อารามอาจี

พิกัด: 34°13′N 77°10′E / 34.217°N 77.167°E / 34.217; 77.167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารามอาจี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอาจี อำเภอเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย
อารามอาจีตั้งอยู่ในลาดัก
อารามอาจี
ที่ตั้งในลาดัก
พิกัดภูมิศาสตร์34°13′N 77°10′E / 34.217°N 77.167°E / 34.217; 77.167
สถาปัตยกรรม
รูปแบบทิเบต
ผู้ก่อตั้งRinchen Zangpo (ค.ศ. 958-1055)

อารามอาจี (ทิเบต: ཨ་ལྕི་ཆོས་འཁོར།; Alchi Monastery) หรือ อาจีเกินปา (ทิเบต: ཨ་ལྕི་དགོམ་པ།) เป็นหมู่พุทธารามในศาสนาพุทธแบบทิเบต ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอาจี อำเภอเลห์ ส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาที่เขาปกครองตนเองในลาดัก ในลาดัก ประเทศอินเดีย หมู่อารามนี้ประกอบด้วยนิคมย่อยจำนวนสี่นิคมที่อยู่แยกกันในหมู่บ้านอาจี ในแต่ละอารามมีสิ่งปลูกสร้างที่มีอายุเก่าแก่แตกต่างกันไป อารามอาจีอยู่ภายใต้การบริหารของอารามลีกีร์[1][2][3] อาจียังเป็นส่วนหนึ่งของหมู่อนุสรณ์อาจี (‘Alchi group of monuments’) ร่วมกับมังคยู และ ซุมดาชุน ซึ่งได้รับการบรรยายไว้ว่ามี "รูปแบบงานช่างศิลป์เฉพาะตัว"[1][2]

ตามธรรมเนียมพื้นถิ่น หมู่พุทธารามนี้สร้างขึ้นโดยคุรุนักแปล Rinchen Zangpo ในปี 958 ถึง 1055 กระนั้น จารึกในสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ระบุว่าสร้างขึ้นโดยขุนนางชาวทิเบต นามว่า Kal-dan Shes-rab ในศตวรรษที่ 11[2][4] ดูคัง (Dukhang) หรือโถงรวมตัว และตัววัดหลัก (gTsug-lag-khang) ที่มีความสูงสามชั้นและมีชื่อเรียกว่า Sumtseg (gSum-brtsegs, แปลตรงตัวว่า 'สูงสามชั้น') ล้วนสร้างขึ้นด้วยงานศิลป์แบบกัศมีร์ ส่วนวิหารหลังที่สามเรียกว่าวิหารพระมัญชุศรี ('Jam-dpal lHa-khang) นอกจากนี้ในพื้นที่หมู่พทุธารามยังประกอบด้วยสถูปจำนวนหนึ่ง[1][2]

งานจิตรกรรมฝาพนังของอารามสะท้อนให้เห็นถึงรายละเอียดเชิงศิลปะและเชิงศาสนาของทั้งกษัตริย์ฮินดูและพุทธในพื้นที่กัศมีร์และหิมาจัลประเทศในเวลานั้น งานิจตรกรรมเหล่านี้เป็นหนึ่งในจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในลาดักที่ยังเหลือถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในยังมีพุทธประติมาขนาดใหญ่และงานแกะสลักไม้ที่วิจิตรตระการตาที่เทียบเท่าได้กับศิลปะยุโรปแบบบาโรก[2][5] หนึ่งในจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นคือฉากกินดื่มของกษัตริย์ที่โถงดูคัง (Royal drinking scene in the Dukhang) อายุราวปี 1200 ซึ่งแสดงภาพกษัตริย์สวมเครื่องประดับศีรษะกะบะอ์ในรูปแบบเติร์ก-เปอร์เซีย ซึ่งคล้ายกันกับที่พบที่อารามมังคยูซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน[6] ศิลปินเลื่องชื่อของอินเดีย ศากติ ไมระ เคยบรรยายความงดงามของอารามนี้ไว้อย่างมีชีวิตชีวาในงานเชียนของเขา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Luczanits, Christian (2004). Buddhist sculpture in clay: early western Himalayan art, late 10th to early ... The Alchi Group of Monuments. Serindia Publications, Inc. pp. 125–127. ISBN 1-932476-02-4. สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Benoy K. Behl (23 October – 5 November 2004). "Trans-Himalayan Murals". The Front Line: The Hindu. Vol. 21 no. 22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-01-17.
  3. "Alchi Monastery: Chos-'khor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2010.
  4. Rizvi (1996), p. 243.
  5. Schettler, Margaret & Rolf. (1981), p. 104.
  6. Flood, Finbarr Barry (2017). A Turk in the Dukhang? Comparative Perspectives on Elite Dress in Medieval Ladakh and the Caucasus. Austrian Academy of Science Press. pp. 231–243.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ high