อาร์มินิอุส
อาร์มินิอุส | |
---|---|
รูปปั้นอาร์มินิอุส ณ อนุสรณ์สถานแฮร์มันเด็นคมอล์ | |
เจ้าชายและหัวหน้าเผ่าเครุสกี | |
ก่อนหน้า | เซจิแมร์ |
ถัดไป | อิตาลีคัส |
ประสูติ | 18/17 ปีก่อนคริสต์กาล เจอร์มาเนีย |
สวรรคต | ค.ศ. 21 (อายุ 37–38 ปี) เจอร์มาเนีย |
คู่อภิเษก | ทุสเนลดา |
พระราชบุตร | ทูมลีกุส |
Armin, Hermann | |
พระราชบิดา | เซจิแมร์ |
ศาสนา | เจอร์มานิก |
อาร์มินิอุส (Arminius; 18/17 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 21) หรือที่ชาวเยอรมันเรียกว่า แฮร์มัน (Hermann) เป็นหัวหน้าเผ่าเครุสกีซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งของชนชาติเยอรมันโบราณ เขาเป็นผู้นำกองกำลังพันธมิตรชนเผ่าเยอรมันทั้งหลายในยุทธการที่ป่าท็อยโทบวร์คเมื่อปีที่ 9 ก่อนคริสตกาล และมีชัยชนะเหนือกองทหารโรมันทั้งสามได้ ชัยชนะของเขาที่ป่าท็อยโทบวร์คทำให้จักรวรรดิโรมันกำหนดนโยบายถอนกำลังออกจากแผ่นดินเยอรมันอย่างถาวร และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งรัดการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในเวลาต่อมา[1] นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่หลายคนถือว่าชัยชนะของอาร์มินิอุสเป็นความปราชัยครั้งใหญ่ที่สุดของกรุงโรม[2] อาร์มินิอุสได้ป้องกันชนเผ่าเยอรมันจากการถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมโรมันไว้ ชัยชนะของอาร์มินิอุสได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในชัยชนะอย่างขาดลอยที่สุดในประวัติศาสตร์[3][4][5][6] และเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์โลก[7]
อาร์มินิอุสเกิดในตระกูลผู้นำเผ่าเครุสกีในปี 18 หรือ 17 ก่อนคริสต์กาล และถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันของโรมันตั้งแต่ยังเล็ก เขาเติบโตในกรุงโรมและถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารโรมันตั้งแต่วัยหนุ่ม นั่นทำให้เขาได้รับสัญชาติโรมันและกลายเป็นอัศวินโรมัน ภายหลังมีส่วนปราบกบฏในมณฑลอิลลีรีลงได้ เขาก็ถูกส่งตัวไปยังแผ่นดินเยอรมัน (Germania) เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าการโรมัน ปูบลิอุส วารุส (Publius Varus) ในการสยบพวกเยอรมันเผ่าต่าง ๆ ในช่วงนี้เอง อาร์มินิอุสได้สมคบกับชนเผ่าเยอรมันเพื่อเตรียมการกบฎต่อพวกโรมัน จนนำไปสู่ซุ่มโจมตีสามกองทหารโรมันที่ป่าท็อยโทบวร์คจนพินาศย่อยยับ
ภายหลังมีชัยในศึกท็อยโทบวร์ค อาร์มินิอุสก็นำทัพชนเผ่าเยอรมันเข้าต่อสู้กับทัพของแกร์มานิกุส (Germanicus) แม่ทัพชาวโรมัน อีกหลายครั้งหลายครา นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดคู่แข่ง มารอบอดุอุส (Maroboduus) แห่งเผ่ามาร์โคมัน (Marcomanni) ซึ่งหวั่นวิตกถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของอาร์มินิอุสจนพยายามลอบสังหารเขาใน ค.ศ. 21 แต่ล้มเหลว นักประวัติศาสตร์ตากิตุสยกย่องอาร์มินิอุสว่าเป็นผู้ปลดแอกชนแห่งเผ่าเยอรมันที่กล้าต่อสู้จักรวรรดิโรมันในช่วงที่กรุงโรมเรืองอำนาจขีดสุด
ในช่วงการรวมชาติเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาร์มินิอุสถูกยกยอโดยเหล่านักชาติเยอรมันนิยมในฐานะสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวและอิสรภาพ[8] อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของอาร์มินิอุสกลับเลือนหายไปจากหนังสือเรียนเนื่องจากเขามีภาพลักษณ์ชาติทหารนิยม ทำให้คนเยอรมันรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวของเขามากนัก แม้แต่งานฉลองครบสองพันปีศึกท็อยโทบวร์คก็ยังเป็นเพียงงานรำลึกเล็ก ๆ เท่านั้น[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dr. Aaron Ralby (2013). "The Roman Legion: Refining Military Organization". Atlas of Military History. Parragon. p. 241. ISBN 978-1-4723-0963-1.
- ↑ Murdoch 2012
- ↑ Tucker 2010, p. 75
- ↑ Cawthorne 2012
- ↑ Davis 1999, p. 68
- ↑ Creasy 2007, p. 104
- ↑ "How the eagles were tamed". The Spectator. 27 มีนาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2015.
Mommsen referred to the Battle of the Teutoburg forest as a turning-point in world history.
- ↑ 8.0 8.1 Crossland, David (28 สิงหาคม 2009). "Battle of the Teutoburg Forest: Germany Recalls Myth That Created the Nation". Spiegel Online International. Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2015.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Cawthorne, Nigel (2012). Battles That Changed History: An Encyclopedia of World Conflict. Arcturus Publishing. pp. 75–77. ISBN 978-1848589544.
- Davis, Paul K. (1999). 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present. Oxford University Press. pp. 68–71. ISBN 0195143663.
- Dörner, Andreas, Politischer Mythos und symbolische Politik. Der Hermannmythos: Zur Entstehung des Nationalbewußtseins der Deutschen (Reinbek: Rowohlt, 1996).
- Durschmied, Erik (2013). The Weather Factor: How Nature Has Changed History. Hachette UK. pp. 1751–70. ISBN 978-1444769654.
- von Essen, Gesa, Hermannsschlachten. Germanen- und Römerbilder in der Literatur des 18. und 19. Jahrhunderts (Göttingen: Wallstein, 1998).
- Kuehnemund, Richard, Arminius or the Rise of a National Symbol in Literature: From Hutten to Grabbe (New York: AMS Press, 1966).
- Münkler Herfried, and Hans Grünberger: "Arminius/ Hermann als nationales Symbol im Diskurs der deutschen Humanisten 1500–1570", In: Herfried Münkler, Hans Grünberger, and Kathrin Mayer, Nationenbildung. Die Nationalisierung Europas im Diskurs humanistischer Intellektueller. Italien und Deutschland (Berlin: Akademie, 1998), pp. 263–308.
- Murdoch, Adrian (1 ธันวาคม 2012). Rome's Greatest Defeat: Massacre in the Teutoburg Forest. The History Press. ISBN 978-0752494555.
- Tucker, Spencer (2010). Battles That Changed History: An Encyclopedia of World Conflict. ABC-CLIO. ISBN 978-1598844290.
- Wagner-Egelhaaf, Martina (ed.), Hermanns Schlachten. Zur Literaturgeschichte eines nationalen Mythos (Bielefeld: Aisthesis, 2008).
- Winkler, Martin M. (2016). Arminius the Liberator: Myth and Ideology (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-025291-5.
- Wolters, Reinhard Die Schlacht im Teutoburger Wald: Arminius, Varus und das roemische Germanien (München: Verlag C. H. Beck, 2008).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Arminius at the Encyclopædia Britannica
- Arminius at the Ancient History Encyclopedia
- "Arminius / Varus: Die Varusschlacht im Jahre 9 n. Chr." – LWL-Institut für westfälische Regionalgeschichte (in German)
- "Terry Jones' Barbarians: The Savage Goths" – includes a portion on Arminius
- A description of Arminius and his fight against the Romans (in German)
- "They Need a Hero" by Clay Risen in The National, October 9, 2009 – article on modern German views of Hermann and the 2,000th anniversary of the battle