อาหารตามหมู่โลหิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาหารตามหมู่โลหิต เป็นอาหารตามแฟชั่น (fad)[1] ซึ่งผู้ประพันธ์หลายคนสนับสนุน โดยผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Peter J. D'Adamo[2] ตั้งอยู่บนความเชื่อว่าหมู่โลหิต ABO เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และแนะนำให้บุคคลต่างหมู่โลหิตกินอาหารคนละอย่างกัน

สมมติฐานเชื่อว่า บุคคลต่างหมู่โลหิตย่อยเล็กติน (lectin) ได้แตกต่างกัน และถ้ากินอาหารที่ไม่เข้ากับหมู่โลหิตอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ แต่ถ้ากินถูกต้องจะมีสุขภาพดีขึ้น[3] นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงหมู่โลหิตกับมรดกทางวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน เช่น หมู่โอเป็นหมู่โลหิตเก่าแก่ที่สุดในมนุษย์ ฉะนั้นควรกินอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูงเหมือนสมัยคนเก็บของป่าล่าสัตว์ ส่วนหมู่เอควรกินอาหารเน้นผักเพราะเชื่อว่ามาจากมนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานในสังคมกสิกรรม เป็นต้น[4]

ในหมู่นักโภชนาการ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ มีความเห็นพ้องว่าอาหารเหล่านี้ไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์รองรับ[5][6][3][7][4] ในการศึกษาปี 2547 ซึ่งเปรียบเทียบตัวชี้วัดชีวภาพ เช่น ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลและอินซูลินในเลือดในหมู่เยาวชน และประเมินอาหารเป็นเวลาหนึ่งเดือน พบว่า ผู้ที่กินอาหารที่แนะนำตามหมู่โลหิตและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างของตัวชี้วัดชีวภาพ[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Baldwin, EJ (2004). "Fad diets in diabetes". Br J Diabetes Vasc Dis. 4 (5): 333–7. doi:10.1177/14746514040040050901.
  2. Miller, Kelsey (11 July 2016). "Why The Blood-Type Diet Is A Dangerous Myth". Refinery29 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 November 2017.
  3. 3.0 3.1 Katherine Zeratsky (2010-08-12). "Blood type diet: What is it? Does it work?". Mayo Clinic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-12. สืบค้นเมื่อ 2013-08-21.
  4. 4.0 4.1 4.2 Wang, Jingzhou; Bibiana García-Bailo; Daiva E. Nielsen; Ahmed El-Sohemy (15 January 2014). "ABO Genotype, 'Blood-Type' Diet and Cardiometabolic Risk Factors". PLOS ONE. 9 (1): e84749. Bibcode:2014PLoSO...984749W. doi:10.1371/journal.pone.0084749. PMC 3893150. PMID 24454746.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 2013rev
  6. May-Jean King (2000-07-04). "2: ABO Polymorphisms and their putative biological relationships with disease". Human Blood Cells (Consequences of Genetic Polymorphisms and Variations). World Scientific Pub Co Inc. p. 44. doi:10.1142/9781848160309_0002. ISBN 978-1860941962. As it is not possible to comparatively re-interpret all of the published data, we have tried to present this data with a reasonably "open mind", so that you may "find your own truth". However, it must be stated that an "open mind" should not extend to some of the non-scientific literature where there are books on the ABO system of pure fantasy. 206 The most recent and incredulous of these claims that individuals of each ABO blood type must subscribe to a specific diet in order to stay healthy, live longer and achieve an ideal weight!
  7. David C K Roberts (2001). "Quick weight loss: sorting fad from fact". The Medical Journal of Australia. 175 (11–12): 637–40. doi:10.5694/j.1326-5377.2001.tb143759.x. PMID 11837873. S2CID 39657374. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24.