อัมบ์ชารีฟ

พิกัด: 32°30′30″N 71°56′12″E / 32.508402°N 71.936538°E / 32.508402; 71.936538
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่วิหารอัมบ์
امب مندر
ซากของวิหารสองหลังในหมู่วิหารอัมบ์
อัมบ์ชารีฟตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
อัมบ์ชารีฟ
แสดงที่ตั้งภายในประเทศปากีสถาน
ที่ตั้งอำเภอคูชาบ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
ภูมิภาคซอล์ตเรนจ์
พิกัด32°30′30″N 71°56′12″E / 32.508402°N 71.936538°E / 32.508402; 71.936538
ความเป็นมา
สร้างศตวรรษที่ 9-10[1]
สมัยฮินดูชาฮี
วัฒนธรรมชาวฮินดูปัญจาบ

หมู่วิหารอัมบ์ (อูรดู: امب مندر; Amb Temples) หรือชื่อท้องถิ่น อัมบ์ชารีฟ (อูรดู: امب شریف; Amb Sharif) เป็นหมู่โบสถ์พราหมณ์ร้างบนเขาสเกสระ ในเทือกเขาซอลต์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน[2] รากฐานของวิหารมีอายุย้อนไปได้ถึงจักรวรรดิกุษาณ แต่ตัววิหารสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9-10 ในสมัยของฮินดูชาฮี[1][3]

วิหารหลังหลักมีความสูง 15 ถึง 20 เมตร สร้างขึ้นจากหินและอิฐ ตั้งอยู่บนฐานขั้นบันได และได้รับการยอมรับว่าเป็นโบสถ์พราหมณ์หลังที่สูงตระหง่านที่สุด (loftiest) ของฮินดูชาฮี[4] ซากวิหารมีความสูงสามชั้น มีบันไดเข้าไปสู่โถงภายใน[5]

ภายนอกของวิหารประดับด้วยงานประติมากรรมรูปแบบศิลปะกัศมีร์[5] ส่วนโครงสร้างของวิหารหลังหลักต่างไปจากรูปแบบทั่วไปของกัศมีร์ด้วยยอดปลายที่สูงแหลม[5] ทำให้มีลักษณะคล้ายกับกาฟีรโกฏในไคเบอร์มากกว่า[6]

ห่างไปราว 75 เมตรเป็นวิหารหลังเล็กกว่า มีความสูง 2 ชั้น, 7-8 เมตร[7] และตั้งอยู่ใกล้กับหน้าผา โถงหลักของวิหารหลังเล็กเปิดออกทางทิศที่หันหน้าสู่วิหารหลังหลัก นอกจากนี้ยังมีซากของวิหารบนาดเล็กคล้ายกันซึ่งสูญสลายไปแล้ว[5] หมู่วิหารเหล่านี้ล้วนอยู่ภายในขอบเขตของกำแพงเดียวกัน ซึ่งกำแพงนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกุษาณ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Meister, Michael W. (26 July 2010). Temples of the Indus: Studies in the Hindu Architecture of Ancient Pakistan (ภาษาอังกฤษ). BRILL. pp. 29–31. ISBN 978-90-04-19011-5.
  2. "The forgotten temples | Footloose". The News International.
  3. Gazetteer of the Attock District, 1930, Part 1. Sang-e-Meel Publications. 1932. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  4. Rashid, Salman (2001). The Salt Range and the Potohar Plateau. Sang-e-Meel Publications. ISBN 9789693512571. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Meister, Michael (2005). "Fig Gardens of Amb-Sharif, Folklore and Archaeology". East and West. Istituto Italiano per l'Africa e l'Oriente. 55 (1/4): 201–216. JSTOR 29757645.
  6. Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. Cambridge University Press for the Royal Asiatic Society. 1903. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  7. Amir, Tariq (12 May 2014). "Pakistan Geotagging: Hindu Temple At Amb".