้งต้นวัยกลางคนหรือสูงอายุ[6]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[6]
สาเหตุโรคอ้วน การขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม[1][6]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด[3]
การป้องกันการรักษาน้ำหนักปกติ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม[1]
การรักษาการเปลี่ยนแปลงอาหาร เมตฟอร์มิน อินซูลิน การผ่าตัดโรคอ้วน[1][7][8][9]
พยากรณ์โรคการคาดหมายคงชีพสั้นลง 10 ปี[10]
ความชุก392 ล้านคน (พ.ศ. 2558)[11]

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นความผิดปกติของเมแทบอลิซึมระยะยาวซึ่งมีลักษณะคือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด การดื้ออินซูลิน และการขาดอินซูลินโดยสัมพัทธ์[6] อาการโดยทั่วไปได้แก่ กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะมากและน้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้[3] นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการหิวบ่อย รู้สึกเหนื่อย และปวดไม่หาย[3] อาการมักมาอย่างช้า ๆ[6] ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวานซึ่งอาจเป็นเหตุให้ตาบอด ไตวายและมีการไหลเวียนโลหิตในแขนขาน้อยซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะออก[1] อาจเกิดภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง (hyperosmolar hyperglycemic state) ทว่า ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis) พบไม่บ่อย[4][5]

เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย[1] บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป[6] มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานแห่งครรภ์เป็นหลัก[1] ในเบาหวานชนิดที่ 1 มีระดับอินซูลินทั้งหมดลดลงเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเสียเซลล์บีตาที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหตุภาวะภูมิต้านตนเอง[12][13] การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้โดยการตรวจเลือดซึ่งมีหลายวิธี เช่น การตรวจระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose) การทดสอบความทนกลูโคสทางปาก (oral glucose tolerance test) หรือการตรวจระดับฮีโมโกลบินไกลเคต (glycated hemoglobin, A1C)[3]

เบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้ส่วนหนึ่งโดยการรักษาน้ำหนักให้ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การรักษามีการออกกำลังกายและเปลี่ยนแปลงอาหาร[1] หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้ยาเมตฟอร์มิน (metformin)[7][14] หลายคนอาจลงเอยด้วยการฉีดอินซูลิน[9] ในผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ทว่า อาจไม่จำเป็นในรายที่รับประทานยา[15] การผ่าตัดโรคอ้วน (bariatric surgery) มักทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นในผู้ป่วยอ้วน[8][16]

อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี พ.ศ. 2503 ในทำนองเดียวกับโรคอ้วน[17] ในปี พ.ศ. 2558 มีประชากรประมาณ 392 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับประมาณ 30 ล้านคนในปี พ.ศ. 2528[11][18] ตรงแบบโรคเริ่มในวัยกลางคนหรือสูงอายุ[6] แม้อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 กำลังเพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว[19][20] เบาหวานชนิดที่ 2 สัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพสั้นลงสิบปี[10]

สาเหตุ[แก้]

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งส่วนที่เป็นจากพันธุกรรม และส่วนที่เป็นจากวิถีชีวิต[21][22] ซึ่งบางปัจจัยก็สามารถควบคุมได้ เช่น อาหาร ความอ้วน บางปัจจัยก็ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุมาก เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชาย และพันธุกรรม[10] ภาวะโภชนาการของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็อาจมีส่วน โดยอาจผ่านกลไกการเติมหมู่เมทิลให้กับดีเอ็นเอของทารกในครรภ์[23] แบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้บางชนิดถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ Prevotella copri และ Bacteroides vulgatus[24]

วิถีชีวิต[แก้]

ปัจจัยจากวิถีชีวิตมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมาก โดยปัจจัยที่โดดเด่นที่สุดคือ โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย กินอาหารไม่เหมาะสม ความเครียด และการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง[10][25]

พันธุกรรม[แก้]

มียีนหลายยีนที่สัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่ได้มียีนใดยีนหนึ่งที่ทำให้เป็นเบาหวาน แต่ความผิดปกติของยีนแต่ละตัวต่างเพิ่มโอกาสที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 72% ที่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม

