อายาวัสกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม้อต้มอายาวัสกาในประเทศเอกวาดอร์

อายาวัสกา (สเปน: ayahuasca) เป็นยาต้มที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทจากอเมริกาใต้ ตามธรรมเนียมแล้วใช้โดยวัฒนธรรมพื้นบ้านกับหมอชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและโอริโนโกเพื่อประกอบพิธีกรรมและรักษาโรคที่เกี่ยวกับจิตและกาย เดิมทีอายาวัสกามีจำกัดอยู่ในแถบประเทศเปรู, บราซิล, โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ ก่อนที่จะเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศบราซิลนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ในบริบทของศาสนาเกิดใหม่ที่ใช้อายาวัสกาในทางพิธีกรรม เช่น ซังตูไดมี, อูนีเยาดูเวเฌตัล และบาร์กีญา ซึ่งเป็นศาสนาที่ผสมผสานลัทธิเชมันแอมะซอน, ศาสนาคริสต์, ลัทธิวิญญาณนิยม และศาสนาพื้นถิ่นชาวบราซิลเชื้อสายแอฟริกา เข่น อุงบังดา, กังดงแบล และตังโบร์จีมีนา หลังจากนั้นมา อายาวัสกาได้แพร่หลายไปในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, ยุโรปตะวันตก และเริ่มมีบ้างในยุโรปตะวันออก, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น[1][2][3]

ไม่นานมานี้ ปรากฏการณ์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการใช้อายาวัสกาได้พัฒนาและขยับไปสู่ศูนย์กลางในเมืองต่าง ๆ ของอเมริกาเหนือและยุโรป ประกอบกับการเติบโตของพิธีกรรมที่ผสมผสานลัทธิเชมันใหม่, การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ และการท่องเที่ยวเน้นการใช้สารเพื่อนันทนาการ[4][5] หลักฐานโดยเรื่องเล่า การศึกษาในหมู่ผู้บริโภคอายาวัสกา และการทดลองทางคลินิกเสนอว่าอายาวัสกามีความเป็นไปได้ทางเภสัชวิทยาในการรักษาที่กว้าง โดยเฉพาะในการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล และโรคเสพติดสาร[6][7][8][9][10]

อายาวัสกามักทำมาจากการต้มเคี่ยวลำต้นของเถาวัลย์ชนิด Banisteriopsis caapi และใบของไม้พุ่มชนิด Psychotria viridis เป็นเวลานาน กระนั้น มีพืชชนิดอื่นอีกนับร้อยที่อาจนำมาเติมหรือทดแทนได้ขึ้นอยู่กับการเตรียมที่แตกต่างกันไป[11] P. viridis ประกอบด้วยสาร N,N-ไดเมธิลทริปทามีน (DMT) สารซึ่งออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างหนัก แม้จะไม่ได้ออกฤทธิ์หากรับประทานโดยตรง ส่วน B. caapi เต็มไปด้วยอัลคาลอยด์ฮาร์มาลา เช่น ฮาร์มีน, ฮาร์มาลีน และเททราไฮโดรฮาร์มีน (THH) ซึ่งสามารถออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งโมโนอามีนออกซีเดส (MAOi) ซึ่งยับยั้งการสร้างและสลาย DMT ในตับและในทางเดินอาหาร ส่งผลให้ DMT สามารถเข้าสู่การไหลเวียนในระบบเลือดทั่วร่างกายและในสมอง ที่ซึ่งไปกระตุ้นตัวรับ 5-HT1A/2A/2C ในสมองส่วนหน้าและส่วนพาราลิมบิก[12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Labate, Beatriz Caiuby; Jungaberle, Henrik (2011). The internationalization of ayahuasca. Performanzen, interkulturelle Studien zu Ritual, Speil and Theater. Zürich: Lit. ISBN 978-3-643-90148-4.
  2. Dobkin de Rios, Marlene (December 1971). "Ayahuasca—The Healing Vine". International Journal of Social Psychiatry (ภาษาอังกฤษ). 17 (4): 256–269. doi:10.1177/002076407101700402. ISSN 0020-7640. PMID 5145130.
  3. Schultes, Richard Evans; Hofmann, Albert (1992). Plants of the gods: their sacred, healing and hallucinogenic powers. Rochester (Vt.): Healing arts press. ISBN 978-0-89281-406-0.
  4. Labate, Beatriz Caiuby; Cavnar, Clancy (2018). The expanding world Ayahuasca diaspora: appropriation, integration, and legislation. Vitality of indigenous religions. Abingdon, Oxon New York, NY: Routledge, Taylor & Francis Group. ISBN 978-0-415-78618-8.
  5. Wolff, Tom John (2020-02-07). The Touristic Use of Ayahuasca in Peru: Expectations, Experiences, Meanings and Subjective Effects (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. p. 66. ISBN 978-3-658-29373-4.
  6. Santos, R.G.; Landeira-Fernandez, J.; Strassman, R.J.; Motta, V.; Cruz, A.P.M. (July 2007). "Effects of ayahuasca on psychometric measures of anxiety, panic-like and hopelessness in Santo Daime members". Journal of Ethnopharmacology. 112 (3): 507–513. doi:10.1016/j.jep.2007.04.012. ISSN 0378-8741. PMID 17532158.
  7. Osório, Flávia de L.; Sanches, Rafael F.; Macedo, Ligia R.; dos Santos, Rafael G.; Maia-de-Oliveira, João P.; Wichert-Ana, Lauro; de Araujo, Draulio B.; Riba, Jordi; Crippa, José A.; Hallak, Jaime E. (March 2015). "Antidepressant effects of a single dose of ayahuasca in patients with recurrent depression: a preliminary report". Revista Brasileira de Psiquiatria. 37 (1): 13–20. doi:10.1590/1516-4446-2014-1496. ISSN 1516-4446. PMID 25806551.
  8. Bouso, José Carlos; González, Débora; Fondevila, Sabela; Cutchet, Marta; Fernández, Xavier; Ribeiro Barbosa, Paulo César; Alcázar-Córcoles, Miguel Ángel; Araújo, Wladimyr Sena; Barbanoj, Manel J.; Fábregas, Josep Maria; Riba, Jordi (2012-08-08). "Personality, Psychopathology, Life Attitudes and Neuropsychological Performance among Ritual Users of Ayahuasca: A Longitudinal Study". PLOS ONE. 7 (8): e42421. Bibcode:2012PLoSO...742421B. doi:10.1371/journal.pone.0042421. ISSN 1932-6203. PMC 3414465. PMID 22905130.
  9. Palhano-Fontes, Fernanda; Alchieri, Joao C.; Oliveira, Joao Paulo M.; Soares, Bruno Lobao; Hallak, Jaime E. C.; Galvao-Coelho, Nicole; de Araujo, Draulio B. (2014), "The Therapeutic Potentials of Ayahuasca in the Treatment of Depression", The Therapeutic Use of Ayahuasca, Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg, pp. 23–39, doi:10.1007/978-3-642-40426-9_2, ISBN 978-3-642-40425-2, S2CID 140456338, สืบค้นเมื่อ 2023-08-10
  10. dos Santos, Rafael G.; Osório, Flávia L.; Crippa, José Alexandre S.; Hallak, Jaime E. C. (March 2016). "Antidepressive and anxiolytic effects of ayahuasca: a systematic literature review of animal and human studies". Revista Brasileira de Psiquiatria. 38 (1): 65–72. doi:10.1590/1516-4446-2015-1701. ISSN 1516-4446. PMC 7115465. PMID 27111702.
  11. Schultes, R. E.; Ceballos, L. F.; Castillo, A. (1986). "[Not Available]". America Indigena. 46 (1): 9–47. ISSN 0185-1179. PMID 11631122.
  12. Riba, Jordi; Valle, Marta; Urbano, Gloria; Yritia, Mercedes; Morte, Adelaida; Barbanoj, Manel J. (2003-03-26). "Human Pharmacology of Ayahuasca: Subjective and Cardiovascular Effects, Monoamine Metabolite Excretion, and Pharmacokinetics". Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics. 306 (1): 73–83. doi:10.1124/jpet.103.049882. ISSN 0022-3565. PMID 12660312. S2CID 6147566.
  13. Riba, Jordi; Romero, Sergio; Grasa, Eva; Mena, Esther; Carrió, Ignasi; Barbanoj, Manel J. (2006-03-31). "Increased frontal and paralimbic activation following ayahuasca, the pan-amazonian inebriant". Psychopharmacology. 186 (1): 93–98. doi:10.1007/s00213-006-0358-7. hdl:2117/9378. ISSN 0033-3158. PMID 16575552. S2CID 15046798.