ข้ามไปเนื้อหา

อามส์ (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อามส์
ไอคอนเมนูหลัก ซึ่งแสดงภาพสปริงแมนที่โดนริบบอนเกิร์ลต่อย (เห็นแขนเท่านั้น)
ผู้พัฒนานินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์แพลนนิงแอนด์ดีเวลอปเมนต์
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับ
  • เค็นตะ ซาโต
  • มาซากิ อิชิกาวะ
  • ชินตาโร จิกูมารุ
อำนวยการผลิตโคซูเกะ ยาบูกิ
ออกแบบชินตาโร จิกูมารุ
โปรแกรมเมอร์เค็นตะ ซาโต
ศิลปินมาซาอากิ อิชิกาวะ
แต่งเพลง
  • อัตสึโกะ อาซาฮิ
  • ยาซูอากิ อิวาตะ
เครื่องเล่นนินเท็นโด สวิตช์
วางจำหน่าย16 มิถุนายน ค.ศ. 2017
แนวต่อสู้, กีฬา
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

อามส์[a] (อังกฤษ: ARMS) เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 2017 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทนินเท็นโดสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ เกมดังกล่าวสร้างความแตกต่างจากเกมต่อสู้มาตรฐานด้วยระบบการต่อสู้ที่แหวกแนว ซึ่งตัวละครที่เล่นได้ทุกตัวจะต่อสู้ด้วยการโจมตีระยะไกล รวมถึงผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถเลือกนักสู้ ตลอดจนต่อสู้โดยใช้อาวุธที่ยืดออกได้และหลากหลาย เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในสังเวียนสามมิติ ซึ่งโดยทั่วไป อามส์ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์และขายได้มากกว่าสองล้านชุดเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ทำให้เป็นหนึ่งในเกมที่ขายดีที่สุดของนินเท็นโด สวิตช์

รูปแบบการเล่น

[แก้]
แมตช์ระหว่างสปริงแมนและริบบอนเกิร์ล

อามส์เป็นเกมกีฬาต่อสู้ 3 มิติ ที่ผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถควบคุมหนึ่งในนักสู้ที่หลากหลาย โดยผู้เล่นสามารถดำเนินการต่อสู้ขั้นพื้นฐานซึ่งใช้แขนที่ยืดออกได้ เช่น การต่อย, การทุ่ม, การบล็อก และการหลบ[1][2] อามส์นำเสนอนักสู้ที่สามารถเล่นได้สิบห้าตัวละคร รวมถึงมินมิน และทวินเทล โดยห้าตัวละครในนั้นได้รับการเปิดตัวในฐานะเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้[3] นักสู้แต่ละคนเริ่มต้นด้วยอามส์พิเศษสามแบบที่สามารถเลือกได้ในการต่อสู้ แต่การใช้อามส์ของนักสู้คนอื่นทั้งหมดสามารถปลดล็อกได้ในโหมดเก็ตอามส์ นอกจากนี้ นักสู้ทุกคนยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อสู้เช่นกัน[4] เมื่อชาร์จมิเตอร์โจมตีจนเต็ม ผู้เล่นจะสามารถปล่อย "ท่าพิเศษ" ที่สร้างความเสียหายสูงใส่คู่ต่อสู้ อีกทั้งผู้เล่นยังสามารถชาร์จพลังโจมตีเพื่อเพิ่มความเสียหายชั่วคราวและใช้เอฟเฟกต์ธาตุได้[5] ส่วนตัวละครแต่ละตัวมีความสามารถที่แตกต่างกันและอาวุธเฉพาะสำหรับกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน ผู้เล่นสามารถใช้ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของจอยคอนของระบบหรืออินพุตปุ่มมาตรฐานกับตัวควบคุม เช่น โปรคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมอาร์มแต่ละตัวแยกกัน รวมถึงผู้เล่นยังสามารถปรับแต่งค่าโหลดของอาร์มได้เช่นกัน โดยสามารถเลือกอาร์มแต่ละตัวได้อย่างอิสระ ทุกอาร์มจะแตกต่างกันด้วยคุณสมบัติธาตุและน้ำหนักที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อการเล่นเกม อนึ่ง ผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถเล่นในแมตช์เดียวได้ ทั้งแบบมวยหมู่สามเส้าหรือสี่เส้า หรือในโหมดสองต่อสองที่เพื่อนร่วมทีมถูกล่ามไว้ด้วยกัน[6][7]

นอกจากโหมดการต่อสู้มาตรฐานแล้ว อามส์ยังมีโหมดอื่น ๆ อีกหลายโหมด ได้แก่: เวอร์ซัส, กรังด์ปรีซ์ และโหมดแบตเทิลที่หลากหลาย โดยในโหมดกรังด์ปรีซ์ ผู้เล่นจะต้องแข่ง 10 แมตช์กับนักสู้ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อชิงเข็มขัดแชมป์ ส่วนโหมดแบตเทิลประกอบด้วยโหมดวอลเลย์บอลกับบาสเกตบอล, โหมดทำลายเป้าหมาย และโหมดเอาชีวิตรอด[6] ผู้เล่นยังสามารถเล่นออนไลน์ในล็อบบีแมตช์ปาร์ตีที่มีผู้เล่นสูงสุด 20 คน หรือในเกมจัดอันดับแบบตัวต่อตัว[8] ซึ่งอามส์ได้นำเสนอนักสู้ที่สามารถเล่นได้สิบคนในการเปิดตัว โดยมีนักสู้เพิ่มเติมอีกห้าคนที่เพิ่มเข้ามาผ่านการอัปเดตหลังวางจำหน่าย[9][10]

การพัฒนา

[แก้]

เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยแผนกเอนเตอร์เทนเมนต์แพลนนิงแอนด์ดีเวลอปเมนต์ของบริษัทนินเท็นโด ที่อำนวยการผลิตโดยโคซูเกะ ยาบูกิ[11] ซึ่งในตอนเริ่ม เกมนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยความต้องการที่จะดูว่ามุมมองหลังกล้องสามารถทำงานในเกมต่อสู้ได้หรือไม่[11] ในการทำให้แนวคิดนี้ได้ผล คุณสมบัติหลักของแขนยืดได้ถูกนำมาใช้ โดยยาบูกิระบุว่า "เรามาพูดถึงเกมที่ผมรู้จักดี - อย่างมาริโอคาร์ต ที่มีบางอย่างปรากฏขึ้นในระยะไกล และคุณบังคับทิศทางที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น - นั่นคือโครงสร้างพื้นฐาน ของเกมดังกล่าว" โดยอ้างอิงถึงมาริโอคาร์ต และรูปแบบการเล่นที่มีอิทธิพลต่ออามส์'[12]

ในช่วงต้น แนวคิดของการมีตัวละครหลักของบริษัทนินเท็นโด เช่น ลิงก์ และมาริโอ ได้รับการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ด้วยสุนทรีย์ของเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแนวคิดของแขนที่ยืดออกได้นั้นขัดแย้งกับพวกมัน และในที่สุดก็มีการตัดสินใจว่าจะมีการสร้างตัวละครใหม่ขึ้นมา[13] และความเป็นไปได้ของการเพิ่มตัวละครจากเกมพันช์-เอาต์!! ก็ได้รับการพิจารณาเช่นกัน แต่ทีมพัฒนากังวลเกี่ยวกับการทำให้แฟน ๆ ของแฟรนไชส์นั้นหมางเมิน และอาจทำให้ผู้เล่นใหม่สับสน[14]

การออกแบบตัวละครเริ่มต้นด้วยแขนก่อน โดยทีมงานต้องคิดย้อนกลับว่าตัวละครประเภทใดจะได้ครอบครองมัน เช่น ตัวละครที่ชื่อเฮลิกซ์ ได้เริ่มด้วยแนวคิดของนักสู้ที่มีแขนเป็นสายดีเอ็นเอ แม้ว่าตอนแรกทีมงานจะไม่รู้อะไรอย่างอื่นเกี่ยวกับเขามากนัก นักสู้ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในรูปแบบการเล่น แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นบางประการที่การออกแบบต้องมาก่อน[13] แนวคิดแรกเริ่มของเกมคือตัวละครใช้อุปกรณ์ภายนอกเพื่อต่อยคู่ต่อสู้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ถูกทิ้งในภายหลังเพื่อสนับสนุนตัวละครที่ยืดแขนจริงของพวกเขา[15] ทั้งนี้ ผู้กำกับฝ่ายศิลป์อย่างมาซาอากิ อิชิกาวะ ได้กล่าวว่ารูปแบบศิลปะของเกมได้รับอิทธิพลอย่างมากจากดราก้อนบอล และอากิระ[16] ส่วนยาบูกิได้กล่าวว่า เมื่อเทียบกับตัวเอกคนเดียวแล้ว ตัวละครทั้งหมดเป็นตัวเอกของเกม[17]

การตลาด

[แก้]

เกมดังกล่าวได้รับการประกาศในงานนินเท็นโด สวิตช์ พรีเซนเทชัน เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2017 และวางจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2017[1][18] โดยก่อนที่เกมนี้จะวางจำหน่าย มีเดโมหลายผู้เล่นที่รู้จักกันในชื่อ "อามส์โกลเบิลเทสต์พันช์" ให้ดาวน์โหลดในนินเท็นโด อีช็อป โดยผู้เล่นสามารถทดลองรูปแบบการเล่นออนไลน์ได้ในช่วงสิบสองเซสชันยาวหนึ่งชั่วโมงแยกกัน[19][20]

มีการเผยแพร่การอัปเดตหลังการวางจำหน่ายที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งมีตัวละครที่ผู้เล่นควบคุม, ด่าน และอามส์ใหม่[21] เนื้อหาเพิ่มเติมที่เผยแพร่ฟรีเหล่านี้เป็นไปตามรูปแบบการอัปเดตของเกมสพลาทูน[22] ในขณะที่การสาธิตเทสต์พันช์ก็พร้อมใช้งานหลายครั้งเช่นกัน เกมดังกล่าวได้รับตัวละครและด่านใหม่ผ่านเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้จนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 เมื่อทางบริษัทนินเท็นโดประกาศว่าจะไม่เพิ่มเนื้อหาใหม่ลงในเกมอีกต่อไปนอกเหนือจากการอัปเดตความสมดุล[23][24][25]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. アームズ Āmuzu, มีรูปแบบการเขียนคือ ARMS

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Frank, Allegra (January 12, 2017). "Arms is a fantasy fighter for Nintendo Switch". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
  2. Alexander, Julia (January 13, 2017). "Arms is the competitive, motion controlled fighting game coming to Nintendo Switch". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
  3. Gilyadov, Alex (June 15, 2017). "E3 2017: First Arms DLC Character Revealed". IGN. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
  4. Ramos, Jeff (June 16, 2017). "How to choose the best character in Arms". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
  5. Nunneley, Stephany (June 8, 2017). "Arms – here are six tips to help you dominate opponents". VG247. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
  6. 6.0 6.1 "Battle Modes - ARMS for Nintendo". Nintendo. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
  7. Karassik, Neila (June 12, 2017). "Nintendo Switch's ARMS Is A Knockout - And That's No Stretch". Space.
  8. Stark, Chelsea (May 17, 2017). "Arms' new game modes are a weird take on classic sports". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  9. Frank, Allegra (August 22, 2017). "Arms' new fighter is a human balloon animal". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
  10. Romano, Sal (November 15, 2017). "Arms version 4.0 update now available, adds new fighter Misango". Gematsu. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
  11. 11.0 11.1 ARMS Dev. Talk - ft. Mr. Yabuki (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2019-10-07
  12. Reynolds, Matthew (2018-03-22). "Early prototype of Arms revealed, including a cut bowling mini-game". Eurogamer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  13. 13.0 13.1 Webster, Andrew (June 6, 2017). "How Nintendo Created Its Wild New Cast of Fighters for Switch Game Arms". The Verge. สืบค้นเมื่อ June 8, 2017.
  14. McWhertor, Michael (March 26, 2018). "Arms director Kosuke Yabuki on the past and future of the Switch fighting game". Polygon. สืบค้นเมื่อ March 26, 2018.
  15. Hillard, Kyle (June 7, 2017). "Arms' Creators On Twintelle's Popularity And The Strange Lore Of The Game's World". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ June 8, 2017.
  16. Cox, Simon; Davison, John (June 14, 2017). "'Because Nintendo': 'Arms' Producer Explains Why Fighters Have Stretchy Arms". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2020. สืบค้นเมื่อ October 21, 2017.
  17. Sakurai, Masahiro (2020-06-22). Super Smash Bros. Ultimate – Mr. Sakurai Presents "Min Min" (Video) (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo.
  18. Goldfarb, Andrew (April 12, 2017). "Splatoon 2 Release Date, Amiibo Set Announced". IGN. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
  19. "ARMS for the Nintendo Switch™ home gaming system – Official Site". Nintendo. สืบค้นเมื่อ May 19, 2017.
  20. Roberts, David (May 17, 2017). "Try out Nintendo's upcoming Switch fighter Arms with two Global Testpunch events, starting May 26". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
  21. Nintendo (May 17, 2017). "ARMS Direct 5.17.2017". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
  22. McCarthy, Caty (May 17, 2017). "Arms Unveils New Characters, Modes, a Global Testpunch, and More in Latest Nintendo Direct". USGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2017. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
  23. Nintendo (December 22, 2017). ""Theoretically strongest" fighter entry! "ARMS" Ver. 5 update". Nintendo. สืบค้นเมื่อ December 23, 2017.
  24. "Nintendo's Arms Gets Its Last New Character". 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
  25. McWhertor, Michael (October 5, 2017). "NINTENDO HAS 'NO PLANS' FOR ADDITIONAL ARMS CONTENT". IGN. สืบค้นเมื่อ January 25, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]