โรคและยาต่าง ๆ[แก้]

มียาและโรคบางอย่างที่เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เช่น กลูโคคอร์ติคอยด์ ไทอะไซด์ เบตาบล็อกเกอร์ ยาต้านจิตเวชนอกแบบ และสแตติน คนที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานที่ชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้น โรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับเบาหวานชนิดที่ 2 เช่น สภาพโตเกินไม่สมส่วน กลุ่มอาการคุชชิง ไทรอยด์ทำงานเกิน ฟีโอโครโมไซโตมา และมะเร็งบางชนิด เช่น กลูคากอโนมา เป็นต้น ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โรคการกินผิดปกติบางโรคอาจมีผลต่อเบาหวานชนิดที่ 2 โดยบูลิเมียเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวาน และอะนอเร็กเซียลดโอกาสเป็นเบาหวาน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Diabetes Fact sheet N°312". World Health Organization. สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2012.
  2. "Diabetes Blue Circle Symbol". International Diabetes Federation. 17 มีนาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Diagnosis of Diabetes and Prediabetes". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2016.
  4. 4.0 4.1 Pasquel, FJ; Umpierrez, GE (November 2014). "Hyperosmolar hyperglycemic state: a historic review of the clinical presentation, diagnosis, and treatment". Diabetes Care. 37 (11): 3124–31. doi:10.2337/dc14-0984. PMC 4207202. PMID 25342831.
  5. 5.0 5.1 Fasanmade, OA; Odeniyi, IA; Ogbera, AO (June 2008). "Diabetic ketoacidosis: diagnosis and management". African journal of medicine and medical sciences. 37 (2): 99–105. PMID 18939392.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "Causes of Diabetes". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2016.
  7. 7.0 7.1 Maruthur, NM; Tseng, E; Hutfless, S; Wilson, LM; Suarez-Cuervo, C; Berger, Z; Chu, Y; Iyoha, E; Segal, JB; Bolen, S (19 เมษายน 2016). "Diabetes Medications as Monotherapy or Metformin-Based Combination Therapy for Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis". Annals of Internal Medicine. 164: 740–51. doi:10.7326/M15-2650. PMID 27088241. (ต้องรับบริการ)
  8. 8.0 8.1 Cetinkunar, S; Erdem, H; Aktimur, R; Sozen, S (16 June 2015). "Effect of bariatric surgery on humoral control of metabolic derangements in obese patients with type 2 diabetes mellitus: How it works". World journal of clinical cases. 3 (6): 504–9. doi:10.12998/wjcc.v3.i6.504. PMC 4468896. PMID 26090370.
  9. 9.0 9.1 Krentz, Andrew J.; Bailey, Clifford J. (กุมภาพันธ์ 2005). "Oral antidiabetic agents: current role in type 2 diabetes mellitus". Drugs. 65 (3): 385–411. doi:10.2165/00003495-200565030-00005. PMID 15669880. (ต้องรับบริการ)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Melmed, Shlomo; Polonsky, Kenneth S.; Larsen, P. Reed; Kronenberg, Henry M. (บ.ก.). Williams textbook of endocrinology (12th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. pp. 1371–1435. ISBN 978-1-4377-0324-5.
  11. 11.0 11.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  12. MacKay, Ian; Rose, Noel, บ.ก. (2014). The Autoimmune Diseases. Academic Press. p. 575. ISBN 978-0-123-84929-8. OCLC 965646175.
  13. Gardner, David G.; Shoback, Dolores, บ.ก. (2011). "Chapter 17: Pancreatic hormones & diabetes mellitus". Greenspan's basic & clinical endocrinology (9th ed.). New York: McGraw-Hill Medical. ISBN 0-07-162243-8. OCLC 613429053.
  14. Saenz, A; Fernandez-Esteban, I; Mataix, A; Ausejo, M; Roque, M; Moher, D (20 กรกฎาคม 2005). "Metformin monotherapy for type 2 diabetes mellitus". The Cochrane database of systematic reviews (3): CD002966. doi:10.1002/14651858.CD002966.pub3. PMID 16034881. (ต้องรับบริการ)
  15. Malanda, UL; Welschen, LM; Riphagen, II; Dekker, JM; Nijpels, G; Bot, SD (18 มกราคม 2012). "Self-monitoring of blood glucose in patients with type 2 diabetes mellitus who are not using insulin". The Cochrane database of systematic reviews. 1: CD005060. doi:10.1002/14651858.CD005060.pub3. PMID 22258959. (ต้องรับบริการ)
  16. Ganguly, S; Tan, HC; Lee, PC; Tham, KW (April 2015). "Metabolic bariatric surgery and type 2 diabetes mellitus: an endocrinologist's perspective". Journal of biomedical research. 29 (2): 105–11. doi:10.7555/JBR.29.20140127. PMC 4389109. PMID 25859264.
  17. Moscou, Susan (2013). "Getting the word out: advocacy, social marketing, and policy development and enforcement". ใน Truglio-Londrigan, Marie; Lewenson, Sandra B. (บ.ก.). Public health nursing: practicing population-based care (2nd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning. p. 317. ISBN 978-1-4496-4660-8. OCLC 758391750.
  18. Smyth, S; Heron, A (มกราคม 2006). "Diabetes and obesity: the twin epidemics". Nature Medicine. 12 (1): 75–80. doi:10.1038/nm0106-75. PMID 16397575. (ต้องรับบริการ)
  19. Tfayli, H; Arslanian, S (March 2009). "Pathophysiology of type 2 diabetes mellitus in youth: the evolving chameleon". Arquivos brasileiros de endocrinologia e metabologia. 53 (2): 165–74. doi:10.1590/s0004-27302009000200008. PMC 2846552. PMID 19466209.
  20. Imperatore, Giuseppina; Boyle, James P.; Thompson, Theodore J.; Case, Doug; Dabelea, Dana; Hamman, Richard F.; Lawrence, Jean M.; Liese, Angela D.; Liu, Lenna L. (ธันวาคม 2012). "Projections of Type 1 and Type 2 Diabetes Burden in the U.S. Population Aged <20 Years Through 2050". Diabetes Care (ภาษาอังกฤษ). 35 (12): 2515–2520. doi:10.2337/dc12-0669. ISSN 0149-5992. PMC 3507562. PMID 23173134. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2016.
  21. Ripsin CM, Kang H, Urban RJ (มกราคม 2009). "Management of blood glucose in type 2 diabetes mellitus". American Family Physician. 79 (1): 29–36. PMID 19145963.
  22. Risérus U, Willett WC, Hu FB (มกราคม 2009). "Dietary fats and prevention of type 2 diabetes". Progress in Lipid Research. 48 (1): 44–51. doi:10.1016/j.plipres.2008.10.002. PMC 2654180. PMID 19032965.
  23. Christian P, Stewart CP (มีนาคม 2010). "Maternal micronutrient deficiency, fetal development, and the risk of chronic disease". The Journal of Nutrition. 140 (3): 437–45. doi:10.3945/jn.109.116327. PMID 20071652.
  24. Pedersen HK, Gudmundsdottir V, Nielsen HB, Hyotylainen T, Nielsen T, Jensen BA, และคณะ (กรกฎาคม 2016). "Human gut microbes impact host serum metabolome and insulin sensitivity". Nature. 535 (7612): 376–81. Bibcode:2016Natur.535..376P. doi:10.1038/nature18646. PMID 27409811. S2CID 4459808.
  25. Abdullah A, Peeters A, de Courten M, Stoelwinder J (กันยายน 2010). "The magnitude of association between overweight and obesity and the risk of diabetes: a meta-analysis of prospective cohort studies". Diabetes Research and Clinical Practice. 89 (3): 309–19. doi:10.1016/j.diabres.2010.04.012. PMID 20493574.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิตำราภาษาอังกฤษ มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: เบาหวานชนิดที่ 2
วิกิวิทยาลัย
วิกิวิทยาลัย
วิกิวิทยาลัยภาษาอังกฤษ มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ: เบาหวานชนิดที่ 2
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก