ข้ามไปเนื้อหา

อาการป่วยทางวัฒนธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในแพทยศาสตร์และมานุษยวิทยาการแพทย์ อาการป่วยทางวัฒนธรรม[1] (อังกฤษ: culture-bound syndrome หรือ culture-specific syndrome) หรือ อาการป่วยพื้นบ้าน (อังกฤษ: folk illness) เป็นการรวมกันของอาการทางจิต (psychiatric) และทางกาย (somatic) ที่ถือว่าพบได้เฉพาะในสังคมหรือวัฒนธรรมเฉพาะแห่ง โดยปราศจากการแทรกแซงอย่างมีเป้าหมายทางชีวเคมีหรือทางโครงสร้าง (no objective biochemical or structural alterations) ของอวัยวะหรือการทำงานของอวัยวะ คำว่า อาการป่วยทางวัฒนธรรม นั้นถูกรวมเข้าอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ฉบับที่ 4 (1994) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกา (American Psychiatric Association) ที่ซึ่งรวมรายชื่อของอาการป่วยทางวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด (DSM ฉบับที่ 5 - DSM-IV: Appendix I) เช่นเดียวกันกับใน ICD-10 (บท 5) ซึ่งระบุอาการเจ็บป่วยทางวัฒนธรรมใน Annex 2 ของขอบข่ายการตรวจโรคเพื่อการวิจัย (Diagnostic criteria for research)[2]

ในมุมที่กว้างกว่านี้ โรคประจำถิ่น (endemic) สามารถนำมาประกอบกับรูปแบบพฤติกรรมบางอย่างภายในวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงโดยคำแนะนำ อาจเป็นไปได้ที่จะถูกเรียกว่าเป็น การแพร่ระบาดของพฤติกรรม (behavioral epidemic) เช่นในกรณีของการใช้ยาเสพติด (drug abuse) หรือการเสพติดแอลกอฮอล (alcohol abuse) และเสพติดบุหรี่ (smoking abuses) นั้นการติดต่ออาจตัดสินได้จากการบังคับทางสังคม (communal reinforcement) และผ่านปฏิสัมพันธ์รัหว่างบุคคล (person-to-person interactions) ในมุมมองของสมุฏฐานวิทยา (etiological) อาจเป็นเรื่องยากในการแยกแยะอิทธิพลต่อโรคจากวัฒนธรรมและสังคม ออกจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่นความเป็นพิษ (toxicity)[3]

มุมมองทางการแพทย์

[แก้]

สมาคมจิตแพทย์อเมริกา (American Psychiatric Association) ระบุว่า[4]

คำว่าอาการป่วยทางวัฒนธรรม (culture-bound syndrome) นั้นแสดงถึงแบบแผน (pattern) ของพฤติกรรมอันวิปลาส (aberrant) และประสบการณ์อันก่อปัญหา (troubling experience) ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (recurrent) และเฉพาะเจาะจงต่อท้องถิ่น (locality-specific) ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับที่ระบุไว้ในหมวดหมู่การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV แบบแผนส่วนมากนั้นถือว่าเป็น "ความเจ็บป่วย" ในบรรดาชนพื้นเมือง หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นความทุกข์ (afflictions) และส่วนใหญ่มักมีชื่อท้องถิ่นของโรค ถึงแม้ว่าการนำเสนอในทางที่สอดคล้องกับหมวหมู่หลักใน DSM-IV จะสามารถพบได้ทั่วโลก แต่อาการ ระยะ และการตอบโต้ของสังคม มักได้รับอิทธิพลสูงจากปัจจัยทางวัฒนธรรม ในทางกลับกันนั้น อาการป่วยทางวัฒนธรรมมักจำกัดอยู่ในสังคมหรือพื้นที่ทางวัฒนธรรมเฉพาะ และได้รับการทำเป็นแบบท้องถิ่น (localised), หมวดหมู่การวินิจฉัยที่กำหนดกรอบความหมายที่สอดคล้องกันกับการเกิดขึ้นซ้ำ แบบแผน และ กลุ่มการเกิดปัญหา การสังเกตในบางส่วน

[5]

ประเด็นของอาการป่วยทางวัฒนธรรมนั้นเป็นที่ถกเถียงมาด้วยว่ามันสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างจิตแพทย์กับนักมานุษยวิทยา[6] นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำความสัมพันธ์ (relativistic) และมิติเฉพาะต่อวัฒนธรรม (culture-specific) ของอาการต่าง ๆ ในขณะที่จิตแพทย์มีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำมิติที่เป็นสากลและเป็นจิตประสาทวิทยา (neuropsychological) มากกว่า[7][8]

รายชื่อตาม DSM-IV-TR

[แก้]

DSM ฉบับที่ 4 จัดให้กลุ่มอาการต่อไปนี้เป็นอาการป่วยทางวัฒนธรรม[9]

ชื่อ พื้นที่/ประชากร
แล่นทุ่ง[10] (Running amok) บรูไน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ติมอร์-เลสเต
Ataque de nervios ผู้พูดภาษาสเปน (Hispanophone) และฟิลิปปินส์ ซึ่งเรียกว่า "การแตกหักของประสาท" ("nervous breakdown")
Bilis, cólera ชาวละติน
Bouffée délirante แอฟริกาตะวันตก และ เฮติ
Brain fag syndrome นักเรียนในแอฟริกาตะวันตก
อาการธาต (Dhat syndrome) อนุทวีปอินเดีย
Falling-out, blacking out สหรัฐอเมริกาตอนใต้ และ แคริบเบียน
Ghost sickness Native American
Hwabyeong เกาหลี
โรคหำหด[10] หรือ โคโร (Koro) จีน, มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ประชากรในเอเชียอาคเนย์ รัฐอัสสัม พบบ้างเป็นบางครั้งคราในโลกตะวันตก
บ้าจี้[10] หรือ ลาตาห์ (Latah) มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะชาวตากาล็อก
Locura ชาวละตินในสหรัฐและละตินอเมริกา
Mal de pelea เปอโตริโก
Nervios ชาวละตินในสหรัฐและละตินอเมริกา, ฟิลิปปินส์
Evil eye เมดิเตอร์เรเนียน; ประชากรฮิสปานิกและ เอธิโอเปีย
Piblokto ประชากรอาร์กติกและอินูอิตกึ่งอาร์กติก
Zou huo ru mo (Qigong psychotic reaction) จีนฮั่น
Rootwork สหรัฐอเมริกาตอนใต้ และ แคริบเบียน
Sangue dormido คนโปรตุเกส ในเคปเวอร์เด
Shenjing shuairuo จีนฮั่น
Shenkui, shen-kʼuei จีนฮั่น
Shinbyeong เกาหลี
Spell ชาวอเมริกันเชื่อสายแอฟริกา, คนขาวในสหรัฐอเมริกาตอนใต้ และเอธิโอเปีย
Susto ชาวละตินในสหรัฐ เม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
Taijin kyofusho ญี่ปุ่น
Zār เอธิโอเปีย, โซมาเลีย, อียิปต์, ซูดาน, อิหร่าน, และในสังคมแอฟริกาเหนือ กับตะวันออกกลาง อื่น ๆ

รายชื่อตาม DSM-5

[แก้]

DSM ฉบับที่ 5 จัดให้กลุ่มอาการต่อไปนี้เป็นแนวคิดทางวัฒนธรรมของความทุกข์ (cultural concepts of distress) ซึ่งใกล้เคียงกันมากกับอาการป่วยทางวัฒนธรรม[11]

ชื่อ พื้นที่/ประชากร
Ataque de nervios ผู้พูดภาษาสเปน (Hispanophone) เช่นเดียวกันกับ ฟิลิปปินส์
กลุ่มอาการธาต (Dhat syndrome) อนุทวีปอินเดีย
Khyâl cap กัมพูชา
Ghost sickness ชนพื้นเมืองอเมริกัน
Kufungisisa ซิมบับเว
Maladi moun เฮติ
Nervios ละตินอเมริกา, ชาวละตินในสหรัฐอเมริกา
Shenjing shuairuo จีนฮั่น
Susto ชาวละตินในสหรัฐอเมริกา; เม็กซิโก, อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้
Taijin kyofusho ญี่ปุ่น

รายชื่อตาม ICD-10

[แก้]

ICD ฉบับที่ 10 จัดให้กลุ่มอาการต่อไปนี้เป็นโรคทางวัฒนธรรม (culture-specific disorders)[2]

ชื่อ พื้นที่/ประชากร
แล่นทุ่ง[10] หรือ อาม็อก (Amok)] เอเชียอาคเนย์ และ ออสโตรนีเชียน
กลุ่มอาการธาต (Dhat syndrome) หรือ ธาตุ (dhātu), shen-kʼuei, jiryan อินเดีย; ไต้หวัน
โรคหำหด[10] หรือ โคโร (Koro), suk yeong, jinjin bemar เอเชียอาคเนย์, อินเดีย, จีน
บ้าจี้[10] หรือ ลาตาห์ (Latah) มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
Nervios, nerfiza, nerves, nevra อียิปต์; กรีซ; ยุโรปเหนือ; เม็กซิโก, อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้
Pa-leng (frigophobia) ไต้หวัน; เอเชียอาคเนย์
Pibloktoq (Arctic hysteria) อินูอิตที่อาศัยแถบวงแหวนอาร์กติก
Susto, espanto เม็กซิโก, อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้
Taijin kyofusho, shinkeishitsu (anthropophobia) ญี่ปุ่น
Ufufuyane, saka เคนยา; แอฟริกาใต้ (ใน Bantu, Zulu และกลุ่มที่เกี่ยวข้อง)
Uqamairineq อินูอิตที่อาศัยแถบวงแหวนอาร์กติก
Fear of Windigo Indigenous people of north-east America

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/27
  2. 2.0 2.1 Diagnostic criteria for research, p. 213–225 (WHO 1993)
  3. Porta, Miquel, บ.ก. (2008). "Behavioral epidemic". A Dictionary of Epidemiology (5th ed.). Oxford University Press. p. 48. ISBN 978-0-19-157844-1. สืบค้นเมื่อ 25 August 2013.
  4. American Psychiatric Association (2000), Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 4th ed., text revision, American Psychiatric Pub, p. 898, ISBN 978-0-89042-025-6
  5. แปลจาก The term culture-bound syndrome denotes recurrent, locality-specific patterns of aberrant behavior and troubling experience that may or may not be linked to a particular DSM-IV diagnostic category. Many of these patterns are indigenously considered to be "illnesses," or at least afflictions, and most have local names. Although presentations conforming to the major DSM-IV categories can be found throughout the world, the particular symptoms, course, and social response are very often influenced by local cultural factors. In contrast, culture-bound syndromes are generally limited to specific societies or culture areas and are localized, folk, diagnostic categories that frame coherent meanings for certain repetitive, patterned, and troubling sets of experiences and observations.
  6. Perry, S. (2012, 13 January). The controversy over 'culture-bound' mental illnesses. Retrieved 27 January 2013 from MinnPost.
  7. Prince, Raymond H (June 2000). "Transcultural Psychiatry: Personal Experiences and Canadian Perspectives". The Canadian Journal of Psychiatry. 45 (5): 431–437. doi:10.1177/070674370004500502. ISSN 0706-7437. PMID 10900522.
  8. Jilek, W.G. (2001), "Psychiatric Disorders: Culture-specific", International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences, Elsevier, pp. 12272–12277, doi:10.1016/b0-08-043076-7/03679-2, ISBN 9780080430768
  9. American Psychiatric Association (2000), Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 4th ed., text revision, American Psychiatric Pub, pp. 898–901, ISBN 978-0-89042-025-6
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 ศิลปวัฒนธรรม. กลุ่มอาการโรคจิตเชิงวัฒนธรรม (อีกครั้ง) ว่าด้วยพฤติกรรม “แล่นทุ่ง” ถึง “โรคหำหด” จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_5127
  11. American Psychiatric Association (2013), Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 5th ed., pp. 833–837, ISBN 978-0-89042-554-1

แห่งข้อมูลอื่น

[แก้]